collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: โรคมะเร็งถุงน้ำดี  (อ่าน 133 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ siritidaphon

  • FOUNDER MEMBER
  • *
  • กระทู้: 2,492
  • Total likes: 1007
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
โรคมะเร็งถุงน้ำดี
« เมื่อ: ธันวาคม 24, 2023, 12:28:33 AM »
ฃมะเร็งถุงน้ำดี (Gallbladder Cancer) เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นตรงถุงน้ำดีใต้ตับซึ่งอยู่บริเวณชายโครงด้านขวา โดยถุงน้ำดีมีหน้าที่ผลิตสารที่ช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน มะเร็งชนิดนี้พบได้ค่อนข้างยากผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บช่วงท้องด้านขวา โดยจะแสดงอาการป่วยเมื่อเป็นมะเร็งได้สักระยะหนึ่งแล้ว


อาการของมะเร็งถุงน้ำดี

ในช่วงแรกอาการของมะเร็งถุงน้ำดีนั้นจะยังไม่แสดงออกมาจนกว่ามะเร็งจะแพร่กระจายลุกลาม ซึ่งหากตรวจพบได้เร็วจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โดยอาการที่อาจพบในผู้ป่วยโรคมะเร็งถุงน้ำดี ได้แก่

    ปวดท้องด้านขวามากกว่าปกติ มีก้อนเนื้อในช่องท้องข้างขวา
    ช่องท้องบวม ท้องอืด
    ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด
    คลื่นไส้ อาเจียน
    เป็นไข้คันตามผิวหนัง
    ดีซ่าน ซึ่งทำให้มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
    ปัสสาวะมีสีเข้ม และอุจจาระเปลี่ยนเป็นสีอ่อน

สาเหตุของมะเร็งถุงน้ำดี

มะเร็งเกิดจากดีเอ็นเอของเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงผิดปกติจนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ส่วนสาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งถุงน้ำดีนั้นยังไม่แน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งชนิดนี้ คือ

    สูบบุหรี่
    มีปัญหาอื่น ๆ เกี่ยวกับถุงน้ำดีอยู่ก่อนแล้ว เช่น ลักษณะของผนังถุงน้ำดีเปลี่ยนแปลงไป มีติ่งเนื้อขนาดใหญ่บริเวณถุงน้ำดี เป็นต้น
    มีอายุ 70 ปีขึ้นไป
    มีประวัติบุคคลในครอบครัวเคยป่วยเป็นมะเร็งถุงน้ำดี
    มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
    เป็นเพศหญิง เพราะฮอร์โมนเพศหญิงอาจมีส่วนทำให้เพิ่มการหลั่งคอเลสเตอรอลสะสมในถุงน้ำดีเป็นเวลานาน
    อยู่ในเขตอุตสาหกรรม หรือบริเวณที่มีมลพิษ

การวินิจฉัยมะเร็งถุงน้ำดี

ในการวินิจฉัยโรคมะเร็งถุงน้ำดีนั้น แพทย์จะซักถามเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ และประวัติสุขภาพของผู้ป่วย รวมทั้งอาจตรวจด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

    การตรวจร่างกาย แพทย์อาจตรวจหาสาเหตุของอาการป่วย เช่น อาการปวดท้อง อาการดีซ่าน เป็นต้น
    การตรวจประวัติทางการแพทย์ หากครอบครัวของผู้ป่วยเคยเป็นมะเร็งถุงน้ำดีมาก่อน ผู้ป่วยอาจอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งชนิดนี้ได้เช่นกัน
    การตรวจเลือด แพทย์จะนำตัวอย่างเลือดไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ค่าการทำงานของตับ เป็นต้น
    การอัลตราซาวด์ เป็นการใช้คลื่นเสียงสะท้อนเพื่อสร้างภาพและตรวจหาก้อนเนื้อมะเร็ง
    การถ่ายภาพทางรังสี เป็นการฉายภาพตรวจภายใน โดยแพทย์อาจใช้เครื่องซีทีสแกน (CT Scan) ตรวจตำแหน่งที่มีเซลล์มะเร็ง หรือให้ทราบถึงขนาดของก้อนมะเร็งและการแพร่กระจายของมะเร็ง เพื่อให้สามารถประเมินการรักษาได้อย่างเหมาะสมต่อไป
    การตรวจเอ็มอาร์ไอสแกน (MRI Scan) คล้ายกับการอัลตราซาวด์และซีทีสแกน แต่เป็นการสร้างภาพเนื้อเยื่อภายในร่างกายจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งอาจมีประโยชน์ในการตรวจหาเซลล์มะเร็งถุงน้ำดีอย่างละเอียด
    การส่องกล้อง เป็นการผ่าตัดขนาดเล็กแล้วนำกล้องสอดเข้าไปตรงช่องท้อง ใช้เพื่อตรวจหามะเร็งหรือผ่าตัดนำตัวอย่างเนื้อเยื่อมาตรวจหาเซลล์มะเร็ง

อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยอาจทำได้ต่อเมื่อผู้ป่วยเกิดอาการหรือป่วยเป็นมะเร็งได้สักระยะหนึ่งแล้วเท่านั้น ซึ่งผู้ป่วยบางรายก็อาจมีการแพร่กระจายของเซลล์เนื้อร้ายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ ได้เช่นกัน

ทั้งนี้ แพทย์จะแบ่งระยะมะเร็งตามลักษณะการลุกลามของเซลล์มะเร็งถุงน้ำดี ดังนี้

ระยะที่ 1 มะเร็งจะอยู่ภายในถุงน้ำดี ยังไม่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น
ระยะที่ 2 มะเร็งจะค่อย ๆ ลุกลามไปยังผนังชั้นนอกของถุงน้ำดี แต่ยังไม่ลุกลามไปที่ตับ
ระยะที่ 3 มะเร็งจะลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงส่วนอื่น ๆ เช่น ตับ ลำไส้เล็ก ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น
ระยะที่ 4 เกิดก้อนเนื้องอกขนาดใหญ่ และมะเร็งลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ

การรักษามะเร็งถุงน้ำดี

การรักษาสามารถทำได้หลายวิธี หากเป็นมะเร็งระยะแรกอาจสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งออกไปได้หมด ซึ่งการรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งและสภาวะของผู้ป่วยเป็นหลัก

    การผ่าตัด มักใช้เพื่อรักษามะเร็งระยะแรก หากเซลล์มะเร็งขยายไปนอกถุงน้ำดีและบริเวณรอบ ๆ ตับ แพทย์อาจผ่าตัดนำถุงน้ำดีรวมทั้งตับและท่อน้ำดีบางส่วนที่เป็นมะเร็งออกไป โดยหลังผ่าตัดแพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับการฉายรังสีและทำเคมีบำบัดร่วมด้วย
    การฉายรังสีบำบัด ในปัจจุบันการฉายรังสีอาจช่วยรักษาเซลล์มะเร็งได้อย่างแม่นยำ ลดอาการข้างเคียงต่าง ๆ และทำลายเซลล์มะเร็งไม่ให้กลับมาอีกได้ ซึ่งอาจทำควบคู่กับการผ่าตัดด้วยก็ได้
    การใช้ยาเคมีบำบัด ส่วนมากจะใช้รักษามะเร็งขั้นรุนแรง อย่างมะเร็งที่แพร่กระจายสู่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
    การรักษาแบบประคับประคองอาการ ใช้เพื่อควบคุมและบรรเทาอาการปวดหรืออาการป่วยอื่น ๆ ที่เกิดจากโรคมะเร็ง

หลังการรักษาผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เป็นประจำ เพื่อติดตามผลการรักษาให้แน่ใจว่าเซลล์มะเร็งนั้นหายไปอย่างสมบูรณ์แล้ว ซึ่งแพทย์จะตรวจร่างกายหรืออาจทำซีทีสแกนทุก ๆ 6 เดือน โดยผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการข้างเคียงจากการรักษา จึงควรไปพบแพทย์เพื่อดูแลอาการอย่างถูกต้อง

ภาวะแทรกซ้อนของมะเร็งถุงน้ำดี

ผู้ป่วยมะเร็งถุงน้ำดีอาจเกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ เนื่องจากเซลล์มะเร็งชนิดนี้มีแนวโน้มแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว โดยภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากมะเร็งถุงน้ำดี ได้แก่

    หากเซลล์มะเร็งเกิดการอุดตันที่ท่อน้ำดี อาจทำให้เกิดอาการดีซ่านหรือภาวะตัวเหลืองตาเหลือง และอาจมีอาการป่วยอื่น ๆ ตามมาได้
    อาจกลับมาเป็นมะเร็งถุงน้ำดีซ้ำอีกครั้งหลังการรักษา โดยอาจเป็นที่ถุงน้ำดี หรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย

การป้องกันมะเร็งถุงน้ำดี

โรคมะเร็งถุงน้ำดียังไม่มีวิธีการป้องกันที่แน่ชัด แต่อาจลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดนี้โดยดูแลตนเองให้มีสุขภาพดี และปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้

    ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
    รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารจำพวกธัญพืช ผัก และผลไม้
    หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีควันบุหรี่


โรคมะเร็งถุงน้ำดี อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/

 

* Calendar

พฤศจิกายน 2024
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 [21] 22 23
24 25 26 27 28 29 30