collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: การบริหารการเงินส่วนบุคคล  (อ่าน 1618 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
การบริหารการเงินส่วนบุคคล
« เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2017, 08:25:37 AM »
หมายถึง การจัดระเบียบการเงินของบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการรู้จัก จัดหาเงินเข้ามา และใช้จ่ายออกไปอย่างเหมาะสมเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

แนวคิดพื้นฐานในการบริหารการเงินส่วนบุคคล

David Berky ประธานบริษัท Simple Joe, Inc. ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ทางการเงินได้ให้แนวคิดพื้นฐานในการบริหารการเงินส่วนบุคคลไว้ 4 ประการได้แก่

1. บริหารการเงินเพื่อป้องกันผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน (Security) การดำเนินชีวิตในปัจจุบันมักจะอยู่ท่ามกลางความเสี่ยง ซึ่งแต่ละท่านมีความเสี่ยงไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน เนื่องจากแต่ละท่านมีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นการรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ความเสี่ยงจากการตกงาน ความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น ดังนั้น ในการบริหารการเงินส่วนบุคคลจึงควรที่จะกันเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน หรือเกิดความเสี่ยงขึ้นในชีวิต เพื่อความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตนั่นเอง การบริหารการเงินที่สามารถกระทำได้ ได้แก่ การทำประกันชีวิต การประกันสุขภาพ การประกันการว่างงาน และการกันเงินออมส่วนหนึ่งไว้สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เป็นต้น

2. บริหารการเงินเพื่อความมั่นคงของชีวิต (Stability) หลักการในข้อนี้คือ ไม่ใช้จ่ายเกินรายได้ที่มีอยู่ และไม่พยายามสร้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ตัวอย่าง การใช้จ่ายมากกว่ารายได้ เช่น การซื้อสินค้าราคาแพงผ่านบัตรเครดิต โดยคิดว่าในอนาคตจะมีรายได้เพิ่มพอที่จะจ่ายคืนได้ ถือว่าเป็นการนำเงินออมในอนาคตมาใช้ล่วงหน้า ในทางตรงกันข้าม หากภาระหนี้สินที่มีอยู่เป็นหนี้สินที่จะก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต เช่น ซื้ออสังหาริมทรัพย์ด้วยวิธีการผ่อนชำระแล้วนำให้ผู้อื่นเช่า กรณีเช่นนี้ถือการลงทุน สำหรับการบริหารเงินเพื่อสร้างความมั่นคง สามารถทำได้โดย การทำงบประมาณรับจ่าย ซึ่งจะทำให้ทราบว่ามีรายได้เท่าใด ควรจะใช้จ่ายเท่าใด และควรจะเก็บออมไว้เท่าใด

3. การบริหารการเงินเพื่อสร้างความมั่งคั่ง (Growth) หลังจากที่สามารถบริหารการเงินเพื่อป้องกันผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน และสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตได้แล้ว ดังนั้น เมื่อมีเงินออมก็สามารถจะเริ่มคิดถึงการสร้างความมั่งคั่งให้แก่ตนเอง โดยอาจจะเริ่มต้นจากการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น การลงทุนในกองทุน ตราสารเงิน พันธบัตรรัฐบาล หุ้น กองทุนรวมประเภทต่างๆ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น โดยในช่วงเริ่มต้นของการลงทุนควรเริ่มลงทุนจากเงินจำนวนน้อย เพื่อประเมินว่ามีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเพื่อความไม่ประมาท

4. การป้องกันและบริหารความมั่งคั่ง (Protection and Management) หลังจากที่มีการลงทุนแล้วประสบความสำเร็จแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปก็คือ การรักษาระดับความมั่งคั่งให้คงอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น หาที่ปรึกษาทางการเงินให้มาดูแลความมั่งคั่ง การทำประกันอัคคีภัยสำหรับอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

การวางแผนการเงินส่วนบุคคล เป็นการวางแผนการใช้เงิน การออมเงินตลอดจนการลงทุนให้เกิดความสมดุลกับรายได้ที่ได้ของบุคคลนั้น เพื่อสร้างนิสัยทางการเงินที่ดี

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: การบริหารการเงินส่วนบุคคล
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2017, 08:26:20 AM »
ผมจะทยอยเอามาลงให้เรื่อยๆนะครับ ไว้ให้เพื่อนๆสมาชิกไว้อ่านเป็นความรู้กัน

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: การบริหารการเงินส่วนบุคคล
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2017, 08:40:49 AM »
ขั้นตอนการวางแผนการเงินครับ

1. กำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายทางการเงิน

อันนี้คิดง่ายๆ กำหนดเป็นระยะสั้น / กลาง / ยาว 

โดยส่วนใหญ่ระยะสั้นจะเป็นเรื่องของการบริหารสภาพคล่องครับ โดยอย่างน้อยเราควรมีสำรองเพื่อสภาพคล่องประมาณ 3-6 เดือนของค่าใช้จ่าย เช่น ถ้าเรามีรายจ่ายเดือนละ 10000 บาท เราก็ควรจะมีการกันเงินเพื่อสภาพคล่องไว้ 30000-60000 บาทครับ

ีระยะกลาง - เช่นการวางแผนไปเที่ยว (กับพงษ์จะดีมาก อิอิ) ก็จะต้องดูแล้วว่าสถานที่ ที่เราจะไปคือที่ไหน ค่าใช้จ่ายเท่าไร

ระยะยาว - เช่นการวางแผนเกษียณ การวางแผนแต่งงาน (กับพงษ์/// ช่างกล้า ถามพงษ์ยัง) ก็ต้องประเมินค่าใช้จ่าย ถ้าวางแผนเกษียณก็ต้องพิจารณาว่าจะเกษียณตอนอายุเท่าไร เกษียณแล้วกะจะมีชีวิตอยู่ต่ออีกกี่ปี ไรงี้

เดี๊ยวไว้มาต่อ กับ ขั้นตอนที่ 2 "การรวบรวมข้อมูลทางการเงิน" ครับผม

ขอตัวไปทำงานก่อน อิอิอิ

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: การบริหารการเงินส่วนบุคคล
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2017, 09:39:32 AM »
มาต่อครับ

2. รวบรวมข้อมูลทางการเงิน เป็นการรวบรวมข้อมูลทางการเงินของตนเอง เพื่อใช้วางแผนทางการเงิน ซึ่งข้อมูลทางการเงินประกอบด้วย ข้อมูลทางการเงินและเอกสารทางการเงินต่างๆ เช่น สมุดเงินฝากธนาคาร ตั๋วสัญญา
ใช้เงิน สัญญาการกู้ยืมเงิน เงินเดือน รายได้เสริม ค่าใช้จ่ายต่างๆ (ถ้ามีใบเสร็จรับเงินยิ่งดี) เอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการลงทุน ทะเบียนรถ โฉนดที่ดิน กรมธรรม์ประกันชีวิต และกรมธรรม์ประกันภัย เป็นต้น การรวบรวมข้อมูลทางการเงินเป็นข้อมูลขั้นพื้นฐานของการวางแผนทางการเงิน

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: การบริหารการเงินส่วนบุคคล
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2017, 07:50:41 AM »
ต่อกันที่ ข้อ 3

3. วิเคราะห์และประเมินสถานะทางการเงิน นำข้อมูลที่ได้มาจากข้อ 2 มาวิเคราะห์ เพื่อหาสถานะทางการเงินที่เป็นปัจจุบันว่าขณะนี้มีเงินมีฐานะการเงินอย่างไร กล่าวคือ จะต้องหารายได้เสริมอีกเท่าจึงจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้หรือยังมีเงินออมที่เหลืออยู่ เช่นเอาเงินไปลงทุนในทางเลือกต่างๆครับ (สร้าง Passive Income ที่ใครๆ เค้าชอบพูดกันนั้นแหละครับ)


ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: การบริหารการเงินส่วนบุคคล
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2017, 01:23:55 PM »
มาต่อกันที่ ข้อ 4 เลยนะครับ

4. จัดทำแผนทางการเงิน หลังจากวิเคราะห์และประเมินสถานะทางการเงินแล้วอาจพบเงื่อนไขและข้อจำกัดต่างๆเช่น การหนี้สิน ฯลฯ การจัดทำแผนการเงินในขั้นตอนนี้คือ การเขียนแผนการเงินที่สอดคล้องกับเป้าหมายที่วางไว้ พร้อมทั้งหาทางเลือกที่ดีที่สุด สำหรับการหารายได้เสริม หรือหาแหล่งเงินลงทุนที่เหมาะสมสอดคล้องกับเป้าหมายที่วางไว้

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: การบริหารการเงินส่วนบุคคล
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2017, 10:57:06 AM »
 (:55:) (:55:) (:55:)

ข้อ 5 ครับ ข้อ 5 พ่วงแถมข้อ 6 ด้วยเลยครับ

5. นำแผนทางการเงินที่จัดทำแล้วไปปฏิบัติ ขั้นตอนนี้เป็นการปฏิบัติตามแผนที่ได้เขียนไว้ ว่าต้องปฏิบัติอะไรบ้างในกรอบเวลาใด เช่น ต้องหารายได้เสริมเป็นจำนวนเงินเท่าใดในช่วงเวลาใด ต้องนำเงินไปลงทุนในทางเลือกที่กำหนดไว้ตามแผนการเงินที่วางไว้ (ข้อ4)

6. ติดตามและกำกับให้เป็นไปตามแผนทางการเงินที่วางไว้ หลังจากที่ได้ปฏิบัติไปตามแผนทางการเงินที่วางได้ระยะหนึ่งแล้ว ต้องทำการทบทวนและปรับปรุงแผนทางการเงินที่วางไว้ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถปฏิบัติไปตามแผนทางการเงินที่วางไว้ แต่ด้วยสภาวการณ์ในปัจจุบันอาจมีความแตกต่างจากสภาวการณ์ในอดีต (ในขณะที่ทำแผนการทางการเงิน) จึงทำให้ต้องมีการปรับแผนการทางการเงินเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีการทบทวนแผนทางการเงินอย่างน้อยปีละ1 ครั้ง ถ้าสภาวการณ์ในปัจจุบันไม่แตกต่างจากสภาวการณ์ในอดีตมากนัก ความถี่ของการทบทวนแผนทางการเงินจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความผันผวนของสภาวการณ์ในปัจจุบัน (สภาวการณ์ในที่นี้ หมายถึง เศรษฐกิจ สังคม การเมืองตลอดจนความมั่งคงในอาชีพ) อย่างไรก็ตามในกรณีที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่วางไว้ มักเกิดจากการไม่มีวินัยทางการเงินในตนเอง หรือ ในขณะที่วางแผนทางการเงินได้กำหนดเป้าไว้ไว้สูงเกินกว่าที่จะทำได้จึงไม่สามารถปฏิบัติตามแผนการเงินที่วางไว้ได้ ในขณะเดียวกันการปฏิบัติตามแผนการที่วางแผนไว้อย่างเคร่งครัด ไม่มีความยืดหยุ่นก็อาจทำให้ไม่ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน เพราะแผนการเงินที่จัดทำไว้มักถูกกระทบโดยปัจจัยหลายด้าน เช่น ความมั่นคงในอาชีพ ภาวะเศรษฐกิจ สถานภาพทางสังคม อัตราผลตอบแทน นโยบายของรัฐบาล ความมั่นคงทางการเมือง เป็ นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านีมี้ความไม่แน่นอน และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ขอบคุณที่มาจากหลายๆที่นะครับ


ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: การบริหารการเงินส่วนบุคคล
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2017, 11:02:43 AM »
มาต่อกันที่เรื่องการเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ ครับ

เมื่อต้องการซื้อ ประกันภัยรถยนต์ ใหม่ สิ่งที่สำคัญที่สุดนอกจากการทำ ประกัน พรบ. ก็คือการเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์นั่นเอง การเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเกินไป แต่ว่าจะต้องใช้เวลาในการตัดสินใจเพื่อเลือกประเภทการประกันภัยที่จะเหมาะสมกับการใช้งานของผู้ขับขี่มากที่สุดเท่านั้นเอง

เคล็ดลับการซื้อประกัน นั้นไม่มีอะไรยุ่งยาก สิ่งแรกที่ควรนึกถึงก็คือขอบเขตความคุ้มครองที่ผู้ขอบขี่ต้องการ โดยคำนึงถึงลักษณะการใช้งาน ลักษณะของตัวรถยนต์ ยี่ห้อ นิสัยการขับรถของผู้ขับขี่ และ ความเสี่ยงของผู้ขับขี่ รวมทั้งสภาพแวดล้อมในที่อยู่ของผู้ขับขี่ว่าจะมีปัญหาด้านการโจรกรรมรถยนต์หรือไม่ด้วย

เจ้าของรถยนต์ควรศึกษาขอบเขตความคุ้มครองของประกันภัยที่ต้องการ และ การให้บริการของบริษัทประกันภัยรถยนต์เพื่อให้คุณสามารถเลือก ประกันภัยรถยนต์ ที่มีความเหมาะสมกับการใช้งานของคุณมากที่สุด
วิธีเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์แบบง่ายๆ ดังนี้

1. เลือกบริษัท ประกันภัยรถยนต์
เพราะเราต้องใช้บริการบริษัทประกันภัยรถยนต์รับประกัน 1 ปีเต็มๆ ครับ การเลือกบริษัทจึงควรดูถึง ความมั่นคงทางการเงิน ให้บริการดี และไม่มีปัญหาเรื่องการจ่ายค่าสินไหม สามารถให้ความรู้และคำปรึกษาเรื่องประกันภัยรถยนต์แก่ลูกค้าได้ อัตราเบี้ยประกันภัยต้องเป็นธรรมกับผู้เอาประกันภัยรถยนต์ “เสี่ยงน้อยจ่ายน้อย เสี่ยงมากจ่ายมาก” มีศูนย์บริการครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศเพื่อความสะดวกแก่ลูกค้า ผู้เอาประกันภัยรถยนต์ควรคำนึงถึงความมั่นคงและความน่าเชื่อถือของ บริษัทประกันภัยรถยนต์ ตัวแทน และบริษัทนายหน้าประกันภัยรถยนต์ ที่มีประวัติในการดำเนินธุรกิจที่ดี มีผลประกอบการที่ดี มีผู้ถือหุ้นที่มั่นคง และมีการบริการหลังการขายที่ดี ฯลฯ เป็นหลักสำคัญในการเลือกซื้อ

2. วิเคราะห์ความต้องการ
ซ่อมอู่หรือซ่อมศูนย์ ซึ่งตรงนี้ค่าเบี้ยจะต่างกันประมาณ 10-30% ปัจจุบันการซ่อมอู่นั้นมีมาตรฐานค่อนข้างสูง เพราะมีการแข่งขันด้านคุณภาพให้ทัดเทียมกับศูนย์ แต่สามารถประหยัดเบี้ยประกันภัยรถยนต์ไปได้พอสมควร

3. วิเคราะห์ลักษณะการใช้รถและหาส่วนลด
หากรถยนต์ของคุณมีผู้ขับขี่ที่แน่นอน การระบุชื่อผู้ขับขี่ในกรมธรรม์ จะประหยัดเบี้ยได้ 5-20% เลย โดยสามารถระบุผู้ขับขี่ได้ไม่เกิน 2 คน (ดูคนอายุน้อยเป็นหลัก) ไม่แนะนำให้ระบุอายุต่ำกว่า 25 ปี เพราะได้ส่วนลดนิดเดียว และกรณีผู้อื่นนำรถยนต์คันดังกล่าวไปขับขี่เกิดเหตุเป็นฝ่ายผิด ผู้เอาประกันภัยรถยนต์จะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายของรถคันเอาประกันภัยรถยนต์ตามจริงแต่ไม่เกิน 6,000 บาท และรับผิดชอบค่าเสียหายต่อรถคู่กรณี 2,000 บาท ส่วนที่เกินตามจริงนั้นบริษัทประกันภัยรถยนต์จะเป็นผู้รับผิดชอบ วิธีนี้จะทำให้สามารถประหยัดค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ได้มากพอสมควร

ขอบคุณข้อมูลจาก www.askhanuman.co.th

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: การบริหารการเงินส่วนบุคคล
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2017, 11:30:50 AM »
Reply นี่ผมจะมาแชร์ข้อมูลจาก กรมคุ้มครองเงินฝากนะครับ เพื่อให้ทุกท่านได้ทราบกัน ^^


กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก: สิทธิที่ผู้ฝากควรรู้ Deposit Protection Law: The Right that depositors should know

การลงทุนในเงินฝาก ถือเป็นการลงทุนที่มีกันมาช้านานในทุกๆ ประเทศ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่เว้นแต่ในประเทศไทย นับตั้งแต่ประเทศไทยได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจทางการเงิน ที่เรียกว่าวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งในปี พ.ศ. 2540 ที่ผ่านมา

     ในช่วงเวลานั้นประชาชนต่างพากันแตกตื่นที่จะถอนเงินฝากออกจากธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ ขณะเดียวกันนักลงทุนต่างชาติก็เรียกคืนเงินที่ให้สถาบันการเงินในประเทศกู้ยืม ส่งผลให้ระบบการเงินในประเทศขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ภายหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจปี พ.ศ.2540 สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (Deposit Protection Agency) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551 และกฎหมายนี้ให้มีผลบังคับใช้ภายใน 180 วัน นั่นหมายความว่าการคุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2551 เป็นต้นมา นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังมีมติเห็นชอบในหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองเพิ่มขึ้น พ.ศ. 2552 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2552 เพื่อเพิ่มวงเงินคุ้มครองเงินฝากแบบเต็มจำนวนในปีที่สองและสาม ดังการเปรียบเทียบพระราชบัญญัติ พ.ศ.2551 และพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2552 ดังแสดงในตารางที่ 1 ดังนี้

กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก สิทธิที่ผู้ฝากควรรู้

ที่มา: สำนักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
     จากกฎหมายประกันเงินฝากดังกล่าว จะเห็นได้ว่า หลังจากวันที่ 11 สิงหาคม 2555 เป็นต้นไป หากเกิดกรณีสถาบันการเงินใดถูกเพิกถอนใบอนุญาต ผู้ฝากเงินที่มีเงินฝากสูงกว่าวงเงินประกัน 1 ล้านบาทในทุกบัญชีรวมกันในสถาบันการเงินแห่งนั้น (Per Depositor Per Bank) จะได้รับเงินจ่ายคืนเพียง 1 ล้านบาทจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากเท่านั้น

ความสำคัญของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
     สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (Deposit Protection Agency: DPA) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ มีฐานะเป็นนิติบุคคล บริหารงานและกำหนดนโยบายโดยคณะกรรมการประกอบด้วยประธาน ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี (“สถาบันคุ้มครองเงินฝาก”, ม.ป.ป.)
ตารางที่ 1 สาระหลักตามพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนเงินฝากที่ได้รับความคุ้มครองเพิ่มขึ้น พ.ศ.2552
ที่มา: สำนักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

     ระบบการประกันเงินฝาก (Deposit Insurance) เป็นแนวคิดที่สร้างขึ้น เพื่อให้ความคุ้มครองกับผู้ฝากเงินในสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก เพื่อให้ได้รับเงินฝากคืนภายในวงเงินที่กำหนดในกรณีที่สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองถูกปิดกิจการ โดยไม่ต้องรอขอรับชำระหนี้จากการชำระบัญชีทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้นๆ ซึ่งผู้ฝากเงินก็ไม่ต้องกังวลหรือดำเนินการใดๆ เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองเงินฝาก ดังนั้นบุคคลธรรมดาหรือแม้แต่นิติบุคคลอย่าง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม บริษัทประกันชีวิต ประกันภัย มูลนิธิ วัด สมาคม สภากาชาด สหกรณ์ ที่นำเงินไปฝากกับธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ก็จะได้รับการคุ้มครองเงินฝากในจำนวนไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อ 1 สถาบันการเงิน ปัจจุบันสถาบันการเงินภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝากแสดงรายชื่อได้ดังนี้

ธนาคารพาณิชย์ (รวมสาขาธนาคารต่างประเทศ) จำนวน 32 แห่ง
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ (ไทย) จำกัด (มหาชน) ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)
ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) ธนาคารซิตี้แบงก์
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) ธนาคารดอยซ์แบงก์
ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารมิซูโฮ คอร์ปอเรต จำกัด
ธนาคารเครดิต อะกริกอล คอร์ปอเรทแอนด์อินเวสเมนท์แบงก์ ธนาคารแห่งประเทศจีน จำกัด
ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส ธนาคารอาร์ เอช บี จำกัด
ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์
ธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด ธนาคารแห่งอเมริกาเนชั่นแนลแอสโซซิเอชั่น
ธนาคารอินเดียนโอเวอร์ซีส์
ธนาคารเดอะรอยัลแบงค์อ๊อฟสกอตแลนด์ เอ็น.วี.
ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีสแบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
บริษัทเงินทุน จำนวน 3 แห่ง
บริษัท เงินทุน กรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน)
บริษัท เงินทุน สินอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
บริษัท เงินทุน แอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน)
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ จำนวน 3 แห่ง
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลินน์ ฟิลลิปส์ มอร์ทเก็จ จำกัด
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สหวิริยา จำกัด
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เอเซีย จำกัด

ที่มา: สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
     แต่กฎหมาย พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากนี้ไม่ครอบคลุมถึงธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารอาคารสงเคราะห์ ซึ่งเป็นธนาคารที่รัฐบาลถือหุ้นและดูแลเงินฝากอยู่แล้ว รวมทั้งธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เช่น ธนาคารอิสลาม เป็นต้น โดยเงินฝากที่ได้รับความคุ้มครอง ได้แก่ เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ บัตรเงินฝาก และใบรับฝากเงินที่เป็นเงินบาท ยกเว้น เงินฝากใน “บัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ” ซึ่งเป็นประเภทบัญชีพิเศษ ที่เปิดเพื่อทำรายการเฉพาะตาม พระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เงินฝากที่มีอนุพันธ์แฝง และเงินฝากระหว่างสถาบันการเงินผู้ฝากเงินคงต้องการทราบว่า ถ้าผู้ฝากมีเงินฝากไว้หลายบัญชีหรือสาขาหลายแห่งของสถาบันการเงินแห่งเดียวกัน ผู้ฝากจะได้รับความคุ้มครองเงินฝากอย่างไรบ้าง ต่อไปนี้จะแสดงวิธีการคำนวณวงเงินสูงสุดที่ผู้ฝากเงินแต่ละรายจะได้รับเงินฝากคืน ไม่ว่าผู้ฝากเงินรายนั้น จะมีบัญชีเงินฝากอยู่กี่บัญชีในสถาบันการเงิน 1 แห่ง

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

ออฟไลน์ thaimale2011

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,018
  • Total likes: 71
  • คะแนนพิเศษ: +0/-0
Re: การบริหารการเงินส่วนบุคคล
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2017, 11:34:36 PM »
สุดยอดเลยครับ ขอบคุณมากๆ

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: การบริหารการเงินส่วนบุคคล
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2017, 08:41:18 PM »
สุดยอดเลยครับ ขอบคุณมากๆ

ขอบคุณมากนะครับผม

ออฟไลน์ dupbee

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,016
  • Total likes: 1
  • คะแนนพิเศษ: +0/-0
Re: การบริหารการเงินส่วนบุคคล
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2017, 08:49:17 PM »
 (:boring:) (:Lover:) (:Lover:) (:Lover:) (:Lover:)

ออฟไลน์ dupbee

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,016
  • Total likes: 1
  • คะแนนพิเศษ: +0/-0
Re: การบริหารการเงินส่วนบุคคล
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2017, 06:15:21 PM »
 (:oop:) (:oop:) (:oop:) (:oop:) (:oop:)

ออนไลน์ Twptsshop

  • ครั้งแรก ที่รู้จักพงษ์ ก็ชอบและถูกชะตาขึ้นมาทันที และเท่าที่เห็นมา พงษ์เป็นคนที่ไม่มีพิษมีภัยกับใคร โชคดีที่ได้รู้จักพงษ์ครับ
  • CHAMPION MEMBER
  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 9,877
  • Total likes: 337
  • คะแนนพิเศษ: +20/-0
Re: การบริหารการเงินส่วนบุคคล
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: มีนาคม 11, 2018, 10:20:08 PM »
ขอบคุณที่แบ่งปันนะครับ
💗💗💗⚘⚘⚘

ออฟไลน์ nongyosi485

  • รักกันต้องรักที่ใจใช่สะตัง
  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,167
  • Total likes: 4
  • คะแนนพิเศษ: +0/-0
  • มีดีทีเปลี่ยนแปลง
Re: การบริหารการเงินส่วนบุคคล
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: เมษายน 11, 2018, 11:01:05 PM »
wow like love kiss

ออฟไลน์ wud

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,166
  • Total likes: 14
  • คะแนนพิเศษ: +7/-0
Re: การบริหารการเงินส่วนบุคคล
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: มกราคม 25, 2020, 04:09:46 PM »
 (:best:) (:best:) (:best:) (:best:) (:best:) (:best:) (:best:)

ออฟไลน์ Kawin_x

  • FOUNDER MEMBER
  • *
  • กระทู้: 1,131
  • Total likes: 0
  • คะแนนพิเศษ: +0/-0
  • ทนายขี้เงี่ยน
Re: การบริหารการเงินส่วนบุคคล
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2021, 02:10:47 PM »
ขอบคุณนะครับที่นำเสนอข้อมูลดีๆ  (:Nice:) (:Kiss:)

ออฟไลน์ Ka-Chay.2015

  • ไม่ต้องรู้เรื่องส่วนตัวกันมากมาย .. แค่รู้เรื่องของกายกันและกันก็พอ
  • CHAMPION MEMBER
  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,638
  • Total likes: 16
  • คะแนนพิเศษ: +9/-0
  • เป็นความสุขของกันและกัน
Re: การบริหารการเงินส่วนบุคคล
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: กันยายน 04, 2021, 08:15:46 PM »
สุดยอดครับผม
สถานะ :

                              เป็นความสุข ของกันและกัน
                  ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องส่วนตัวกันมากมาย 
                   แค่ รู้เรื่องของ "กาย"  กันและกันก็พอ

                                          18 Aug. 2015

 

* Calendar

พฤศจิกายน 2024
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 [22] 23
24 25 26 27 28 29 30