"แมนๆ คุยกันครับ"
หนึ่งในวลีที่หลายคนยกขึ้นมาแซว ล้อเลียน เสียดสี สังคมเกย์ไทยที่ใช้ปรโยคนี้หา "เพื่อนไม่แสดงออก" เพื่อทำความรู้จักและพัฒนาความสัมพันธ์ต่อไป แต่เงื่อนไขการหาเพื่อนดังกล่าว นำไปสู่คำถามที่ว่า
"สาวแล้วผิดอะไร ?"
ในปัจจุบันวัฒนธรรมชายรักชายในไทยที่ได้รับอิทธิพลค่านิยมความเป็นชายมากขึ้น ตั้งแต่การทำลายภาพลักษณ์เดิมๆ ของชายรักชายที่ต้องสาว มาเป็นรูปแบบของชายรักชายที่เหมือน "ผู้ชายแท้" มากขึ้น รวมไปถึงความนิยมในการเล่นกล้าม เข้าฟิตเนส มีรอยสัก และไว้หนวดเครา ที่ทำให้ภาพลักษณ์ของชายรักชายในยุคปัจจุบัน ฉีกจากภาพที่สังคมคุ้นเคยไปไม่มากก็น้อย
"แมน" สร้างได้
ในการมองการเปลี่ยนแปลงของค่านิยมในกลุ่มชายรักชายของไทย กับจุดยืนที่ว่า "ตัวตนทางเพศเป็นสิ่งสมมุติ" กรอบการมองนี้เป็นแนวคิดการวิเคราะห์แบบเควียร์ศึกษา Queer Studies ซึ่งเชื่อว่าตัวตนทางเพศของมนุษย์ไม่ว่าเพศใดก็ตาม ไม่ใช่คุณสมบัติที่มีมาแต่กำเนิด แต่ถูกกำหนด สร้าง และสมมุติขึ้น โดยที่มนุษย์ทุกคนเรียนรู้เกี่ยวกับตัวตนของตัวเองผ่านการถูกขัดเกลา สั่งสอนจากสภาพแวดล้อม บนพื้นฐานแยวคิดที่เชื่อว่าเพศเป็นสิ่งสมมุติ จูดิธ บัทเลอร์ Judith Butler ได้อธิบายเกี่ยวกับตัวตนางเพศไว้ว่า
ตัวตนทางเพศ คือ "พฤติกรรมการแสดงออก" โดยที่ตัวบุคคลไม่ใช่ต้นกำเนิดของการแสดงออกในทางกลับกันการแสดงออกต่างหากที่ทำให้คนๆ นั้นมีตัวตนขึ้นมา การที่มนุษย์จะอ้างตนเป็นเพศใดๆ ได้นั้น ต้องอาศัยการแสดงออกที่คนรอบข้างเข้าใจได้ เช่น การแทนตัวเองว่า "ผม" ลงท้ายประโยคด้วย "ครับ" ความชื่นชอบในกีฬา เป็นพฤติกรรมของ "ผู้ชาย" แสดงออกให้ผู้อื่นเห็น อย่างไรก็ตามมนุษย์สร้าง "ตัวตน" อย่างมีอิสระไ่ได้ ถ้าหากการแสดงออกของพวกเขาเป็นสิ่งที่สังคมไม่เข้าใจ หรือไม่คุ้นเคย ตัวตนเหล่าน้นก็จะไม่รู้จัก หรือถูกปฏิเสธ เพราะสัญญลักษณ์ที่เขาแสดงออกนั้นไม่ได้รับการยอมรัรบทั่วไปว่าเป็นการแสดงออกของเพศใด การแสดงออกของเกย์แมน และเกย์สาวก็เช่นกัน ความแมน หรือความสาวอาศัยการเรียนรู้ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่เกิด สะสมมาเรื่อยๆ ว่าตัวตนนี้ต้องแสดงพฤติกรรมใดบ้าง ที่จะทำให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งที่เราอยากจะ (ให้พวกเขามองว่าเรา) เป็น
"แมนๆ คุยกันครับ"
ชายกลุ่มนี้ยึดถือค่านิยมชายเป็นใหญ่ไม่ต่างจาก "ชายแท้" ทั่วไป พวกเขาเรียนรู้ว่าการแสดงออกความสาวนั้นนำผลเสียมาสู่ผู้ที่มีพฤติกรรมเหล่านั้น เนื่องจากการที่ผู้ชายกลุ่มนี้ถูกปลูกฝังในสังคมที่ยังคงยึดถือค่านิยมชายจริงหญิงแท้ และมองว่า ความสาว เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มองว่าการที่ชายรักชายทำตัวสาว เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีให้กับชายรักชายทั้งหมด ทำให้สังคมของเขาเป็นตัวประหลาด ตัวตลก นำไปสู่ความเข้าใจผิด และการเหมารวมว่าชายรักชายทั้งหมดต้องสาว พวกเขาเลยเลือกที่จะปฏิเสธ "ความสาว" ว่าเป็นส่วนหนึ่งของตัวตนของพวกเขา
การที่ชายรักชายอาจไม่ได้หมายความว่า เขาต้องมีการแสดงออกเหมือนผู้หญิงเสมอไป พื่นฐานความความคิดนี้อาจทำให้ผู้คนหันมามองใหม่ว่า ชายรักชายไม่ได้ต่างจาก "ผู้ชายแท้" พวกเขาไม่ใช่ตัวตลก ตัวประหลาด อย่างที่สังคมยัดเยียดให้พวกเขาเป็น พวกเขาพิสูจน์ว่าการรักเพศเดียวกันไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตแบบ "ผู้ชาย" ตามที่สังคมคาดหวังไว้ และสามารถเป็นส่วนหนึ่งของสังคมคนหมู่มากได้
การรรังเกียจความสาวในหมู่ชายรักชาย อาจทำให้ชายรักชายที่ "ไม่แมน" ตกอยู่ในที่นั่งลำบาก เพราะต้องรับแรงกดดันจากทั้งสังคมชายจริงหญิงแท้ และจากสังคมชายรักชายด้วยกันเอง ทำให้ท้ายสุดไม่ว่ารสนิยมทางเพศจะเป็นแบบไหน ถ้าหากคุณไม่สามารถแสดงออกความเป็นชายได้ คุณจะถูกต่อต้าน และกีดกัน