การให้อาหารทางสายยาง คือ การที่ทำให้อาหารที่ถูกผลิตในรูปแบบของเหลวไหลผ่านทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารโดยตรง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารต่างๆ และน้ำ ครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เหมือนคนปกติทั่วไป
โดยการให้อาหารทางสายยางนั้น จะใช้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้เองหรือมีปัญหาในการกลืนกิน
ตามหลักการแล้วอาหารทางสายยางจะต้องมีอาหารครบตามหลักโภชนาการทั้ง 5 หมู่ คือ คาร์โบไฮเดรต (ข้าว , แป้ง , น้ำตาล) โปรตีน (เนื้อสัตว์ , ไข่ , นม , ถั่ว) ไขมัน (น้ำมัน , ไขมันสัตว์) เกลือแร่ และวิตามิน (ผักผลไม้ต่างๆ) โดยต้องมีสัดส่วนที่เป็นมาตรฐานที่ร่างกายจำเป็ต้องได้รับในแต่ละวัน คือ คาร์โบไฮเดรต 40-50% โปรตีน 20-30% ไขมัน 10-20% เกลือแร่ และวิตามิน 10%
แต่ในวันนี้เราจะขอมาบอกรายละเอียดเล็กๆน้อยๆถึงความแตกต่างที่ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยควรจะได้ทราบเป็นอย่างยิ่ง นั่นคือ ตำแหน่งในการให้อาหารทางสายยางของผู้ป่วย ที่มีความแตกต่างกัน และวิธีปฏิบัติพื้นฐาน เพื่อให้ผู้ป่วยที่ท่านรักนั้น แข็งแรงสมบูรณ์อีกครั้งด้วยอาหารที่มีคุณภาพต่อร่างกายย่างแท้จริง
วิธีปฏิบัติการให้อาหารทางจมูก และ การให้อาหารทางสายที่ใส่ผ่านหน้าท้อง ?
1. การให้อาหารสายยางทางจมูก ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
– บอกผู้ป่วยให้ทราบทุกครั้งก่อนที่จะทำการให้อาหาร
วิธีปฏิบัติการให้อาหารสายยางผู้ป่วย ทางจมูก กับหน้าท้อง แตกต่างกันอย่างไร ดูเพิ่มเติมที่นี่ https://thetastefood.com/อาหารสายยาง/