collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: รับออกแบบบ้าน: บ้านหลังเล็ก พลิกดีไซน์นำนิยามชีวิตแบบ “ติดฝ้า”  (อ่าน 147 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ siritidaphon

  • FOUNDER MEMBER
  • *
  • กระทู้: 2,492
  • Total likes: 1007
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
บ้านหลังเล็ก ไต้หวัน เทรนด์การอยู่อาศัยในเมืองที่น่าสนใจในปัจจุบันอย่างหนึ่งคือมีการออกแบบพื้นที่พักอาศัยในแนวตั้งกันมากขึ้น แม้แต่ในเมืองใหญ่อย่างกรุงไทเป ประเทศไต้หวัน การเสาะหาพื้นที่ว่างกลางเมืองสักผืนเพื่อสร้างบ้านนั้น เรียกได้ว่า“แทบเป็นไปไม่ได้” เสียแล้ว คนรุ่นใหม่จึงเริ่มหันมาหาที่อยู่อาศัยในขนาดที่พอดีกับกำลังซื้อของตนเอง แทนการสู้กับราคาที่ดินหรือหาซื้อบ้านหลังใหญ่ในงบประมาณที่สูงเช่นเดียวกับวิศวกรหนุ่มเจ้าของบ้านหลังนี้ ผู้กำลังมองหาบ้านหลังใหม่ให้ตัวเองและภรรยา โดยมีเงื่อนไขว่าบ้านหลังใหม่กับที่ทำงานต้องไม่ไกลกันเกินไปนัก

เมื่อพ้นประตูเข้ามาจะพบกับโถงกลาง โดดเด่นด้วยหน้าต่างกระจกใสสูงจากพื้นจรดเพดานเพื่อนำแสงเข้ามานอกจากนี้นักออกแบบยังทำทางเดินไม้ยกระดับให้มีความสูงเท่ากับระเบียง ใช้เป็นที่นั่งเล่นพร้อมมีลิ้นชักด้านใต้ในตัว

ช่วงเวลากลางวันแสงธรรมชาติจะสาดส่องผ่านบานกระจกเข้าสู่พื้นที่ในบ้านอย่างเต็มที่ ทางเดินไม้ที่ทอดผ่านตลอดแนวยาวของบ้านยังช่วยสร้างเสน่ห์ให้บ้านดูอบอุ่นขึ้น

สำหรับครอบครัวเล็ก ๆ ที่มีเพียงสองสามีภรรยา งานออกแบบได้มุ่งเน้นไปที่ความชอบของทั้งสองคน โดยปรับให้ลงตัวกับความเป็นไปได้และข้อจำกัดที่มีอยู่ ข้อจำกัดที่เห็นได้ชัดคือขนาดพื้นที่ที่มีเพียง 33 ตารางเมตร ประกอบกับมีระยะพื้นถึงฝ้าเพดานในส่วนนั่งเล่นและห้องนอนที่ค่อนข้างสูงราว 3.60 เมตร และพื้นที่ครัวที่สูงถึง 4.50 เมตร ทำให้สัดส่วนในห้องยิ่งดูสูงชะลูดและรู้สึกแคบมากกว่าบ้านทั่วไปทว่าข้อจำกัดที่ยิ่งมาก หลายครั้งก็อาจกลายเป็นจุดสร้างความน่าสนใจให้งานออกแบบได้อย่างไม่น่าเชื่อ!


พื้นที่จากพื้นถึงฝ้าในส่วนครัวมีความสูงถึง 4.50 เมตร จึงเหลือพื้นที่เหนือผนังให้เจ้าของบ้านสามารถขึ้นไปใช้งานเป็นมุมนั่งเล่นด้านบนได้ ม่านทึบสามารถปรับระดับขึ้นลงให้เหมาะสมกับการใช้งาน

การวางผังกับการจัดการพื้นที่ใช้สอยจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญอันดับหนึ่งที่จะช่วยให้เจ้าของบ้านไม่รู้สึกอึดอัดกับบ้านหลังใหม่ และช่วยพลิกพื้นที่ที่มีขนาดเล็กให้กลับมาน่าสนใจ สถาปนิกเริ่มจากลบข้อจำกัดดังกล่าวด้วยการทำลายผนังอันเป็นเส้นแบ่งระหว่างห้องทิ้งเพื่อขยายพื้นที่ใช้สอยส่วนกลางให้มีขนาดใหญ่ขึ้น

หลังกำแพงซึ่งกรุด้วยกระเบื้องสีขาวสะอาดดูเรียบร้อยสบายตาตามความชื่นชอบของเจ้าของบ้าน เป็นส่วนใช้งานที่นำไปสู่ห้องน้ำและครัวไม่ลืมเติมกระจกบานยาวในพื้นที่ที่เหลือจากการขยายทางเดินออกไปที่ริมระเบียง ช่วยให้บ้านไม่อึดอัดจากพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก


นักออกแบบซ่อนลูกเล่นโต๊ะอเนกประสงค์ที่ขยับขึ้นลงพับเก็บได้ไว้ใต้ทางเดินไม้สีอ่อนที่เชื่อมต่อระหว่างส่วนนั่งเล่นและครัวคล้ายต้องการทำลายกำแพงระหว่าพื้นที่สองส่วนให้กลืนเป็น พื้นที่เดียวกัน

จากสภาพห้องเดิม ส่วนครัวคือพื้นที่แรกที่เปิดประตูบ้านเข้ามาเจอ ได้รับการปรับเปลี่ยนใหม่ให้กลายเป็นมุมนั่งเล่นเล็ก ๆ แล้วย้ายเคาน์เตอร์ครัวให้ไปอยู่อีกฝั่งซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่มีระดับต่ำกว่า กั้นสัดส่วนด้วยผนังเตี้ย ๆ ติดกันคือส่วนของห้องน้ำที่ได้รับการปรับเปลี่ยนใหม่เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้กว้างขึ้น โดยมีมุมอ่างอาบน้ำที่สามารถมองออกไปเห็นบรรยากาศภายนอกได้ตามความต้องการของเจ้าของบ้านห้องน้ำและห้องครัวจึงเชื่อมต่อกันแบบคอมแพ็กต์ในสัดส่วนที่ลงตัว

อีกด้านหนึ่งคือส่วนของห้องนอน จากเดิมที่เคยกั้นด้วยผนังทึบถูกแทนที่ด้วยฉากไม้สูงจรดเพดาน เป็นเหมือนการแสดงขอบเขตของพื้นที่แต่ละฟังก์ชัน ระนาบเตียงอยู่ในระดับเดียวกับชานพื้นไม้ริมระเบียง โอบล้อมด้วยตู้เสื้อผ้าบิลท์อินที่มีบานเปิดเรียบเนียนไม่ต่างจากผนังเมื่อผนังทั้งหมดได้รับการลดทอนลงแบบนี้ พื้นที่ใช้สอยในบ้านจึงดูเชื่อมต่อถึงกันเป็นเนื้อเดียว ให้ความรู้สึกกว้างขวางขึ้นไปโดยปริยาย

ผนังรอบเตียงออกแบบให้เป็นตู้เสื้อผ้าบิลท์อินและช่องเก็บของบานตู้สีขาวสะอาดตาตัดกับลายไม้สีอ่อนดูอบอุ่น เช่นเดียวกับภาพรวมของทุกส่วนในบ้าน

ชั้นวางของไม้สีเดียวกับทางเดินไม้ในส่วนของห้องนอน เป็นทั้งชั้นวางของและตัวหยุดสายตา และยังเชื่อมต่องานตกแต่งไม้ขึ้นไปยังฝ้าเพดาน ให้ความรู้สึกลื่นไหลเชื่อมต่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ฉากไม้สูงจรดเพดานปิดบังบางส่วนของพื้นที่นอนไว้ เบื้องหลังแผ่นไม้ลายสวยคือที่นอนระดับเดียวกับชานพื้นไม้นอกระเบียง เพื่อช่วยให้สเปซในบ้านดูโล่งและอยู่สบาย

ส่วนผนังกระจกผืนยาวจากเดิมที่เคยกั้นระหว่างพื้นที่ภายในบ้านกับระเบียงภายนอกได้ถูกขยายให้กินพื้นที่ระเบียงออกไป เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านนอกจากนี้ยังทำทางเดินไม้ตลอดความยาวของห้องเพื่อแก้ปัญหาระดับพื้นที่ไม่เท่ากัน แถมใต้ทางเดินไม้ยกระดับยังแอบมีช่องเก็บของ สามารถใช้พื้นที่ทุกตารางเมตรของบ้านได้อย่างคุ้มค่า มากไปกว่านั้นแผ่นพื้นไม้ทางเดินในส่วนครัวยังสามารถยืดขึ้นลงใช้ประโยชน์เป็นโต๊ะอเนกประสงค์ได้ นอกจากนี้ยังมีลูกเล่นการจัดการพื้นที่เศษเหลืออื่น ๆ อีกหลายส่วนจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของบ้านหลังเล็กหลังนี้ อาทิ ผนังรอบเตียงออกแบบให้กลายเป็นตู้เสื้อผ้า ผนังรอบ ๆ ครัวซ่อนตู้เย็นและตู้เก็บของไว้ และมีช่องเก็บของอีกมากมายที่แฝงอยู่ในผนังและชั้นวางของเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอย


รายละเอียดภาพรวมของครัวประกอบด้วยอ่างล้างมือเล็ก ๆ เตาอบ ช่องเก็บตู้เย็น และช่องเก็บของที่ซ่อนอยู่ในผนังสีขาวด้านหลัง ทั้งหมดเชื่อมถึงกันด้วยทางเดินรูปตัวยู (U) โดยมีโต๊ะอเนกประสงค์ตั้งอยู่ตรงกลาง

ท้ายที่สุดด้วยระยะฝ้าที่สูงเกือบสองเท่าของบ้านทั่วไปนักออกแบบได้มองเห็นข้อดีของส่วนนี้ด้วยการออกแบบฟังก์ชันสนุก ๆ โดยเพิ่มช่องแบบกล่องลึกเข้าไปเหนือผนังส่วนห้องครัวคล้าย “ห้องขนาดจิ๋ว” เชื่อมชั้นล่างและบนด้วยบันไดเหล็ก เป็นการขยายพื้นที่ใช้งานในแนวตั้งโดยสามารถใช้พื้นที่ส่วนนี้เป็นที่เก็บของ หรือแม้แต่นั่งเล่นนอนเล่นได้ตามอัธยาศัย

บันไดเหล็กสีดำที่พาดไว้บนผนังห้องครัวสีขาวสะอาดตา นำไปสู่ช่องใต้เพดานเล็ก ๆ ที่นักออกแบบตั้งใจทำเผื่อไว้ให้เจ้าของขึ้นไปนั่งเล่นหรือใช้เก็บของได้ เป็นลูกเล่นการออกแบบที่ใช้พื้นที่ทุกตารางนิ้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เรียกได้ว่าบ้านเล็กหลังนี้เต็มไปด้วยรายละเอียดการออกแบบเพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ทุกตารางนิ้วของบ้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด พื้นที่อันจำกัดจึงเป็นเหมือนเงื่อนไขนำไปสู่แนวคิดการออกแบบที่ท้าทายวัฒนธรรมการใช้ชีวิตติดพื้นแบบชาวตะวันออก พร้อมนำเสนอการใช้ชีวิตแบบ“ติดฝ้า” ด้วย และอาจเป็นเหตุผลให้บ้านหลังนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แสดงให้เห็นชัดถึงกระบวนการคิดที่ลึกซึ้งจนได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ เพราะไม่ได้เป็นเพียงบ้านที่สวย แต่คือที่อยู่อาศัยที่สามารถให้ความสุขได้อย่างเต็มเปี่ยม


รับออกแบบบ้าน: บ้านหลังเล็ก พลิกดีไซน์นำนิยามชีวิตแบบ “ติดฝ้า” อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://luxuryhomesdesigns.com/

 

* Calendar

พฤศจิกายน 2024
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 [22] 23
24 25 26 27 28 29 30