collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ขายบ้านโคราช: รู้จักบ้าน เข้าใจแบบ ดูแปลนบ้านให้ออก ก่อนคิดสร้างบ้าน  (อ่าน 270 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ siritidaphon

  • FOUNDER MEMBER
  • *
  • กระทู้: 2,492
  • Total likes: 1007
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
สำหรับใครที่คิดจะสร้างบ้านเอง สิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องศึกษาก็คือการดูแบบแปลนบ้านเบื้องต้น เพื่อที่จะเข้าใจถึงรายละเอียดของบ้าน โดยแบบก่อสร้างบ้าน แบบแปลนหรือพิมพ์เขียวก่อสร้างบ้านนั้น ถือเป็นเอกสารสำคัญที่ผู้ออกแบบซึ่งเป็นสถาปนิก ได้จัดทำขึ้น ร่วมกับวิศวกร และส่งต่อไปยังผู้รับเหมาเพื่อใช้ในการก่อสร้าง

โดยบ่อยครั้งระหว่างการพูดคุยเกี่ยวกับแบบแปลนบ้านเจ้าของบ้านจะพบกับศัพท์เทคนิคสำหรับการสร้างบ้านมากมาย ทำให้ไม่ทราบถึงรายละเอียดของบ้านก่อนสร้างอย่างชัดเจน
ดังนั้นหากคิดจะสร้างบ้าน เบื้องต้นก็ควรดูแบบบ้านให้เป็น อย่างน้อย ๆ ต้องทราบถึงรายละเอียดของโครงสร้าง และแบบก่อสร้างเพื่อที่จะได้ทราบถึงรายละเอียดของบ้านก่อนลงมือให้ผู้รับเหมาสร้าง
ในปัจจุบันสำหรับการดูแบบแปลนบ้านให้ออกนั้น อันดับแรกเจ้าของบ้านควรทราบและทำการรู้จักกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของบ้าน แบบสถาปัตยกรรม แบบวิศวกรรมโครงสร้าง แบบวิศวกรรมไฟฟ้า และแบบวิศวกรรมสุขาภิบาล รวมไปถึงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฎในแบบแปลนบ้าน

ส่วนประกอบของการสร้างบ้านที่พักอาศัย
การจะดูแบบแปลน หรือ พิมพ์เขียวในการสร้างบ้านให้ออก จะต้องรู้จักกับส่วนประกอบในการสร้างบ้านเบื้องต้น ซึ่งประกอบไปด้วย 12 ส่วนประกอบหลัก ๆ ด้วยกัน ดังนี้


1. เสาเข็ม

เสาเข็มถือเป็นส่วนประกอบแรกของบ้าน เนื่องจากเป็นการก่อสร้างก่อนส่วนอื่นๆ โดยปัจจุบันจะใช้รถแบคโฮลในการตอกเสาเข็มลงพื้นแทนการตอกโดยใช้แรงคน ซึ่งจะรวดเร็วและมีความแน่นหนาคงทนกว่า ส่วนใหญ่แบบบ้านจะใช้วัสดุเสาเข็มหลากหลายประเภทตามแบบบ้าน อาทิ เสาเข็มไม้ และเสาเข็มคอนกรีต

– เสาเข็มไม้
เสาเข็มไม้จะมีขนาดเล็ก ไม่สามารถรับน้ำหนักได้มาก หากต้องปลูบ้านไม้ขนาดใหญ่ ก็จะใช้เทคนิคปักเสาเข็มหลาย ๆ ต้นรวมกันเพื่อให้รับน้ำหนักได้มากขึ้น ดังนั้น เสาเข็มไม้จึงนิยมใช้กับบ้านหลังเล็ก ๆ หรือบ้านชั้นเดียว

– เสาเข็มคอนกรีต
เสาเข็มคอนกรีตคือเสาเข็มที่ได้รับความนิยมในการสร้างบ้านที่มีขนาดใหญ่หรือสูงมากกว่าสองชั้น เพราะมีความแข็งแรงทน ทานและมีความยาว ซึ่งในกรณีพิเศษบนสถานที่ที่มีการก่อสร้างยาก ที่แคบ ที่ไม่สะดวกในการตอกเสาเข็ม ก็มีเสาเข็มคอนกรีตแบบเข็มเจาะที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแบบอื่น ๆ เป็นตัวเลือก



2. ฐานราก

ฐานรากคือแผ่นคอนกรีตที่หล่อทับหัวเสาเข็มที่ฝังลงพื้นดินไปแล้ว จะเป็นการวางฐานรากแบบตื้นเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับเสาเข็ม หรือในกรณีที่พื้นที่นั่นมีเนื้อดินที่มีเนื้อแข็ง มีความหนาแน่นสูง มีความแข็งแรงพอจะรองรับน้ำหนักของตัวบ้านได้ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เสาเข็มช่วยในการรับน้ำหนักก็ได้

แต่ต้องมั่นใจว่าชั้นดินมีความแน่นอย่างเหมาะสม ไม่อย่างนั้นจะเกิดอาการทรุดตัวได้ โดยฐานราก เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดประมาณ 0.80-1.20 เมตร สำหรับบ้าน 2 ชั้นทั่วไป มีความหนาไม่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตร


3. ตอม่อ

เสาส่วนที่ตั้งบนฐานราก ขึ้นมารับคานพื้นชั้นล่าง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในดิน ทำหน้าที่เหมือนกับเสา ทุกประการ ต่างกันเพียง ตำแหน่งที่ตั้งเท่านั้น โดยตำแหน่งที่ตั้งในจุดนี้ทำให้ตอม่อเป็นตัวที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักบ้านต่อจากตัวอาคารเหนือพื้นดินแล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่ฐานรากต่อไป และเป็นตัวปรับระดับความสูง-ต่ำของระดับพื้นบ้าน ให้ได้ตามระดับที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
โดยทั่วไปเสาตอม่อจะจมอยู่ใต้ดิน เมื่อทำฐานรากและเสาตอม่อเรียบร้อยแล้ว จึงทำการถมดินฐานราก ปรับระดับ เพื่อทำการก่อสร้างคาน พื้น เสา ซึ่งเป็นโครงสร้างเหนือพื้นดินกันต่อไป


ขายบ้านโคราช: รู้จักบ้าน เข้าใจแบบ ดูแปลนบ้านให้ออก ก่อนคิดสร้างบ้าน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://homes-realestate.com/homes2/

 

* Calendar

พฤศจิกายน 2024
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 [21] 22 23
24 25 26 27 28 29 30