เรื่องของน้ำหนักมักเป็นหัวข้อที่ไม่ว่าจะผู้หญิงผู้ชาย หรืออยู่ในช่วงอายุไหนๆ ก็มักจะแลกเปลี่ยนพูดคุยกันอยู่ตลอด เพราะแต่ละคนก็มีความกังวลแตกต่างกัน บางคนอ้วนเกินไปอยากลดน้ำหนัก แต่ก็มีบางคนที่ผอมเกินไปจนอยากจะเพิ่มน้ำหนักเช่นเดียวกัน แต่ละคนเลยมักจะแบ่งปันสูตรเพิ่ม หรือลดน้ำหนักด้วยกันอยู่เรื่อยๆ แต่หากเราลองทำตามแล้วได้ผลก็จริง แต่น้ำหนักของร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงมากเกินไปในช่วงระยะเวลาสั้นๆ จะส่งผลกระทบอะไรต่อร่างกายบ้างหรือไม่
1. ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism)
ฮอร์โมนไทรอยด์เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้มีการเผาผลาญ และใช้พลังงานภายในร่างกาย หากระดับของฮอร์โมนดังกล่าวลดลง จะส่งผลให้คุณน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ จากการใช้พลังงานที่ลดลง รวมถึงอาการอื่นๆ เช่น ผิวแห้ง ทนต่ออากาศหนาวได้ลดลง เหนื่อยง่าย ท้องผูก และเกิดภาวะซึมเศร้าเป็นต้น ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยดูอาการและตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือด และรักษาโดยการให้ฮอร์โมนทดแทน
2. ภาวะซึมเศร้า (Depression)
ภาวะซึมเศร้า เป็นอาการที่มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ซึ่งมักทำให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หรือโรคอ้วนได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป โดยผู้ป่วยมักจะไม่อยากทำกิจกรรมใดๆ รวมถึงการออกกำลังกาย การทานอาหารที่มีประโยชน์ และผู้ป่วยจะมีฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น ที่ทำให้มีการสะสมของไขมันที่หน้าท้องเพิ่มขึ้นจึงเกิดเป็นโรคอ้วนตามมาได้
3. อาการนอนไม่หลับ (Insomnia)
ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ หรือนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง จะเสี่ยงต่อความอ้วนได้ เพราะเมื่อระยะเวลานอนน้อยลง ร่างกายจะกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล และฮอร์โมนอินซูลินเพิ่มขึ้น ฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิด จะกระตุ้นให้ร่างกายอยากทานอาหารโดยเฉพาะน้ำตาลและไขมัน เราจึงควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ โดยเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือ 8 ชั่วโมง
สุขภาพ : น้ำหนักตัวเพิ่มมีสาเหตุ อย่านิ่งนอนใจ ดูเพิ่มเติมที่นี่ http://สุขภาพ.cc/