collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: มดคันไฟอินวิคต้า ความน่ากลัวที่คาดไม่ถึง  (อ่าน 866 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ look666chub

  • SENIOR MEMBER
  • *
  • กระทู้: 72
  • Total likes: 59
  • คะแนนพิเศษ: +0/-0

"มด" ดูเป็นสัตว์ตัวเล็กที่ไม่มีพิษไม่มีภัย แต่ก็ยังไว้ใจไม่ได้ เพราะมดบางประเภทอาจจะทำให้เราเสียชีวิตจากพิษของมันหรือจากอาการแพ้โดยที่ไม่รู้ตัวเลยก็ได้
มดที่มีพิษร้ายกาจถึงขนาดทำให้มนุษย์เสียชีวิตจากพิษของมันได้นี้คือ มดคันไฟ ซึ่งมีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า Fire ants แต่เจ้า Fire ants ก็ยังแบ่งแยกออกไปได้อีกกว่า 200 ชนิด โชคดีที่มดคันไฟสายพันธุ์ที่มีอยู่ในบ้านเราไม่ได้โหดเท่ามดคันไฟมรณะจากทวีปอเมริกาใต้ ที่ชื่อ Red Imported Fire Ant หรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Solenopsis invicta หรือมดคันไฟอินวิคต้า ล่าสุด ความน่ากลัวของมดทำให้ชาวญี่ปุ่นตื่นตระหนกทีเดียวเมื่อทราบว่าเจ้าตัวร้ายนี้แฝงตัวมากับตู้คอนเทนเนอร์ที่ถูกส่งมาจากจีน ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องรีบทำการตรวจสอบและเข้าทำลายมดสายพันธุ์ต่างถิ่นที่แสนอันตรายนี้
เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมมดคันไฟอินวิคต้ามีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายมดคันไฟบ้านเรา แต่อาจจะมีผิวที่เรียบกว่า สีสดใสกว่า ส่วนความโหด ดิบ เถื่อน ของมดคันไฟอินวิคต้า มาจากนิสัยที่ดุร้ายบวกกับพิษของมัน เพราะเหล็กในของมดชนิดนี้มีพิษสะสมอยู่ เมื่อมันต่อย มันจะฝังเหล็กในลงไปบนตัวของศัตรู ทำให้ผิวไหม้ เป็นตุ่มหนอง และคันอย่างรุนแรง นอกจากนี้ ว่ากันว่า เวลาที่มันต่อสู้กับศัตรู จะใช้วิธีรุมเป็นหมู่คณะ เพราะมันจะอยู่กันเป็นรังขนาดใหญ่ มีประชากรมด 100,000-500,000 ตัว และด้วยพิษที่ร้ายแรงของมันก็มักจะทำให้ศัตรูที่มีขนาดใหญ่กว่ามันหลายเท่า ไม่อาจทนพิษบาดแผลได้ จึงขาดใจตายในที่สุด
ทีนี้มารู้จักกับพิษของมันกันดีกว่า พิษที่มดคันไฟอินวิคต้าปล่อยมากับเหล็กในก็คือ สารแอลคาลอยด์ (Alkaloid) กับโปรตีน ซึ่ง 95 เปอร์เซ็นต์ของพิษมดคันไฟอินวิคต้าเป็นสารพิเพอริดีน (piperidine)ในกลุ่มแอลคาลอยด์ ส่วนที่เหลือเป็นโปรตีน 46 ชนิด คล้ายคลึงกับโปรตีนในพิษของมดชนิดอื่น งู แมงมุม ตัวต่อ และผึ้ง
เมื่อพิษถูกฉีดเข้าไปในตัวของเหยื่อหรือศัตรูแล้ว จะทำให้เกิดตุ่มหนองบริเวณนั้น เนื่องจากไปกระตุ้นเกล็ดเลือดและเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล (neutrophils) ให้ทำงานเพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย หากตุ่มหนองนี้แตกออกก็อาจติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ และการอักเสบขยายกว้างขึ้นได้ นอกจากนี้นักวิจัยยังพบว่าพิษของมดคันไฟอินวิคต้ามีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกด้วย
สำหรับกลุ่มที่มีอาการแพ้พิษแบบรุนแรง เช่น มีผื่นขึ้นทั่วร่างกาย ใบหน้าบวม หายใจติดขัด หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน ความดันต่ำ หมดสติ และอาจถึงขั้นเสียชีวิต เป็นลักษณะอาการแพ้ที่เรียกว่า แอนาฟิแล็กซิส (Anaphylaxis) คือ มีอาการแสดงในหลายระบบของร่างกาย เกิดจากการกระตุ้นผ่านระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้เม็ดเลือดขาว เช่น เบโซฟิล (Basophils) ปล่อยสารเคมีต่างๆ ออกมา จนทำให้มีอาการดังกล่าว ซึ่งต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือ มดคันไฟชนิดนี้จะสามารถแพร่พันธุ์ได้เร็วและจำนวนมาก ซึ่งกองทัพของมันก็พร้อมที่จะทำลายพืชผักทางการเกษตรให้เสียหายได้อย่างคาดไม่ถึงทีเดียว และหากมันลักลอบเข้าประเทศใดประเทศหนึ่ง ก็อาจทำลายความสมดุลของระบบนิเวศของที่นั้นได้

ขอบคุณข้อมูล
เวกัส168
vegus168

ออฟไลน์ wud

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,166
  • Total likes: 14
  • คะแนนพิเศษ: +7/-0
Re: มดคันไฟอินวิคต้า ความน่ากลัวที่คาดไม่ถึง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 25, 2020, 11:55:43 PM »
น่ากลัวกัด (:how ru:) (:how ru:) (:how ru:) (:how ru:) (:how ru:) (:how ru:)

ออฟไลน์ Kawin_x

  • FOUNDER MEMBER
  • *
  • กระทู้: 1,131
  • Total likes: 0
  • คะแนนพิเศษ: +0/-0
  • ทนายขี้เงี่ยน
Re: มดคันไฟอินวิคต้า ความน่ากลัวที่คาดไม่ถึง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2021, 01:22:48 PM »
ขอบคุณสำหรับกระทู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์นะครับ  (:Kiss:) (:Nice:)

ออฟไลน์ Ka-Chay.2015

  • ไม่ต้องรู้เรื่องส่วนตัวกันมากมาย .. แค่รู้เรื่องของกายกันและกันก็พอ
  • CHAMPION MEMBER
  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,638
  • Total likes: 16
  • คะแนนพิเศษ: +9/-0
  • เป็นความสุขของกันและกัน
Re: มดคันไฟอินวิคต้า ความน่ากลัวที่คาดไม่ถึง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 05, 2021, 11:39:49 AM »
ขอบคุณมากครับผมมมมม...
สถานะ :

                              เป็นความสุข ของกันและกัน
                  ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องส่วนตัวกันมากมาย 
                   แค่ รู้เรื่องของ "กาย"  กันและกันก็พอ

                                          18 Aug. 2015

 

* Calendar

พฤศจิกายน 2024
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 [22] 23
24 25 26 27 28 29 30