collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง: ห้องเก็บเสียงใช้ซ้อมดนตรี สร้างที่บ้านได้อย่างไร  (อ่าน 125 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ siritidaphon

  • FOUNDER MEMBER
  • *
  • กระทู้: 2,492
  • Total likes: 1007
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
แม้เราทุกคนจะมีดนตรีอยู่ในหัวใจ แต่ก็คงไม่มีใครทนไหวถ้าในวันที่อยากนอนหลับพักผ่อน อยากทำงานแต่ต้องมานั่งหงุดหงิดรำคาญใจเพราะเสียงซ้อมดนตรีของเพื่อนบ้านข้างห้อง

ด้วยเหตุนี้เอง การทำ “ห้องเก็บเสียง” ที่บ้านสักห้องหนึ่งไว้สำหรับซ้อมดนตรีโดยเฉพาะ จึงเป็นทางออกที่ช่วยแก้ปัญหาได้ดี ช่วยลดการมีปากเสียงกันระหว่างเรากับเพื่อนบ้าน และคืนความสงบสุขให้กับทุกฝ่าย โดยที่ในความเป็นจริงแล้วการทำห้องเก็บเสียงที่บ้าน หรือห้องคอนโดนั้น ก็ไม่ได้ยากอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ


แผ่นกันเสียง หัวใจสำคัญของการทำห้องเก็บเสียง

พอเอ่ยถึงการทำห้องเก็บเสียง หลาย ๆ คนอาจรู้สึกว่าจะต้องยากแน่ ๆ แต่ในความเป็นจริงนั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด แม้จะไม่สามารถทำเองได้ ต้องใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงโดยเฉพาะ แต่ก็ใช้เวลาในการทำงานเพียงแค่วันเดียวก็แล้วเสร็จ ซึ่งหัวใจสำคัญของการทำห้องเก็บเสียง ก็คือ “แผ่นกันเสียง” หรือ “วัสดุอะคูสติก” ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงดังทะลุเข้าออก

อย่างเช่น วัสดุอะคูสติก ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงสูง เป็นฉนวนแผ่นแข็ง ที่เมื่อเสริมเข้าไปกับผนังเดิมแล้ว ก็จะทำให้ผนังห้องเดิมหนาขึ้น กันเสียงได้ดีขึ้น จึงทำให้สามารถเก็บเสียงภายในห้องที่เราซ้อมดนตรีเอาไว้ได้ ไม่ทะลุออกไปสร้างความรบกวนภายนอก ในขณะเดียวกัน ก็จะป้องกันเสียงจากภายนอก ไม่ให้ทะลุเข้ามาดังรบกวนการซ้อมดนตรีภายในห้องของเราได้ด้วย


4 ขั้นตอนการทำห้องเก็บเสียงซ้อมดนตรีที่บ้าน

ในการเปลี่ยนห้องเดิม ๆ สักห้องที่บ้าน ให้กลายเป็นห้องเก็บเสียงสำหรับใช้ซ้อมดนตรีได้อย่างสบายใจไม่ส่งเสียงดังออกไปรบกวนใครนั้น สามารถดำเนินการได้ง่าย ๆ กับผู้เชี่ยวชาญด้านเสียง เพียงแค่ 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1.    นัดวันสำรวจหน้างานจริง เพื่อตรวจสอบพื้นที่ วัดค่าความดังของเสียง และวางแผนการแก้ไขปัญหาเสียง คำนวณปริมาณการติดแผ่นซับเสียง และตำแหน่งของการติดตั้งให้เพียงพอต่อการเก็บเสียง ป้องกันไม่ให้เสียงดังทะลุเข้าออกให้ได้มากที่สุด

2.    วันติดตั้งแผ่นกันเสียงสำหรับทำห้องเก็บเสียง เจ้าหน้าที่จะเริ่มต้นด้วยการวางโครงคร่าวไปบนผนังเดิมก่อน

3.    เมื่อวางโครงคร่าวเสร็จแล้ว ก็ใส่แผ่นกันเสียง หรือ วัสดุอะคูสติกเข้าไป เพื่อทำให้ผนังมีความหนาและมีคุณสมบัติในการกันเสียงเก็บเสียงได้มากขึ้น โดยจะใส่แผ่นกันเสียงลงไปจนเต็มพื้นที่ตามแนวที่วางโครงคร่าวไว้

4.    ปิดผิวด้วยแผ่นยิปซั่ม หรือแผ่นสมาร์ทบอร์ด ทาสี และเก็บงานให้เรียบร้อย พร้อมทำความสะอาด ก็จะได้ผนังใหม่ที่เรียบเนียนสวยงาม แต่สามารถกันเสียงดังทะลุเข้าออกได้มากกว่าเดิม


การตัดสินใจทำห้องเก็บเสียงไว้สำหรับซ้อมดนตรีที่บ้านนั้น ถือเป็นการตัดสินใจที่มีความคุ้มค่า เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้สามารถซ้อมดนตรีได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่ใจต้องการโดยไม่รบกวนเพื่อนบ้านได้แล้ว เราก็จะได้ห้องที่มีความเงียบสงบ ป้องกันเสียงดังรบกวนจากภายนอกไว้ใช้งานด้วยในตัว ซึ่งก็ดีตอ่การพักผ่อน และการทำงานที่ต้องใช้สมาธิอย่างมาก


ฉนวนกันเสียง: ห้องเก็บเสียงใช้ซ้อมดนตรี สร้างที่บ้านได้อย่างไร อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/

 

* Calendar

พฤศจิกายน 2024
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 [22] 23
24 25 26 27 28 29 30