กจะสังเกตพบระยะแรกๆ ได้จากการทดสอบปัสสาวะหรือเลือด โดยอาการทั่วไปของโรคไต ผู้ป่วยจะรู้สึกเหน็ดเหนื่อย ตามข้อมือ เท้า หรือมือ มีอาการบวม (เนื่องจากการบวมน้ำ) มีอาการหายใจลำบาก คลื่นไส้ มีเลือดปนปัสสาวะ โรคไตเรื้อรัง สามารถถูกวินิจฉัยได้จากการตรวจเลือดหรือตรวจปัสสาวะ โดยไต จะมีหน้าที่หลักของไตคือการกรองของเสียที่เลือดผลิตออกมาและเปลี่ยนของเสียเหล่านั้นให้กลายเป็นปัสสาวะ ไตจะช่วยคงระดับความดันเลือด คงค่าระดับสารเคมีในร่างกายและช่วยให้หัวใจกับกล้ามเนื้อทำงานได้อย่างปกติ โดยจะผลิตวิตามิน D ที่ช่วยให้กระดูกแข็งแรง
สำหรับอาหารที่เป็นประโยชน์ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ต้องเข้ารับการฟอกเลือด ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนเพิ่มขึ้น เนื่องจากในการฟอกเลือดแต่ละครั้งจะมีการสูญเสียกรดอะมิโน และการฟอกเลือดยังกระตุ้นให้มีการสลายกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายเพิ่มขึ้น ซึ่งในโปรตีน จะช่วยในการเสริมสร้างร่างกายและภูมิคุ้มกันโรค ผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยไตเทียมจึงต้องรับประทานเนื้อหมู ไก่ ปลา และไข่ขาวให้เพียงพอ เพราะนอกจากใช้ในการเสริมสร้างร่างกายแล้ว ยังต้องชดเชยส่วนที่สูญเสียไปในการฟอกเลือดแต่ละครั้งอีกด้วย เพื่อผลดีต่อร่างกาย
นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ที่ต้องฟอกเลือด เรื่องของการรับประทาน อาหารสุขภาพ ก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะอาหารที่รับประทานเข้าไป จะส่งผลต่อร่างกายและอาการป่วยโดยตรง ดังนั้นผู้ป่วยควรเลือกกินอาหารประเภทข้าวแป้งที่ผ่านการขัดสีแล้ว เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับฟอสฟอรัสน้อยลง เพราะผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมักมีปัญหาการมีฟอสฟอรัสอยู่สูง จึงต้องจำกัดปริมาณที่กิน อาหารที่มีฟอสฟอรัสอยู่มากคือ เมล็ดพืชต่างๆ เช่น ถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่ว เมล็ดฟักทอง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ นม และผลิตภัณฑ์จากนม ไข่แดง
ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นไตเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงอาหารที่กล่าวมาข้างต้น เพราะการสะสมฟอสฟอรัสในร่างกายมากๆ จะมีผลต่อระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ และวิตามินดี ทำให้เกิดภาวะกระดูกผุ และอาการกล้ามเนื้ออ่อนเพลียได้ง่าย รวมไปถึงการดื่มน้ำ ก็ต้องระวัง ถึงแม้ว่าการดื่มน้ำจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังแล้ว หากไม่ควบคุมปริมาณน้ำ อาจจะส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ และอาจจะเกิดภาวะบวมน้ำด้วย สำหรับปริมาณน้ำที่กล่าวมานั้นรวมไปถึงอาหารที่เป็นของเหลวด้วย อย่างไรก็ตาม อาหารของผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หรืออาหารที่มีรสเค็ม เพราะการรับประทานอาหารที่มีรสจัดหรือเค็มนั้น จะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดการกระหายน้ำมากขึ้น
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ควรรับประทานอาหารที่ช่วยทดแทนสิ่งที่เสียไป ในปริมาณที่เหมาะสม หากรับประทานอาหารที่ให้พลังงานน้อยเกินไปอาจทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้ อาจจะทำให้เกิดการสลายของกล้ามเนื้อมากขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อน หากมีอาการรุนแรงอาจเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเลยก็คือ อาหารที่มีรสเค็ม และไม่ควรเติมเกลือ น้ำปลา ซอส เพิ่มเติมในอาหาร ของหมักดอง เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผักกาดดอง รวมถึงอาหารแปรรูป ได้แก่ ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง แฮม ปลากระป๋อง ของขบเคี้ยวประเภทซองทุกชนิด ซึ่งจะส่งผลเสียต่อไตโดยตรง รวมไปถึงอาหารที่มีปริมาณฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องในสัตว์ ไข่แดง เมล็ดถั่ว กาแฟ งา ช็อกโกแลต มะม่วงหิมพานต์ และอาหารที่มีโคเลสเตอรอลหรือไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไข่แดง ไข่ปลา ปลาหมึก หอยนางรม มันกุ้ง ขาหมู หนังหมู หนังเป็ดปักกิ่ง หมูกรอบ หมู 3 ชั้น อาหารที่กล่าวมาข้างต้น ถือเป็นอาหารที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้น เรื่องของรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ต้องเข้ารับการฟอกเลือด จะต้องระมัดระวังให้มาก เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
อาหารสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ที่ได้รับการฟอกเลือด ! อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://thetastefood.com/