เชื่อว่าหลายคนอาจจะไม่ชอบรับประทานผัก เพราะมีรสชาติที่ขมหรือมีกลิ่นที่บางคนอาจจะไม่ชอบ แต่หารู้หรือไม่ว่า การรับประทานผักเป็นประจำนั้น มีประโยชน์ต่อร่างกายมาก นอกจากนี้จะอุดมไปด้วยสารอาหารต่างๆมากมายแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายของเราด้วย เพราะผักและผลไม้ เป็นอาหารในอาหารหลัก 5 หมู่ แม้ว่าการรับประผักและผลไม้ จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร
ซึ่งมีคุณสมบัติในการป้องกันโรคและความเสื่อมสภาพของเซลล์ แต่ถ้าจะให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรจะเลือกรับประทานผักและผลไม้ให้ถูกวิธี ซึ่งมีสิ่งที่ควรคำนึงถึง บางคนชอบรับประทานผัก แล้วอาจจะมีความสงสัยว่า ควรรับประทานอย่างไรเพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วนหรือได้รับประโยชน์มากที่สุด บางคนเลือกรับประทานเป็นบางชนิด โดยที่ไม่รู้เลยว่าได้พลาดประโยชน์ที่ควรได้รับอันมากมายจากผักเหล่านั้น
ตามมาด้วยความเจ็บป่วยและโรคร้ายต่างๆ มากมาย สังเกตได้ง่ายๆ ว่าคนไม่ชอบรับประทานผักมักจะมีปัญหาท้องผูก ผิวพรรณหมองไม่สดใส และเจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้น เราควรหันมาใส่ใจรับประทานผักให้มากขึ้น ซึ่งทางเราจะมาแนะนำวิธีการรับประทานผัก เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดและได้รับสารอาหารแบบครบถ้วนเลยทีเดียว ซึ่งคนที่รักสุขภาพและชื่นชอบในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพหรือชอบรับประทานผักไม่ควรพลาด
สำหรับผักนั้น หลายคนทราบกันดีอยู่แล้วว่า มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างยิ่ง เพราะมีเส้นใยอาหารช่วยเรื่องการขับถ่าย เป็นแหล่งของวิตามินและเกลือแร่ ช่วยป้องกันและบรรเทาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ แถมยังช่วยบำรุงผิวพรรณ ซึ่งการรับประทานผักนั้น หลักมีอยู่ 2 วิธี คือ บางคนชอบรับประทานผักที่ผ่านกระบวนการทำให้สุกแล้ว หรือบางคนชอบรับประทานผักสด ซึ่งการปรุงอาหารแต่ละเมนูนั้นมีวัตถุดิบและขั้นตอนต่าง ๆ มากมายในแต่ละครั้ง
ซึ่งองค์ประกอบในการทำอาหารอาจส่งผลต่อสารอาหารในผัก ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ ความร้อน ไปจนถึงวิธีการปรุง โดยความร้อนและวิธีการปรุงอาหารสามารถเปลี่ยนโครงสร้างและปริมาณของสารอาหารในผัก โดยหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลให้สารอาหารลดลง คือ น้ำและการปรุงด้วยน้ำ โดยเฉพาะในการต้ม เนื่องจากสารอาหารบางชนิดสามารถละลายในน้ำ อย่างวิตามินซีและกลุ่มวิตามินบี
ดังนั้น เมื่อนำผักที่มีสารอาหารเหล่านี้ไปปรุงด้วยวิธีการต้มหรือมีน้ำเป็นส่วนประกอบก็อาจลดปริมาณของวิตามินที่ละลายน้ำได้ถึง 50-60 % แต่ในขณะที่ผลงานวิจัยอีกส่วนหนึ่งชี้ว่า การปรุงสุกด้วยความร้อนอาจช่วยเพิ่มปริมาณของสารแอนติออกซิแดนท์หรือสารต้านอนุมูลอิสระในผักได้ ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระมีสรรพคุณช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ ต้านการอักเสบ ช่วยในเรื่องของผิวพรรณ
อีกทั้งช่วยลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังหลายชนิด แต่ผักบางชนิดที่เมื่อผ่านการปรุงสุกจะทำให้มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น เช่น หน่อไม้ฝรั่ง เห็ด ปวยเล้ง มะเขือเทศ แครอท มันฝรั่ง และพืชตระกูลถั่ว ในขณะเดียวกัน การรับประทานผักสด อาจมีสารอาหารบางอย่างสูงกว่าผักที่ปรุงสุกแล้ว
โดยเฉพาะวิตามินที่ละลายน้ำ แต่การบริโภคผักสดมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อภายในระบบทางเดินอาหารได้สูงกว่าผักที่ปรุงสุกแล้ว โดยอาจมาจากเชื้อโรคตามธรรมชาติ แต่ผักบางชนิดหากรับประทานสดอาจให้ประโยชน์มากกว่า เช่น บร็อคโคลี กะหล่ำปลี หัวหอม กระเทียม พริก และหัวบีท เป็นต้น
แต่ก็ควรล้างผักเหล่านี้อย่างถูกวิธีเพื่อลดความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อโรคและสารเคมีอีก อย่างไรก็ตาม การรับประทานผักในความเป็นจริงแล้วอาจไม่จำเป็นต้องเลือกรับประทานอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่สามารถรับประทานผักทั้งสองรูปแบบเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่หลากหลายและครบถ้วน หากต้องการปรุงผักให้สุก ควรเลือกปรุงด้วยการนึ่ง ย่าง หรือผัดแทนการต้มเพื่อลดปริมาณสารอาหารที่อาจเสียไปจากการละลายน้ำ หากต้องการรับประทานผักสด ควรล้างผักด้วยน้ำสะอาดที่ไหลผ่านตลอด และใช้มือลูบผักเบา ๆ เพื่อล้างเชื้อโรคและสารเคมีให้หลุดออกง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม เราทุกคนควรพยายามรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และรับประทานในแต่ละหมู่ให้มีความหลากหลาย ไม่จำเจอยู่เพียงอาหารไม่กี่ชนิด เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารต่างๆ ครบในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เราอยากให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี ซึ่งเน้นย้ำมาตลอดให้ทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และที่สำคัญควรจะหมั่นออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บด้วย
บริการด้านอาหาร: กินผักอย่างไรให้ได้ประโยชน์ สารอาหารครบ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/catering-service/