การรับประทานอาหารของผู้ป่วยนั้น อาหารสุขภาพ ถือเป็นเรื่องสำคัญเป็นอันดับแรกๆที่แพทย์จะต้องคำนึงถึง เพราะสารอาหารที่เรารับประทานเข้าไป จะส่งผลโดยตรงต่อร่างกาย
หลายคนคงเคยเห็นผู้ป่วยที่เมื่อเจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล แพทย์จะสั่งงดอาหารหรือรับประทานอาหารที่อ่อน หรือผู้ป่วยบางกลุ่มก็ต้องให้อาหารทางสายยาง ขึ้นอยู่ว่าแพทย์จะวินิจฉัยให้รับอาหารแบบใด ซึ่งก็พิจารณาจากอาการป่วยหรือโรคที่เป็น อาหารปั่นผสมก็จะเหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถกลืนอาหารเองได้ ต้องให้อาหารทางสายยาง เพื่อป้องกันให้ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะขาดสารอาหาร รวมไปถึงปรับสมดุลในระบบขับถ่ายอีกด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเป็นปกติ ในปริมาณที่เพียงและจำเป็นต่อร่างกาย
สำหรับอาหารธรรมดา ก็จะเหมาะกับผู้ป่วยที่รับประทานอาหารได้เอง แต่อาหารก็ต้องขึ้นอยู่กับแพทย์ว่าจะให้รับประทานแบบใด จะเป็นอาหารอ่อนหรืออาหารแบบธรรมดา แต่ทั้งนี้อาหารต้องมีสารอาหารที่ครบ 5 หมู่ มีประโยชน์ให้พลังงานแก่ผู้ป่วยได้ดี และนักโภชนาการจะเป็นผู้จัดเตรียมอาหาร ไม่ว่าอาหารปั่นผสมหรืออาหารธรรมดา ก็ต้องมีนักโภชนาการควบคุมการผลิตอาหาร เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย เพราะถือว่าอาหารการกินสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลนั้น เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง หากผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะกับตนเอง ก็จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมาได้ หรืออาจจะส่งผลต่อโรคที่รักษาอยู่ด้วย
เพราะฉะนั้นอาหารปั่นผสมกับอาหารธรรมดา จึงมีความแตกต่างในเรื่องของผู้ที่จะรับอาหารว่าเหมาะสมกับการรับประทานอาหารแบบใด อาหารปั่นผสมจะมีกระบวนการผลิตอาหารที่ยุ่งยากกว่าอาหารธรรมดา เพราะต้องผลิตในห้องปลอดเชื้อ และต้องมีการคำนวณสัดส่วนของวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตอาหารปั่นผสม ต้องมีความเหมาะสมกับผู้ป่วย และต้องนำมาปั่นรวมกันหลังจากที่วัตถุดิบทุกอย่างผ่านกระบวนการทำให้สุกแล้วเท่านั้น
นอกจากนี้อาหารปั่นผสมผู้ป่วยจะไม่ได้รับรู้ถึงรสชาดของอาหาร เนื่องจากผู้ป่วยจะได้รับอาหารทางสายยางและส่งต่อไปที่กระเพาะอาหารทันที แต่อาหารธรรมดาผู้ป่วยจะได้รับรู้ถึงรสชาด ถึงอย่างไรอาหารทั้งสองประเภทก็มีประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป แต่ถึงอย่างไรก็มีประโยชน์ต่อผู้ป่วย เพื่อป้องกันภาวะขาดสารอาหารนั่นเอง
ความแตกต่างระหว่าง “อาหารปั่นผสม หรือ อาหารสายยาง” กับ “อาหารธรรมดา” อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/อาหารทางสายยาง/