สุขภาพ : ภาวะร้อนจัดระวัง โรค”อาหารเป็นพิษ-ลมแดด” อุณหภูมิมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นในทุก ๆ ปี จากสถานการณ์ ภาวะโลกร้อน (Global warming) โดยประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึงกว่า 40 องศา ในหลายจังหวัด ความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างหนึ่งซึ่งเป็นผลมาจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น คือ โรคลมแดด (Heat Stroke) ทำให้สามารถเสียชีวิตได้ภายในครึ่งชั่วโมง แต่หากมีการช่วยเหลือบรรเทาอาการได้ทัน ก็สามารถรอดกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติได้ภายใน 5 นาที นอกจากนั้นยังสามารถป้องกันได้หากรู้จักสัญญาณเตือนจากร่างกายและบรรเทาอาการอย่างถูกวิธี
ถ้าร่างกายสามารถระบายความร้อนออกได้จะไม่เป็นปัญหาอะไร แต่หากไม่สามารถระบายได้จะเกิดภาวะ “โรคลมแดด (Heat Stroke)” ทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากสมองเป็นอวัยวะที่ไวต่อความร้อน หากร่างกายได้รับความร้อนส่วนเกินสมองจะตายก่อน และเมื่อสมองตายจะทำให้เกิดการล้มเหลวในการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ และในที่สุดก็จะเสียชีวิตได้
ตามธรรมชาติมนุษย์จะมีกลไกในการระบายความร้อน คือ การทำให้เส้นเลือดบริเวณผิวหนังขยายตัวเพื่อระบายความร้อน และการขับเหงื่อออกมา เพราะเวลาเหงื่อระเหยจะดึงความร้อนออกจากร่างกายไปด้วย แต่หากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ทันหรือดีพอ จะเริ่มมีสัญญาณเตือนของอาการลมแดดเป็นอาการทางสมอง คือ วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ สับสน คิดอะไรไม่ออก กระหายน้ำ จับตัวแล้วร้อนเหมือนจะเป็นไข้ ไม่ควรรอให้อาการชัดเจนจนถึงขั้นมีอาการทางสมองคือพูดไม่รู้เรื่องและหมดสติ เพราะเมื่อถึงขั้นนั้นมักสายเกินไป
ยิ่งช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย.เป็นช่วงที่ร้อนมาก และอาจก่อให้เกิดโรคที่มากับความร้อน โดยเฉพาะอาหารเป็นพิษมักจะมาเป็นอันดับแรก เพราะอาหารจะบูดและเสียง่ายในหน้านี้ ดังนั้น ควรกินอาหารที่ปรุงสุข ดื่มน้ำสะอาดวันละ 10 แก้ว หรือ 2 ลิตร จากเดิมวันละ 8 แก้ว นอกจากนี้ยังมีโรคผิวหนังที่เกิดจากความอับชื้นของเสื้อผ้า โดยเฉพาะในร่มผ้า ซึ่งจะส่งผลให้เกิดเชื้อรา กลาก เกลื้อนด้วย ขณะเดียวกันฝุ่นละอองที่พัดมากับลมนั้นจะทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ เช่น โรคภูมิแพ้ นอกจากนี้ยังมีโรคลมแดด ซึ่งเกิดจากการได้รับความร้อนมากจนเกินไป หรือเกิดภาวะขาดน้ำ
แต่ละโรคจะเกิดในภาวะที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และการอยู่ท่ามกลางแสงแดดนานแค่ไหน แต่ภาวะที่รุนแรงที่สุดและเสี่ยงเสียชีวิตคือโรคลมแดด จะมีอาการเป็นลม ตัวร้อนจัด ปราศจากเหงื่อ บางรายอาจชัก และเสียชีวิตได้ในที่สุด เพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนจัด หรืออาจพบได้ในคนที่แข็งแรง อย่างการออกกำลังที่หักโหมเกินไป รวมไปถึงการฝึกทหารเกณฑ์ก็ต้องระวัง เพราะบางรายอาจเกิดภาวะดังกล่าวได้ สิ่งสำคัญไม่ควรออกแดดจัด หรือออกกำลังกายกลางแจ้งอย่างหักโหมนานเกิน 1-2 ชั่วโมง
หากพบผู้ป่วยให้พาเข้าในที่ร่ม ให้นอนราบและยกเท้าทั้งสองข้างให้สูงเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงที่สมอง ถอดเสื้อผ้าออก ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกคอ รักแร้ เชิงกราน ศีรษะ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่าช่วยระบายความร้อน หรือเทน้ำเย็นราดลงบนตัว เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย
สุขภาพดี : ภาวะร้อนจัดระวัง โรค”อาหารเป็นพิษ-ลมแดด” ดูเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ http://สุขภาพ.cc/