ใครที่อาศัยอยู่คอนโดมิเนียม หรือบ้านพักอาศัยที่อยู่ติดถนนใหญ่ หรือในแหล่งชุมชน คงต้องพบเจอกับปัญหาเรื่องเสียงดังรบกวนเป็นแน่ ไม่ว่าจะเป็นเสียงจากข้างห้อง หรือเสียงจากรถราที่วิ่งไปมา ฉนวนกันเสียงจึงถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเราแก้ปัญหาสิ่งเหล่านี้นั่นเอง เพราะปัญหามลภาวะทางเสียง มันใช่ปัญหาเล็ก ๆ ที่เราจะมองข้ามไปได้ เพราะหากต้องพบเจอนานเข้าจะพาให้เรานอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิทำงาน หรือหนักเข้ากลายเป็นโรคเครียดไปได้เช่นกัน จริง ๆ แล้วฉนวนกันเสียงมีใช้งานกันมานาน แต่เมื่อก่อนมักจะใช้ในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ห้องประชุม ห้องส่งวิทยุ ห้องส่งโทรทัศน์ ห้องบันทึกเทปโทรทัศน์ หรือใช้ตามโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ แต่ปัจจุบันได้มีการออกแบบพัฒนามาให้ใช้งานกับบ้านพักอาศัยได้สะดวกมากขึ้น ตอบโจทย์เรื่องเสียงรบกวนจากรอบข้างได้เป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีหลายคนที่ยังไม่รู้จักประโยชน์ของวัสดุกันเสียงว่าคืออะไร ใช้งานแบบไหน วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับวัสดุกันเสียงชนิดต่าง ๆ ว่ามีแบบไหนบ้างที่นิยมใช้งาน และคุณสมบัติแต่ละชนิดต่างกันอย่างไร เพื่อจะเลือกมาใช้งานได้อย่างถูกต้องและเหมาะกับบ้านของเรารู้จักกับ ฉนวนกันเสียง ก่อนที่จะออกแบบตกแต่ง วัสดุช่วยป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก ให้กับบ้านพักและที่พักอาศัย คืนความสุขให้กับการพักผ่อนของเราอย่างแท้จริง
ฉนวนกันเสียงคืออะไร
หากจะอธิบายง่าย ๆ ฉนวนกันเสียงหรือวัสดุกันเสียง (Sound Isolation) ทำหน้าที่ป้องกันเสียงรบกวน จากสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ไม่ให้ผ่านทะลุเข้ามา หรือออกไปจากห้องนั่นเอง มีประสิทธิภาพในการลดเสียงหรือกันเสียงผ่านผนังได้มากน้อยแตกต่างกันตามแต่ชนิดของวัสดุ หลักสำคัญคือการกั้นเสียงให้ผ่านให้น้อยที่สุด ส่วนใหญ่จะใช้เป็นวัสดุที่มีรูพรุน (Open Cell) เพราะช่วยซับเสียงได้มากกว่าวัสดุผิวเรียบ วัสดุกันเสียงส่วนใหญ่ใช้งานร่วมกับผนังและฝ้าเพดานได้ทุกแบบ ใช้ได้ทั้งผนังอิฐ ปูน รวมถึงผนังไม้และโครงเบา การติดตั้งนั้นสามารถทำได้ด้วยการติดตั้งบนโครงบนผนัง โดยใส่ฉนวนกันเสียงลงไป และปิดทับด้วยแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ หรือสามารถติดบนผนังเลยก็ได้ เมื่อติดตั้งแล้วจะช่วยลดระดับพลังงานของเสียง เป็น Double Wall ที่อาศัยหลักการการดูดซับเสียงข้างต้น ถ้าความหนามากเท่าไหร่ ก็จะช่วยซับเสียงได้มากเท่านั้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับวัสดุด้วย
ประเภทของฉนวนกันเสียง ที่ได้รับความนิยมนำมาใช้งาน
วัสดุที่นิยมใช้ทำฉนวนกันเสียงนั้นมีหลากหลายชนิดมาก คุณสมบัติก็แตกต่างกันไป ทั้งดูดซับเสียง หรือช่วยลดเสียงรบกวนค่า Noise Reduction Coefficient (NRC) ที่เป็นตัวเลขระบุถึงความสามารถในการดูดซับเสียงของวัสดุนั้น ๆ และค่า Sound Transmission Class (STC) ค่าประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงระดับการส่งผ่านของเสียง เรามาดูกันว่า ส่วนใหญ่นั้นทำมาจากวัสดุอะไรบ้าง และมีความแตกต่างกันอย่างไร
ฉนวนแบบใยแก้วความหนาแน่นต่ำ (Glass Wool)
เป็นฉนวนกันเสียงประเภทที่หาง่ายที่สุด ตามร้านวัสดุก่อนสร้าง หรือร้านเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือระบบเสียงก็มีขาย ผลิตจากใยแก้วเส้นสั้น ๆ ขึ้นรูปด้วยสารยึดเกาะ (Binder) เพื่อให้มีความหนาแน่นและได้รูปร่างตามที่ต้องการ ส่วนใหญ่แล้ว โดยทั่วไปจะเป็นการวัดมวลต่อหนึ่งหน่วยปริมาตรมีความหนาแน่นต่ำที่ 24 kg/m3 (กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และไม่เกิน 48 kg/m3 สำหรับแบบพิเศษหรือสั่งผลิตเพื่อใช้งานเฉพาะจะมีความหนา เริ่มต้นที่ 60 kg/m3 ไปจนถึง 96 kg/m3 ฉนวนใยแก้วความหนาแน่นต่ำ เป็นที่นิยมใช้งานเพราะราคาไม่สูง ไม่ลามไฟ หาซื้อได้ง่าย มีค่า NRC และ STC ในการแก้ปัญหาเสียงในระดับปานกลาง เช่น เสียงจากผนังบ้านที่อยู่ติดกัน หรือผนังกันเสียงสำหรับพื้นที่เปิดโล่ง ซึ่งวัสดุจะใช้เป็นฉนวนกันความร้อนก็ได้
ฉนวนกันเสียง ติดตั้งดีไหมนะ รู้ไว้ก่อนที่จะสร้างบ้าน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/