หลายคนที่อาจจะเกิดภาวะการเจ็บป่วย ถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัด แน่นอนว่า หลังจากการผ่าตัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว จำเป็นที่จะต้องพักฟื้นร่างกาย เพื่อให้แผลที่ได้จากการผ่าตัดนั้น ฟื้นตัวเร็วขึ้น และลดอาการแทรกซ้อนต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งสิ่งที่จะต้องใส่ใจให้มากเป็นพิเศษนั่นก็คือ การรับประทานอาหาร เพราะอาหารบางชนิดสามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น แถมยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ แต่ในทางกลับกัน อาหารบางอย่างเมื่อรับประทานไปแล้ว อาจจะทำให้เกิดการอักเสบหรือส่งผลเสียต่อแผลผ่าตัดได้
ดังนั้น อาหารที่ผู้ป่วยหลังผ่าตัดควรจะรับประทานก็ต้องได้รับการดูแลในเรื่องอาหารการกินมากกว่าคนทั่วไป โดยปกติแล้ว ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด การดูแลทั้งก่อนและหลังผ่าตัดถือเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะจะช่วยให้การรักษาประสบผลสำเร็จมากขึ้น โดยก่อนผ่าตัดควรงดรับประทานอาหารและน้ำก่อนผ่าตัด 6 – 8 ชม. เพื่อป้องกันการสำลักอาหารระหว่างไม่รู้สึกตัว ทำความสะอาดร่างกายและต้องพักผ่อนให้เพียงพอ
โดยหลังจากการผ่าตัดส่วนใหญ่ ควรจะต้องรับประทานอาหารจำพวกโปรตีน เนื่องจากมีบทบาทต่อร่างกาย คือ สร้างเสริมและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ การขาดโปรตีนทำให้การกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ลดลงในภาวะที่ร่างกายเกิดบาดแผลหรือแผลผ่าตัด ร่างกายมีความต้องการโปรตีนเพิ่มขึ้นกว่าในภาวะปกติ แหล่งโปรตีนที่สำคัญประกอบไปด้วยกรดอะมิโนจากแหล่งอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ นม ชีส โยเกิร์ต ถั่วลิสง พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น แต่นอกจากโปรตีนแล้วมีอะไรบ้างที่ผู้ป่วยหลังผ่าตัดควรจะรับประทาน วันนี้ทางเรามีเคล็ดลับการรับประทานอาหารของผู้ป่วยหลังผ่าตัดมาฝากกัน เพื่อเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้ฟื้นตัวเร็วมากขึ้น และยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดด้วย
สำหรับอาหารที่ส่งผลดีต่อร่างกายของผู้ป่วยหลังผ่าตัด สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงนั่นก็คือ โปรตีน เช่นเนื้อไก่ เนื้อปลา ไข่ นม โยเกิร์ต ถั่วนานาชนิด โปรตีนจะช่วยซ่อมแซมส่วนที่สีกหรอของร่างกาย โดยการรับประทานโปรตีน จะช่วยซ่อมแซมเซลล์ต่างๆในร่างกายและช่วยให้เนื้อเยื่อผสานกันได้ง่าย ทำให้แผลหายเร็ว เมื่อแผลหายไวโอกาสในการติดเชื้อจากแผลก็น้อยลงไปด้วย รวมไปถึง วิตามินเอ เช่น เช่นไข่ นม ตับ ผักใบเขียว และผลไม้มีสีเหลือง ส้ม แดง และเขียวเข้ม มะละกอสุก มะเขือเทศ แครอท
ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อ แผลผสานกันดีช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นและยังกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคได้อีก และอาหารที่มีวิตามินซี ที่พบได้มากในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวทั้งหลาย ซึ่งดีต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยป้องกันการติดเชื้อ ช่วยสมานแผลโดยทำหน้าที่สร้างผนังของเซลล์ ทำให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรงขึ้น นอกจากนี้ วิตามินซียังมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนของผิวหนัง ช่วยเสริมความแข็งแรงให้เนื้อเยื่อ
กล้ามเนื้อและกระดูกได้ ต่อมาคือ อาหารประเภทเหล็ก พบได้มากใน ปลา เป็ด ไก่ ตับ ม้าม อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ไข่แดง อาหารเช้าซีเรียล และผักใบเขียว เพราะธาตุเหล็กเป็นส่วนสำคัญในเม็ดเลือดแดง ที่คอยส่งออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณบาดแผล เมื่อบริเวณแผลได้รับออกซิเจนและสารอาหารอื่น ๆ อย่างครบถ้วน ก็จะทำให้แผลของเราสมานติดกันได้ง่ายขึ้นทำให้แผลของเราหายเร็วขึ้น
อย่างไรก็ตาม หลังจากการผ่าตัด ควรหลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ และอาหารประเภทหมักดอง เพราะเป็นอาหารที่ส่งผลร้ายต่อร่างกาย และอาจทำให้ติดเชื้อ เกิดอาการแทรกซ้อนได้อีกด้วย รวมถึงควรดูแลตัวเองด้วยการดื่มน้ำให้มากๆ เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบหลักของเลือด ซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญที่สุดในการลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ ไปซ่อมแซมบาดแผลและส่วนที่สึกหรอภายในร่างกาย ควบคู่ไปกับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ เพื่อเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้กับบาดแผลอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะเป็นหนทางในการฟื้นฟูร่างกายให้กับคืนสู่สภาพปกติได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้น ในเรื่องของอาหารการกิน จึงมีความสำคัญสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด ถ้าอยากให้ร่างกายฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประดยชน์และดีต่อร่างกายในขณะนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การดูแลตัวเองด้วยการเลือกรับประทานอาหารใให้ครบทั้ง 5 หมู่ และงดทำกิจกรรมที่อาจจะทำให้เกิดการอักเสบ เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อ และอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ อยากให้ทุกคนดูแลตัวเองด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อที่จะได้สุขภาพร่างกายที่ดี เพราะการมีสุขภาพดีนั้น สามารถเริ่มได้จากการเราใส่ใจในเรื่องของการรับประทานอาหาร และต้องรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายของเราแข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
บริการด้านอาหาร: อาหารผู้ป่วยหลังการผ่าตัด อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/catering-service/