ผู้ป่วยตับแข็ง ในระยะที่ตับยังสามารถทำงานได้ดี ควรรับประทานอาหารให้ครบหมวดหมู่ ตามหลักโภชนาการ และควรรับประทานอาหารพวกโปรตีน ประมาณวันละ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณ 60 กรัมต่อวัน กรณีที่ผู้ป่วยเป็นตับแข็งระยะที่การทำงานของตับไม่ปกติ เช่น อาการตาเหลือง ตัวเหลือง(ดีซ่าน) มีท้องโตขึ้นจากการมีน้ำอยู่ในช่องท้อง(ท้องมาน) ขาบวม มีอาการผิดปกติทางสมอง ซึมลง การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีภาวะขาดสารอาหารอยู่แล้ว ควรมีจำนวนแคลอรี่ต่อวันมากขึ้น และต้องการสารอาหารโปรตีน ประมาณ 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน หรือประมาณ 80 – 90 วันต่อวัน
แต่ปัญหาผู้ป่วยมักกินโปรตีนมากไม่ได้ เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดอาการทางสมอง จึงแนะนำให้กินมากเท่าที่ทนได้ หรือประมาณ 40 กรัมต่อวัน หรือกินอาหารโปรตีนที่ร่างกายสามารถทานได้เพิ่มขึ้น เช่น รับประทานพวกถั่วเหลือเสริม
ผู้ป่วยตับแข็งอาจมีน้ำในช่องท้องจึงควรรับประทานอาหารรสจืด อย่าเติมเกลือหรือน้ำปลามากไป ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจปนเปื้อนสารอะฟาท็อกซิน ได้แก่พวกถั่วสิสงตากแห้ง พริกป่น ปลาเค็ม เพราะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ งดรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เพราะอาจติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ช็อคและเสียชีวิตได้ ในกรณีที่ตับทำงานไม่ปกติแล้ว ควรรับประทานอาหารวันละ 4 – 7 มื้อ เพราะผู้ป่วยตับแข็ง งดอาหารช่วงกลางคืน 1 คืน จะเท่ากับคนปกติ งดอาหารไป 3 วัน
อาหารผู้ป่วย สำหรับผู้ป่วย “ตับแข็ง” ดูเพิ่มเติมที่นี่ https://thetastefood.com/อาหารสายยาง/