{flower3} โรคร้ายรุมเร้า
เมลาโทนินที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่เรานอนหลับก็ถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระหรือแอนตี้ออกซิแดนซ์ที่ช่วยยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้ และช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วย แต่ถ้าเราเปิดไฟ แสงไฟก็จะไปยับยั้งการผลิตเมลาโทนินจนบั่นทอนระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งอีกต่างหาก อย่างที่มีงานวิจัยในต่างประเทศพบว่า คนที่เปิดไฟนอนมีความเสี่ยงโรคมะเร็งบางชนิดสูงกว่าคนที่ปิดไฟนอน
{flower3} เสี่ยงโรคซึมเศร้า
เรื่องนี้ก็เกี่ยวกับเมลาโทนินเช่นกัน เพราะถ้าระบบเมลาโทนินถูกรบกวน จะทำให้เราอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า เกิดความเครียดได้ง่าย และเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าที่จะตามมา แต่ถ้าเราปิดไฟนอน สารเมลาโทนินที่ผลิตออกมาจะทำให้เรานอนหลับสนิท พักผ่อนได้เต็มที่ แล้วความเครียดอันเป็นบ่อเกิดของโรคซึมเศร้าก็จะลดน้อยลงตามไปด้วย
{flower3} เร่งอาการสายตาสั้น
การศึกษาของ University of Pennsylvania Medical Center และ The Children's Hospital
of Philadelphia พบว่า เด็กที่เริ่มเปิดไฟนอนตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 2 ขวบมากถึงร้อยละ 55 มีอาการสายตาสั้น ส่วนเด็กที่ปิดไฟนอนมีอาการสายตาสั้นเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น
นั่นก็เพราะเด็กวัยนี้มีพัฒนาการของดวงตาอย่างรวดเร็ว แม้จะมีแสงเพียงเล็กน้อยก็สามารถเล็ดลอดผ่านเข้าไปในดวงตาของเด็กที่กำลังหลับได้ ทำให้เด็กมีปัญหาสายตาสั้น ดังนั้นจึงต้องระวังให้มากโดยเฉพาะในเด็กทารก
อย่างไรก็ดี แสงไฟที่ว่านี้ไม่ได้หมายถึงแสงไฟจากหลอดไฟหรือโคมไฟเท่านั้น แต่ยังรวมถึงแสงไฟจากหน้าจอโทรทัศน์ที่บางคนชอบเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้ตอนกลางคืน รวมทั้งแสงไฟจากหน้าจอสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตด้วยเช่นกัน ดังนั้นการปิดไฟนอนย่อมดีกว่าเห็น ๆ เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ แถมยังมีเงินเหลือ เพราะไม่ต้องจ่ายค่าไฟที่เปิดทิ้งไว้หลายชั่วโมงอีกด้วย