1. สังเกตความรู้สึกของตัวเองโดยอาจจะมีชื่อเรียกความรู้สึกที่เกิดขึ้นเป็นแบบเฉพาะของตัวเอง เช่น “วันนี้รู้สึกฟินมากที่ครูชม”, “เบื่อจังวันนี้อดไปเที่ยวกับเพื่อน”, “เครียดจังต้องอ่านหนังสือสอบเยอะไปหมด”แล้วลองเลือกอารมณ์หนึ่งที่สนใจ เช่น ฟิน แล้วลองสังเกตดูว่าเมื่อไรที่เรามีอารมณ์นี้โดยอาจใช้วิธีจดบันทึกไว้
2. สังเกตอารมณ์ความรู้สึกและที่มาขณะที่เรากำลังรู้สึก มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น และเรากำลังทำอะไรอยู่ เราคิดอะไรในขณะนั้น เช่น “ฉันรู้สึกเศร้า เพราะเพื่อนๆ นัดกันไปกินข้าวแล้วลืมชวนฉัน” เป็นต้น
3. ยอมรับและเข้าใจอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเข้าใจและยอมรับอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ เราก็จะจัดการอารมณ์ตัวเองได้ดี การยอมรับว่ามีความรู้สึกเกิดขึ้น “เป็นเรื่องธรรมดา”
4. เรียนรู้ผลกระทบจากการแสดงอารมณ์คนที่ฝึกควบคุมการแสดงออกของอารมณ์จะสามารถคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น โดยวัยรุ่นที่ฝึกการควบคุมอารมณ์ได้ดีจะเรียนรู้ว่าควรแสดงความรู้สึกที่เกิดขึ้นออกไปในรูปแบบใดโดยที่ไม่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่ดี และจะสามารถมองเห็นผลกระทบข้างหน้าที่จะเกิดขึ้นจากการแสดงอารมณ์ออกไปวิธีจัดการกับอารมณ์ของวัยรุ่น
5. ฝึกจัดการกับอารมณ์การทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นต้องเริ่มจากการยอมรับและเข้าใจความรู้สึก จัดการความรู้สึกของตัวเองได้ก่อน เช่น การระบายความรู้สึกกับคนใกล้ชิด การเบี่ยงเบนความสนใจไปทำสิ่งอื่น การออกกำลังกาย และการเล่นกีฬา
6. เปลี่ยนอารมณ์เป็นเรื่องเชิงบวกวัยรุ่นหลายคนสามารถพัฒนาอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นไปเป็นเรื่องเชิงบวก เช่น แต่งเพลง แต่งกลอน เขียนนิยาย เขียนบล็อก ฯลฯ
ลูกวัยนี้จะมีความคิดเป็นตัวเองมากยิ่งขึ้น ประสบการณ์ของเขาร่วมกับความสนใจเป็นพิเศษในแต่ละด้าน อาจจะถูกต้องก็ได้ พ่อแม่จึงอย่าขัดแย้งลูกมากเกินไปจนเขาเกิดความเบื่อหน่ายในความคิดของเราบ่อยครั้งอาจจะแกล้งทำเป็นไม่รู้เรื่องเพื่อให้เขาสอนเรา ลูกก็จะมีความภูมิใจในตัวเองมากว่าความคิดเห็นของเขามีส่วนถูกต้องบ้างแล้ว และในส่วนความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้องของลูก เราอาจใช้วิธีเติมคำถามลงไปในความเห็นของเขาว่า “ถ้าเป็นเช่นนั้นจะแก้ปัญหาได้อย่างไร” แทนการปฏิเสธหรือโต้แย้งออกไป