collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ป้องกันเสียงรบกวนที่จะเข้ามาด้วย “ฉนวนกันเสียง”  (อ่าน 141 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ siritidaphon

  • FOUNDER MEMBER
  • *
  • กระทู้: 2,492
  • Total likes: 1007
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
ปัญหาเสียงรบกวน เป็นสิ่งที่หลาย ๆ บ้านต้องพบเจอ มันรบกวนเวลาพักผ่อน หรือเวลาเราทำงานที่บ้าน แต่ในหลายครั้งต้นตอของเสียง เกิดจากสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็น เสียงจากรถที่ขับผ่านไปมา เสียงจากเพื่อนบ้าน และเสียงอื่น ๆ หากเราไม่สามารถที่จะทำให้เสียงเหล่านั้นหยุดได้ สิ่งที่เราสามารถทำได้ คือการป้องกัน หรือลดให้เสียงเหล่านั้นเข้ามาถึงหูเราได้น้อยที่สุด

สิ่งที่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสียงดังรบกวนได้ ก็คือ การติดตั้งฉนวนกันเสียง ซึ่งไม่ใช่แค่ป้องกันเสียงจากภายนอก แต่ยังช่วยป้องกันเสียงจากภายใน ไม่ให้ออกไปรบกวนข้างนอกด้วยเช่นกัน ซึ่งมักถูกนำไปใช้สำหรับห้องซ้อมดนตรี โดยฉนวนกันเสียงนั้นก็มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท เพื่อให้เลือกใช้ได้ถูกต้อง เรามาทำความเข้าใจกับฉนวนกันเสียง ทั้งคุณสมบัติ ประเภท และการติดตั้งใช้งาน


ฉนวนกันเสียง คืออะไร

ฉนวนกันเสียง เป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งผลิตมาจากเส้นใยชนิดต่าง ๆ เช่น ใยหิน (Rockwool) และใยแก้ว (Fiberglass) ซึ่งมีคุณสมบัติเพื่อใช้ในการป้องกันเสียงจากทั้งภายในและภายนอก นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันความร้อนได้อีกด้วย และไม่มีอันตราย หรือผลข้างเคียงอะไรต่อผู้ใช้

แผ่นฉนวนกันเสียง เป็นแผ่นฉนวนที่ใช้ในการกั้นเสียงไม่ให้ไหลผ่าน ด้วยการลดความเร็วของคลื่นเสียงเมื่อกระทบกับแผ่นกันเสียง เพื่อไม่ให้เสียงผ่านไปนอกห้องได้ แผ่นฉนวนกันเสียงจะมีลักษณะเป็นรูพรุน หรือ Open Cell ที่สามารถดูดซับเสียงได้อย่างมาก
ฉนวนกันเสียงมีคุณสมบัติอย่างไร


แผ่นฉนวนกันเสียงมีคุณสมบัติหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น

– สามารถดูดซับเสียง ไม่ให้เสียงจากภายนอกผ่านเข้ามาในห้อง และป้องกันไม่ให้เสียงจากในห้องทะลุออกมาภายนอก
– ช่วยลดเสียงสะท้อนในห้อง
– สามารถใช้ตกแต่งห้องตรงผนัง หรือเพดาน
– ช่วยกันความร้อน และลดอุณหภูมิในห้องได้
– น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย สะดวก รวดเร็ว
– มีอายุการใช้งานที่นาน ไม่เปื่อยง่าย
– สามารถชะลอการลุกลามของไฟ ขณะเกิดเพลิงไหม้ได้

ป้องกันเสียงรบกวนที่จะเข้ามาด้วย “ฉนวนกันเสียง” อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/

 

* Calendar

พฤศจิกายน 2024
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 [22] 23
24 25 26 27 28 29 30