collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: วิกฤตเศรษฐกิจโลก  (อ่าน 1698 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
วิกฤตเศรษฐกิจโลก
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2017, 10:41:23 PM »
1) วิกฤตการเงินใหสหรัฐอเมริกา ค.ศ.1929

ถือเป็นปฐมบทแห่งหายนะทางธุรกิจยุคบุกเบิกเลยทีเดียวสำหรับวิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1929 หรือที่รู้จักกันในชื่อ Great Depression ซึ่งหากกล่าวไปคงไม่มีใครเชื่ออย่างแน่นอนว่าจะมีภาพคนอเมริกันนับแสนเข้าคิวรอรับอาหารและของแจกฟรีจากหน่วยงานการกุศล วิกฤติทางการเงินในครั้งนี้เกิดจากความตื่นตัวเกินเหตุของบรรดาอเมริกันชนที่มีต่อตลาดหุ้นวอล สตรีท เลยพากันไปกู้เงินและนำมาลงทุนในตลาดหุ้นจนหมดตัวด้วยหวังรวยทางลัด ทำให้เกิดภาวะเก็งกำไรขึ้นและส่งผลให้ราคาหุ้นของหลายบริษัททะยานขึ้นสูงเกินความเป็นจริงหลายเท่าตัว ทั้งที่ช่วงนั้นเศรษฐกิจอเมริกากำลังถดถอย จนกระทั้งเดือนกันยายนก็เริ่มมีข่าวลือว่าหลายบริษัทเกิดภาวะขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างรุนแรง และวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1929 ตลาดหุ้นวอล สตรีทผันผวนอย่างหนัก หุ้นตกแบบทิ้งดิ่งจนถึงขีดสุด เกิดการระดมเทขายอย่างหนักจนเกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง หุ้นที่ประชาชนถืออยู่ในมือจึงกลายเป็นเพียงแผ่นกระดาษแผ่นหนึ่งในพริบตา กระทั่งธนาคารก็พากันล้มละลายหลายสิบแห่งเพราะประชาชนไม่สามารถคืนเงินกู้ได้

หายนะวิกฤติการเงินในครั้งนี้สอนให้รู้ว่าการลงทุนโดยขาดการศึกษาข้อมูลรอบด้านคือหายนะอย่างแท้จริง ไม่ต่างอะไรจากแมงเม่าบินเข้ากองไฟเลยแม้แต่น้อย

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: วิกฤตเศรษฐกิจโลก
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2017, 10:41:42 PM »
2) วิกฤตเศรษฐกิจอาเจนติน่า ค.ศ. 1999-2002

หายนะวิกฤติการเงินของอาร์เจนติน่าเกิดจากความผิดพลาดหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นสังคม วัฒนธรรม นโยบายการเงิน ไปจนถึงการคอร์รัปชัน ทั้งหมดสั่งสมมาตั้งแต่ยุครัฐบาลทหารจนถึงประชาธิปไตยซึ่งกดดันจากต่างประเทศ โดยอาร์เจนติน่ามีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศสูงมากจนเกิดภาวะการขาดดุลทางการเงินอย่างหนัก แถมมีปัญหาเงินเฟ้ออย่างรุนแรงซึ่งเพิ่มขึ้นเดือนละ 200% และเกือบจะ 3000% ในปี 1983 จนมีการเปลี่ยนรัฐบาลและนโยบายทางการเงินใหม่หมด มีการกำหนดค่าเงินบาทแบบตายตัว แต่มันไม่ได้ให้ผลดีเลยกลับทำให้เกิดปัญหาด้านการส่งออกขึ้นอีก เพราะค่าเงินแข็งเกินไปทำให้สินค้าส่งออกขายได้ยากขึ้น หนี้เก่าก็มีเป็นจำนวนมหาศาลอยู่แล้ว เมื่อถึงเวลาต้องชำระหนี้สินคืนต่างประเทศก็ไม่สามารถใช้คืนได้ สุดท้าย IMF ต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือทางการเงินอย่างเร่งด่วน

วิกฤตินี้ทำให้เราเห็นได้ชัดว่าความสามารถของผู้นำและนโยบายทางการเงินของรัฐบาลมีผลต่อการอยู่รอดของระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมากขนาดไหน

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: วิกฤตเศรษฐกิจโลก
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2017, 10:41:56 PM »
3) วิกฤตเศรษฐกิจกรีซ ค.ศ.2009

วิกฤติเศรษฐกิจของกรีซปะทุขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2009 ที่ผ่านมานี่เอง สาเหตุหลักมาจากการขาดวินัยทางการเงินของผู้บริหารประเทศในการกำหนดนโยบายและทิศทางการบริหารเงินคงคลังภายใน ผสมกับภาวะถดถอยทางการเงินของเศรษฐกิจโลกในขณะนั้นจึงทำให้งบประมาณภาครัฐขาดดุลถึงร้อยละ 14.5 และยังมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 113 ของ GDP ซึ่งยังไม่รวมรายจ่ายต่อปีจำนวนมากอีก นอกจากนี้โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่บิดเบี้ยวมาช้านานยังกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนอีกด้วย ที่ร้ายกว่านั้นคือมันส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังกลุ่มสหภาพยุโรป จนเหล่าบรรดาภาคี EU และ IMF ต้องเข้าให้การช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วนเพื่อกอบกู้ประเทศนี้เอาไว้ไม่ให้ล้มละลาย

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศกรีซนั้นมาจากการขาดไร้ซึ่งระเบียบวินัยทางการเงินของผู้บริหารประเทศและการก่อหนี้สาธารณะสูงจนเกินไปตามรูปแบบประชานิยมนั่นเอง

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: วิกฤตเศรษฐกิจโลก
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2017, 10:42:18 PM »
4) วิกฤตการเงินรัสเซีย ค.ศ.1998

หายนะวิกฤติทางการเงินในดินแดนถิ่นหมีขาวและวอดก้าครั้งนี้สร้างความเจ็บปวดให้นักลงทุนเป็นอย่างมาก เหตุเริ่มจากรัสเซียซึ่งเพิ่งหลุดพ้นจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเดิมและทำการปฏิรูประบบเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นทุนนิยมมากขึ้น สินค้าส่งออกหลักๆ ในขณะนั้นคือเหล็ก น้ำมัน และทองแดง โดยมีเอเชียเป็นลูกค้าอันดับหนึ่ง แต่เมื่อเอเชียประสบวิกฤติทางเศรษฐกิจของตนเอง การสั่งซื้อสินค้าจากรัสเซียก็ลดน้อยลงขณะที่ปริมาณการผลิตเท่าเดิม ราคาสินค้าจึงตกต่ำถึงขีดสุด แต่เนื่องจากรัสเซียต้องการเงินมาพัฒนาโครงสร้างประเทศจำนวนมหาศาลจึงออกพันธบัตรเงินกู้จำนวนมากออกขายให้นักลงทุนที่สนใจ โดยมี Yield (ผลผลิตสุทธิที่ได้จากกระบวนการผลิต ซึ่งหักการสูญเสียออกทั้งหมด) ถึง 20% ในหนึ่งปีซึ่งหาไม่ได้จากที่ไหน และขณะนั้นนักลงทุนก็เชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจรัสเซียมากพอสมควรเพราะเห็นว่ามี IMF คอยหนุนหลังอยู่จึงคิดว่าคงไม่มีความเสี่ยง นักลงทุนทั้งหลายจึงระดมกู้เงินจากทั่วโลกเพื่อมาซื้อพันธบัตรรัสเซียเก็บเอาไว้เพื่อเก็งกำไร แต่แล้วหายนะก็เกิดขึ้นเมื่อรัสเซียสวมบทซามูไรชักดาบเบี้ยวหนี้ทั้งหมดในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1998 แถมยังออกมาตรการห้ามประชาชนถอนเงินสดออกจากธนาคารอีกด้วย เศรษฐกิจจึงพังไปเกือบทั่วโลก วิกฤตินี้จึงเป็นอีกหนึ่งบทเรียนสอนนักลงทุนว่าไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ และฟรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลตอบแทนที่มากเกินความเป็นจริง

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: วิกฤตเศรษฐกิจโลก
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2017, 10:42:52 PM »
5) วิกฤตการเงินสวีเดน ค.ศ. 1990-1994

หลายคนค่อนข้างแปลกใจที่หายนะทางการเงินครั้งนี้เกิดที่ประเทศสวีเดนดินแดนที่ถือเป็นรัฐสวัสดิการต้นแบบและธรรมาภิบาลดีที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง ซึ่งจุดเด่นนี้เองได้กลายสภาพมาเป็นหนี้สาธารณะสูงสะสมมากนานหลายสิบปี จนเมื่อปลายปี ค.ศ.1980 สวีเดนได้เริ่มคลายความเข้มงวดต่างๆ ที่มีต่อสถาบันการเงินหลังจากคุมเข้มกว่า 50 ปี ผลก็คือสถาบันการเงินปล่อยเงินกู้ให้ภาคธุรกิจและประชาชนอย่างคะนองมือเนื่องจากยังไม่สามารถปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงได้ ราคาสินทรัพย์ต่างๆ ทะยานขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์จนก่อให้เกิดการขยายตัวในลักษณะของฟองสบู่ แล้วในที่สุดฟองสบู่ก็แตก สินทรัพย์ต่างๆ ลดมูลค่าลงกลับกลายเป็นของด้อยค่าในพริบตา เมื่อการเก็งกำไรไม่ได้ผล นักธุรกิจและประชาชนต่างไม่มีเงินใช้หนี้ ธนาคารจึงเริ่มล้มละลายเป็นแถบ แล้วจึงลุกลามกลายเป็นวิกฤติการเงินด้านอัตราแลกเปลี่ยนในที่สุด จะเห็นได้ว่าการที่ฝ่ายบริหารให้อิสระกับภาคธุรกิจมากเกินไปโดยไม่มีการควบคุมมักทำให้การจัดการมวลรวมของระบบธุรกิจขาดประสิทธิภาพ ดังนั้นภาครัฐควรเข้ามาควบคุมระบบให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องโดยไม่ผูกขาดเกินไปหรืออิสระจนเกินไป

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: วิกฤตเศรษฐกิจโลก
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2017, 10:43:10 PM »
6) วิกฤตต้มยำกุ้งในไทย ค.ศ. 1997-1999

หายนะที่คนไทยหวังให้เป็นเพียงแค่ฝันร้าย เหตุการณ์เริ่มเมื่อ ค.ศ. 1997-1999 ประเทศในอาเซียนได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างประเทศจนอาจเรียกได้ว่าฮอตติดลมบน บวกกับนโยบายทางการเงินของไทยช่วงนั้นซึ่งส่งเสริมให้มีการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกด้วย เมื่อมีปัจจัยบวกจากภายในและภายนอกเช่นนี้จึงเกิดการปั่นราคาอสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน และหุ้นจนสูงมากกว่าเงินที่มีอยู่ในระบบหลายสิบเท่าตัว เศรษฐกิจประเทศไทยจึงเข้าสู่ระบบการเก็งกำไร “โดยกู้มาลงทุน” ด้วยหวังกำไรส่วนต่าง

ฟังดูเหมือนจะไปได้ดี แต่สิ่งหนึ่งที่นักเก็งกำไรมองข้ามไปคือเมื่อเงินอยู่ในระบบมากเกินจะส่งผลให้เงินเฟ้อและค่าเงินบาทลดลงอย่างหนัก ทำให้หนี้ที่กู้ยืมจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นแบบเท่าตัว แถมยังมีปัจจัยความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเข้ามาอีก ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องเทเงินเข้าระบบเพื่อรักษาและคงที่ค่าเงินบาทเอาไว้ แต่การเทเงินเข้าระบบแบบหมดหน้าตักกลับเป็นนโยบายการเงินที่ผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง เงินคงคลังของประเทศลดต่ำลงจนเกือบเรียกได้ว่าล้มละลาย ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ไร้ความสามารถในการชำระหนี้ สุดท้ายรัฐบาลไทยจึงประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในที่สุด หนี้ของประเทศจึงเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว สถาบันทางการเงินปิดไปถึง 56 แห่ง ประเทศไทยรวมถึงประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกันต่างต้องขอรับความช่วยเหลือจาก IMF 

บทเรียนหายนะวิกฤติต้มยำกุ้งในครั้งนี้สอนให้รู้ว่าไม่ควรคาดหวังกับเงินในอนาคตที่มาจากการเก็งกำไรมากเกินไปนัก เพราะธุรกิจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่มีความเสถียรพร้อมจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาด้วย

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: วิกฤตเศรษฐกิจโลก
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2017, 10:43:29 PM »
7) ฟองสบู่ธุรกิจดอทคอม ค.ศ. 1995-2000

อินเทอร์เน็ตและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคือความหวังของมนุษย์ นักลงทุนจำนวนมากเชื่ออย่างนั้นจึงแห่กันลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นจำนวนมากด้วยคิดว่ามันคืออนาคตของการทำธุรกิจในขณะนั้น แต่แล้ววันแห่งความสูญสิ้นก็มาถึงเมื่อความนิยมอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีไม่ได้สูงเหมือนเป้าที่วางไว้ ความผิดหวังในเทคโนโลยีเริ่มมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะความก้าวหน้าในขณะนั้นยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่มนุษย์คาดหวังไว้ ความถดถอยเริ่มเกิดขึ้นในตลาดทุนเมื่อราคาหุ้นเทคโนโลยีตกลงถึงขั้นไม่เหลืออะไรเลย และนำไปสู่ภาวะฟองสบู่แตกในที่สุด วิกฤติการณ์ครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่สอนให้รู้ว่าการลงทุนแบบเก็งกำไรและกเน้นการเติบโตมากกว่าผลกำไรคือหายนะที่น่ากลัว

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: วิกฤตเศรษฐกิจโลก
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2017, 10:43:53 PM »
8) ฟองสบู่แตกในสินทรัพย์ของญี่ปุ่น

ต้องเข้าใจเสียก่อนว่าชาวญี่ปุ่นมีระเบียบวินัยการออมเงินสูงมากมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ธนาคารและสถาบันทางการเงินมีเงินในระบบจำนวนมาก ทำให้พวกเขาคิดจะขยายธุรกิจด้วยการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ด้วยการปล่อยกู้ให้เอกชนและประชาชนได้นำเงินออกมาจับจ่ายใช้สอย ซึ่งขณะนั้นดัชนีหุ้นนิเคอิพุ่งสูงติดกระดานตลาดหลักทรัพย์เลยทีเดียว

แต่ความจริงก็ปรากฎขึ้นเมื่อตลาดญี่ปุ่นเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอย ประชาชนมีเงินอยู่ในมือก็จริงแต่ไม่อยากเอาออกมาใช้รัฐบาลก็ทำอะไรไม่ได้ แม้จะพยายามลดดอกเบี้ยเงินฝากขนาดไหน เงินก็ยังไม่ออกจากระบบ เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มซบเซา ตลาดหุ้นตก เงินทุนในภาคธุรกิจหายไปกว่าครึ่ง เมื่อไม่มีอุปสงค์ในตลาด อุปทานจึงไม่เกิดเป็นเรื่องธรรมดา จากนั้นเงินทุนก็เริ่มโยกย้ายออกไปต่างประเทศ การจ้างงานลดลง คนตกงานเป็นจำนวนมาก รัฐบาลญี่ปุ่นแก้ปัญหาแบบเลี้ยงไข้จึงทำให้ใช้เวลาสะสางนานถึง 12 ปีถึงจะดึงอัตราการเติบโตของธุรกิจให้กลับมาอยู่ในแดนบวกได้

วิกฤติหายนะครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการกระตุ้นการลงทุนจำเป็นต้องทำไปพร้อมกับารสร้างพฤติกรรมการบริโภคอย่างต่อเนื่อง

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: วิกฤตเศรษฐกิจโลก
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2017, 10:44:09 PM »
9) วิกฤตน้ำมัน ค.ศ. 1970

เพราะเครื่องจักรและยานพาหนะแทบทุกสิ่งบนโลกล้วนต้องใช้น้ำมัน และแหล่งน้ำมันส่วนใหญ่มักอยู่ในชาติมุสลิมซึ่งเป็นภาคีโอเปก การเกิดสงครามระหว่างอาหรับและอิสราเอลจึงเป็นเหตุการส่งออกน้ำมันจากชาติอาหรับหยุดชะงัก สร้างความแตกตื่นให้ประชาชนผู้บริโภคจนพากันแห่ซื้อน้ำมันมากักตุนไว้อย่างบ้าคลั่งราวกับเกิดกลียุคด้านพลังงานขึ้น จากนั้นกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันอย่างโอเปกสามารถชิงอำนาจการกำหนดราคามาจากบริษัทยักษ์ใหญ่ในอเมริกาและสหภาพยุโรปได้อย่างถาวร อันเป็นการเปลี่ยนอำนาจชนิดสลับขั้วที่สำคัญมาก ระบบเศรษฐกิจทั่วโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่จนเกือบล่มสลาย เพราะเมื่อน้ำมันราคาแพงขึ้น ต้นทุนการผลิตย่อมสูงขึ้นแน่นอน ส่งผลให้ราคาสินค้าแพงขึ้น ผู้บริโภคมีกำลังซื้อไม่พอ ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงตามๆ กัน แต่ที่หนักสุดคือประเทศด้อยพัฒนาที่ต่างชักหน้าไม่ถึงหลังด้วยกันทั้งสิ้น

วิกฤติครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าระบบเศรษฐกิจสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และบางครั้งผู้เป็นเจ้าของตลาดก็มิอาจอยู่เหนือเจ้าของปัจจัยการผลิตอย่างที่เป็นมาในอดีตเสมอไป

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: วิกฤตเศรษฐกิจโลก
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2017, 10:44:27 PM »
10) วิกฤตซับไพร์มสหรัฐอเมริกา ค.ศ.2008 - ปัจจุบัน

วิกฤติซับไพร์มหรือเรียกอีกอย่างว่า “วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์” ตามสื่อบ้านเรา เป็นหายนะทางการเงินครั้งล่าสุดซึ่งเกิดจากสถาบันการเงินของอเมริกันพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการปล่อยเงินกู้จำนวนมหาศาลให้บริษัทและประชาชนที่มีความน่าเชื่อถือน้อยมาก ซึ่งหากเป็นในอดีตบริษัทและประชาชนเหล่านี้ไม่มีทางจะขอกู้ผ่านแน่นอน โดยผู้กู้ต้องยอมจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูงกว่าปกติเพื่อทดแทนที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อมาแบบง่ายๆ นั่นคือจุดเริ่มต้นของวิกฤตินี้อย่างแท้จริง เพราะสถาบันทางการเงินที่ปล่อยสินเชื่อเหล่านั้นประเมินลูกค้าสูงกว่าความเป็นจริงมาก ทั้งๆ ที่ลูกค้าบางคนไม่มีคุณสมบัติพอจะชำระเงินแม้แต่ดอกเบี้ยเลยด้วยซ้ำ และเงินที่กู้ไปส่วนใหญ่ก็มักเข้าไปยังระบบอสังหาริมทรัพย์เสียด้วย เพราะชาวอเมริกันอีกมากยังต้องการที่อยู่อาศัยใหม่ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็สามารถสร้างงานสร้างรายได้เป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย

หายนะที่ตามมาคือบรรดาลูกหนี้ทั้งบริษัทเอกชนและประชาชนเริ่มขาดการชำระเงินคือแก่ทางสถาบันการเงินจนนำไปสู่การขาดสภาพคล่องของธนาคารในที่สุด ธนาคารหลายแห่งล้มไม่เป็นท่าและกลายเป็นคลื่นยักษ์พัดถล่มระบบเศรษฐกิจทั่วทั้งโลก วิกฤติครั้งนี้ทำให้เราได้เห็นว่าการปล่อยสินเชื่อโดยขาดความรอบคอบอาจนำมาสู่หายนะอันโหดร้ายได้

จากวิกฤติทางธุรกิจทั้ง 10 เรื่องที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่ามีข้อผิดพลาดที่คล้ายกันอยู่ประการหนึ่งคือการเก็งกำไรโ้ดยคำนึงถึงแต่กำไรมากกว่าความเสี่ยงที่จะขาดทุน นักลงทุนจึงควรปรับมุมมองในการทำธุรกิจเสียใหม่ โดยมุ่งเน้นวิธีการแบบยั่งยืนมากกว่าที่จะมองแค่ผลลัพธ์ฉาบฉวย เพียงเท่านี้หายนะทางธุรกิจอันดับที่ 11 ก็จะไม่เกิดขึ้นแน่นอน

ออฟไลน์ thaimale2011

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,018
  • Total likes: 71
  • คะแนนพิเศษ: +0/-0
Re: วิกฤตเศรษฐกิจโลก
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กันยายน 02, 2017, 10:54:01 PM »
ขอบคุณมากๆนะครับ  (:55:) (:55:) (:55:) (:55:)

ออฟไลน์ dupbee

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,016
  • Total likes: 1
  • คะแนนพิเศษ: +0/-0
Re: วิกฤตเศรษฐกิจโลก
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2017, 08:47:22 PM »
 (:Lover:) (:Lover:) (:Lover:) (:Lover:) (:Lover:) (:Lover:)

ออฟไลน์ dupbee

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,016
  • Total likes: 1
  • คะแนนพิเศษ: +0/-0
Re: วิกฤตเศรษฐกิจโลก
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2017, 06:12:34 PM »
 (:oop:) (:oop:) (:oop:) (:oop:) (:oop:)

ออนไลน์ Twptsshop

  • ครั้งแรก ที่รู้จักพงษ์ ก็ชอบและถูกชะตาขึ้นมาทันที และเท่าที่เห็นมา พงษ์เป็นคนที่ไม่มีพิษมีภัยกับใคร โชคดีที่ได้รู้จักพงษ์ครับ
  • CHAMPION MEMBER
  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 9,877
  • Total likes: 337
  • คะแนนพิเศษ: +20/-0
Re: วิกฤตเศรษฐกิจโลก
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: มีนาคม 11, 2018, 10:22:35 PM »
ขอบคุณที่แบ่งปันนะครับ
💗💗💗⚘⚘⚘

ออฟไลน์ nongyosi485

  • รักกันต้องรักที่ใจใช่สะตัง
  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,167
  • Total likes: 4
  • คะแนนพิเศษ: +0/-0
  • มีดีทีเปลี่ยนแปลง
Re: วิกฤตเศรษฐกิจโลก
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: เมษายน 11, 2018, 11:01:24 PM »
wow like love kiss

ออฟไลน์ wud

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,166
  • Total likes: 14
  • คะแนนพิเศษ: +7/-0
Re: วิกฤตเศรษฐกิจโลก
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: มกราคม 25, 2020, 04:09:25 PM »
 (:Nice:) (:Nice:) (:Nice:) (:Nice:) (:Nice:) (:Nice:) (:Nice:)

ออฟไลน์ Kawin_x

  • FOUNDER MEMBER
  • *
  • กระทู้: 1,131
  • Total likes: 0
  • คะแนนพิเศษ: +0/-0
  • ทนายขี้เงี่ยน
Re: วิกฤตเศรษฐกิจโลก
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2021, 02:10:38 PM »
ขอบคุณนะครับที่นำเสนอข้อมูลดีๆ  (:Nice:) (:Kiss:)

ออฟไลน์ Ka-Chay.2015

  • ไม่ต้องรู้เรื่องส่วนตัวกันมากมาย .. แค่รู้เรื่องของกายกันและกันก็พอ
  • CHAMPION MEMBER
  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,638
  • Total likes: 16
  • คะแนนพิเศษ: +9/-0
  • เป็นความสุขของกันและกัน
Re: วิกฤตเศรษฐกิจโลก
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: กันยายน 04, 2021, 08:16:12 PM »
สุดยอดครับผม..
สถานะ :

                              เป็นความสุข ของกันและกัน
                  ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องส่วนตัวกันมากมาย 
                   แค่ รู้เรื่องของ "กาย"  กันและกันก็พอ

                                          18 Aug. 2015

 

* Calendar

พฤศจิกายน 2024
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 [22] 23
24 25 26 27 28 29 30