collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ  (อ่าน 10355 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #100 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:47:22 PM »
การเคหะฯเปิดตัวทาวน์โฮมภูเก็ตราคาสุดเร้าใจ 1.59 ล้านบาท

นางณฐมน โชติธรรมโม รองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและขายการเคหะแห่งชาติ เปิดเผยว่า การเคหะแห่งชาติได้จัดทำโครงการเคหะชุมชนและบริการชุมชนจังหวัดภูเก็ต 2 ซึ่งเป็นโครงการใหม่เพื่อชาวภูเก็ต ลักษณะอาคารเป็นทาวน์โฮม 2 ชั้น ขนาดเนื้อที่แปลงมาตรฐาน 18.50 ตารางวา ตั้งอยู่ริมถนนสายบ้านป่าครองชีพ-บ้านแหลมทราย ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต กำหนดราคาขายเงินสด 1,590,000 บาท


สำหรับโครงการดังกล่าว เป็นทาวน์โฮม 2 ชั้น 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ เนื้อที่ประมาณ 18.5 ตารางวา การเคหะฯ เปิดขายระหว่างวันที่ 8-15 สิงหาคม 2560 ตั้งแต่เวลา 08.30 -18.00 น. ณ สำนักงานเคหะชุมชนภูเก็ตถนนเทพกระษัตรี ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลางโดยทำการเปิดขายเปิดจองทุกวันไม่มีวันหยุดราชการ

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #101 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:47:46 PM »
เอกชนอีสานเร่งฟื้นฟูกิจการหลังอุทกภัยใหญ่ จี้รัฐบริหารจัดการน้ำ-คุมเข้มผังเมือง

เอกชนอีสานเร่งฟื้นฟูกิจการหลังอุทกภัยใหญ่เริ่มคลี่คลาย วอนรัฐบาลทำจริงจังเรื่องบริหารจัดการน้ำ วางผังเมืองเข้ม ขณะที่การช่วยเหลือด้านการเงินต้องประเมินจากข้อเท็จจริงมากกว่าใช้หลักเกณฑ์ปกติ ด้านร้านค้ายังไม่กล้าสต๊อกของ หวั่นน้ำท่วมรอบใหม่

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)รายงานสถานการณ์ฝนตกหนักต่อเนื่องหลายพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค.-3 ส.ค. 2560 ทำให้เกิดอุทกภัยและน้ำไหลหลาก 44 จังหวัด รวม 258 อำเภอ 1,167 ตำบล 8,198 หมู่บ้าน 43 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 385,824 ครัวเรือน 1,218,003 คน ผู้เสียชีวิต 23 ราย สูญหาย 2 คน สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 34 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 10 จังหวัด เป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด และภาคกลาง 1 จังหวัด แต่ยังต้องจับตาพายุฝนรอบใหม่ด้วย

ผลกระทบไม่ต่ำหมื่นล้าน

นายมงคล ตันสุวรรณ ประธานหอการค้ากลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (มุกดาหาร สกลนคร นครพนม) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ประเมินความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้คาดว่าไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ผู้ประกอบการทั้งโรงแรม ที่พัก ท่องเที่ยว และเกษตรกร ประชาชน สำหรับเกษตรกรที่ทำประกันภัยไว้จะได้รับค่าชดเชยไร่ละ 1,260 บาท รวมถึงการจ้างรายวัน เมื่อธุรกิจถูกชัตดาวน์ พนักงานแทบไม่ได้ทำอะไร


ทั้งนี้มองว่าเบื้องต้นเอกชนต้องฟื้นฟูตัวเอง ซึ่งจะฟื้นฟูได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐและธนาคาร อาทิ การปล่อยกู้เพิ่มเติม การกำหนดวงเงินให้ครอบคลุมความเสียหาย และการยืดเวลาชำระหนี้ให้ยาวขึ้น เพราะภาคอีสานปัจจุบันเศรษฐกิจภาพรวมไม่โตมาก แม้ว่าจีดีพีภาพรวมประเทศจะอยู่ที่ 3.2% ขณะที่ภาคอีสานไม่ถึง แต่เราพออยู่ได้ก็มาเกิดน้ำท่วมซ้ำเติม

“ต้องขอความเห็นใจเรื่องการให้วงเงินที่เหมาะสมในการฟื้นฟู บางธนาคารให้รายละ 5 หมื่นบาท อาจเหมาะกับรายย่อย ๆ แต่สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ความเสียหายไม่น้อยกว่า 5-10 ล้านบาท ต้องประเมินจากข้อเท็จจริงมากกว่าใช้หลักเกณฑ์ปกติ”

นายมงคลกล่าวอีกว่า ภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วม รัฐบาลต้องคิดจริงจังเรื่องการบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะเรื่องผังเมืองต้องยกให้เป็นกระทรวงได้แล้ว เพราะเป็นเรื่องสำคัญมากต่อการลงทุน บ้านเราลูบหน้าปะจมูก เช่น การตั้งห้างค้าปลีกที่ต้องอยู่ห่างเมืองไม่ต่ำกว่า 10 กิโลเมตร แต่เปิดช่องให้ทำประชามติ ซึ่งที่ผ่านมาก็ผ่านทุกห้าง แล้วการเข้ามาอยู่ใจกลางเมืองเป็นการเข้ามาทำลายนิเวศธุรกิจ ทำให้รายย่อยต่าง ๆ อยู่ไม่ได้ รวมถึงการก่อสร้างถมที่ยกสูงไปทับแก้มลิงธรรมชาติ และแก้ปัญหาด้วยการทำทางระบายน้ำซึ่งแออัด ทำให้เกิดน้ำท่วมซ้ำซากในภาคต่าง ๆ หากเป็นอย่างนี้ระยะยาวประเทศไทยแย่แน่นอน

อีสานล่าง 2 ชะลอขนส่งสินค้า

ด้านนายวิทยา วิรารัตน์ ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 2 (อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดทางภาคอีสาน ขณะนี้กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 2 ยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก มีเพียงพื้นที่การเกษตรของอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้รับความเสียหายประมาณ 1 พันไร่ ซึ่งขณะนี้กำลังเตรียมรับมือมวลน้ำจากสกลนคร โดยเฉพาะภาคการค้าตอนนี้ร้านค้าส่วนใหญ่ไม่กล้าสต๊อกสินค้า ทำให้การขนส่งสินค้าชะลอตัว เพราะกังวลว่ามวลน้ำจะไหลบ่าเข้ามาในพื้นที่ แต่คาดว่าหากมวลน้ำผ่านไปแล้ว ทุกอย่างจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ขณะที่มาตรการฟื้นฟูเยียวยาหลังน้ำลด จะต้องดูว่าได้รับความเสียหายมากน้อยแค่ไหน เบื้องต้นหากร้านค้าใดได้รับผลกระทบ สินค้าเสียหาย ทางหอการค้าได้ติดต่อซัพพลายเออร์ เพื่อขอเปลี่ยนหรือเคลมสินค้า หากร้านค้าที่เสียหายมาก อาจจะช่วยเจรจากับธนาคารให้ยืดระยะเวลาการชำระหนี้ หรืองดดอกเบี้ย 1-2 เดือน

“มองว่าแนวโน้มเศรษฐกิจภาคอีสานตอนล่าง 2 นั้น ในไตรมาส 3 ดีกว่าไตรมาส 2 ที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นช่วงสิ้นปีงบประมาณ หน่วยราชการต้องรีบใช้เงิน ทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ มีการซื้อขาย ส่งผลให้เกิดเงินสะพัดในตลาด ขณะเดียวกันกลุ่มหอการค้าพยายามจะจัดอีเวนต์เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อและเปิดตลาดใหม่ ๆ โดยนำสินค้าจากนักธุรกิจ เอสเอ็มอี สินค้าโอท็อประดับ 5 ดาว มาเปิดตลาดในกลุ่มจังหวัด รวมถึงนำนักธุรกิจที่แข็งแรงและเติบโตไปจัดอีเวนต์ในประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย” นายวิทยากล่า

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #102 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:48:15 PM »
เศรษฐกิจ3ภาคไตรมาส2ซบหดตัว น้ำท่วมอีสานสูญหมื่นล้าน-งบกลุ่มจว.เหนือเบิกจ่าย8.8%

แบงก์ชาติ 3 ภาคเผยภาวะเศรษฐกิจการเงินไตรมาส 2/2560 ธปท.อีสานห่วงน้ำท่วมหนักจากพายุเซินกา กระทบเศรษฐกิจอีสาน นาข้าว-ปศุสัตว์เสียหายรวมกว่า 7,000-10,000 ล้านบาท ด้าน ธปท.ใต้เผยการบริโภคชะลอ การลงทุนภาคเอกชนทรงตัว ด้านแบงก์ชาติภาคเหนือระบุเศรษฐกิจยังซึม ชี้งบฯกลุ่มจังหวัด 1.5 หมื่นล้าน เบิกจ่ายได้เพียง 8.8% ส่งผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ด้านยอดโอนอสังหาฯซบเซา

เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 60 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานภาคใต้ สำนักงานภาคเหนือ เปิดแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจและการเงินของแต่ละภูมิภาคในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2560

ธปท.อีสานห่วงน้ำท่วมฉุด ศก.

นายสมชาย เลิศลาภวศิน ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน จากการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่ปรับดีขึ้น ตามการขยายตัวของรายได้เกษตรกร รายได้ภาคบริการด้านการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับดีขึ้น นอกจากนี้การผลิตภาคอุตสาหกรรม และภาคการค้าขยายตัวดี ส่วนการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง

ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐแผ่วลง ทั้งนี้ เงินฝากคงค้างของสถาบันการเงินชะลอลง ส่วนสินเชื่อทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงจากไตรมาสก่อน ตามราคาอาหารสดและน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนอัตราการว่างงานปรับลดลง จากการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ภาคการเกษตร

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจอีสานไตรมาส 3 ปัจจัยที่ส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจอีสาน คือ มาตรการกระตุ้นของภาครัฐที่จะมีเม็ดเงินไหลเข้าภาคอีสานจำนวนมาก ทั้งโครงการสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศของกลุ่มจังหวัด โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ โครงการหมู่บ้านละ 2 แสนบาท ซึ่งต้องดูถึงการเบิกจ่ายจะล่าช้าหรือไม่

ขณะเดียวกันยังมีปัจจัยบวกคือการค้าชายแดนของภาคอีสานขยายตัวดีต่อเนื่อง และที่สำคัญคือการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ เช่น การสร้างรถไฟทางคู่เข้าในภาคอีสาน จะกระตุ้นให้ภาคเอกชนเกิดการลงทุนตามพื้นที่ของโครงการด้วย


อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่น่าห่วงคือผลกระทบต่อภาคเกษตร หลังพื้นที่เกษตร 19 จังหวัดภาคอีสานถูกน้ำท่วมหนัก ขณะเดียวกันยอดสั่งซื้อยางพาราจากประเทศจีนมีการชะลอตัวลง เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจอีสานด้วยเช่นกัน

นอกจากนั้นยังมีการหยิบยกปัญหาน้ำท่วมหนักจากอิทธิพลพายุเซินกา ทำให้ฝนตกหนักต่อเนื่องและเกิดน้ำท่วมขังหนักที่จังหวัดสกลนคร และขยายตัวครอบคลุมไปเกือบทุกจังหวัดในภาคอีสาน กระทบภาคเกษตรกรรม นาข้าวถูกน้ำท่วมถึง 2-3 ล้านไร่ หรือร้อยละ 12 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมดในอีสาน

ขณะที่ภาคปศุสัตว์ก็เสียหายหนักเช่นกัน ประเมินความเสียหายเฉพาะภาคเกษตรมีมูลค่ากว่า 7,000-10,000 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับระยะเวลานาข้าวถูกน้ำท่วม และการพร่องน้ำออกจากพื้นที่ ขณะที่ความเสียหายต่อทรัพย์สิน บ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วม ยังไม่สามารถประเมินได้ ซึ่งผลกระทบจากน้ำท่วมนาข้าว ปศุสัตว์ ใน 19 จังหวัดภาคอีสาน น่าจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจภาคอีสานในระยะต่อไปด้วย



ภาคใต้อุปโภคบริโภคชะลอ

นางสุรีรัตน์ ลัคนานิตย์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ กล่าวว่า เศรษฐกิจภาคใต้ไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน และไตรมาสก่อนหน้าตามผลผลิตเกษตรที่เพิ่มขึ้น ส่วนราคาสินค้าเกษตรยังขยายตัวแม้จะชะลอลง จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวตามนักท่องเที่ยวจีนที่ฟื้นตัวได้เร็วจากมาตรการปราบปรามทัวร์ผิดกฎหมาย ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวรัสเซียและยุโรป

ขณะที่การส่งออกขยายตัวต่อเนื่องเป็นผลจากด้านราคาและคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ด้านการอุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอลงตามการชะลอตัวของยอดขายสินค้าในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายลงทุนภาครัฐลดลง

ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนทรงตัวอย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออกยางพาราแปรรูปลดลง เนื่องจากสต๊อกยางในประเทศจีนอยู่ในระดับสูง เช่นเดียวกับการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องที่หดตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8

สำหรับการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 1.6 แต่ชะลอลงจากไตรมาสก่อน โดยการใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทนเร่งตัว เนื่องจากรายได้เกษตรกรที่อยู่ในเกณฑ์ดี นอกจากนี้มีการเร่งซื้อสินค้ากึ่งคงทน เพื่อทดแทนของที่ชำรุดเสียหายจากอุทกภัยในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการชะลอลง โดยเฉพาะยอดขายสินค้าในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ เนื่องจากประชาชนยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากรายได้นอกภาคเกษตรที่ค่อนข้างทรงตัว การใช้จ่ายภาครัฐลดลงร้อยละ 33.2 ทั้งรายจ่ายประจำและลงทุน ด้านการลงทุนภาคเอกชนทรงตัว โดยการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างลดลง ขณะที่การซื้อรถยนต์เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

กลุ่ม จว.เหนือเบิกจ่ายต่ำ 8.8%

ขณะที่นายสิงห์ชัย บุณยโยธิน ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานภาคเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือ ไตรมาส 2 ปี 2560 แม้จะปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน อาทิ ผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะข้าวนาปรังที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรทั้งข้าวและน้ำตาล รวมถึงชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวตามการส่งออก และภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนที่ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงตลาดประชุมสัมมนาที่เร่งตัวขึ้นแต่มีหลายประเด็นของเศรษฐกิจภาคเหนือที่มีทิศทางไม่ชัดเจน และหดตัว กล่าวคือการบริโภคภาคเอกชนยังไม่เข้มแข็ง

แม้เพิ่มขึ้นในหมวดสินค้าคงทน อาทิ ยอดจดทะเบียนรถยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้น การเบิกจ่ายงบฯกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ จำนวน 15,839 ล้านบาท ยังเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมาย ขณะที่ยอดโอนอสังหาริมทรัพย์ยังคงซบเซา รวมถึงราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ยังมีแนวโน้มต่ำลง และภาคการส่งออกชายแดนไปประเทศเมียนมา และ สปป.ลาวยังคงหดตัว

นายสิงห์ชัยกล่าวว่า ประเด็นสำคัญหนึ่งที่พบก็คือ การใช้จ่ายลงทุนของภาครัฐแผ่วลงและยังต่ำกว่าเป้าหมาย โดยการใช้จ่ายงบฯลงทุนของภาครัฐลดลง 25.5% จากการใช้จ่ายเงินอุดหนุนให้กับท้องถิ่นลดลง และโครงการกลุ่มจังหวัดส่วนใหญ่อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเบิกจ่ายโครงการของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ จำนวน 15,839 ล้านบาท ยังมีการเบิกจ่ายต่ำเพียง 8.8% เท่านั้น ซึ่งล่าช้ากว่าคาดและยังต่ำกว่าเป้าหมาย ซึ่งในข้อเท็จจริง งบฯกลุ่มจังหวัดจำนวน 15,839 ล้านบาทดังกล่าว จะเป็นงบฯที่เข้ามาขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาคเหนือ แต่การเบิกจ่ายที่ต่ำและล่าช้า ก็อาจส่งผลให้โครงการลงทุนต่าง ๆ ต้องล่าช้าตามไปด้วย

ขณะที่อีกประเด็นหนึ่งก็พบว่า รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น 64% จากระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นถึง 72.9% จากปริมาณข้าวนาปรังที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับปกติจากฐานที่ต่ำในปีก่อน และอ้อยโรงงานเก็บเกี่ยวช่วงปลายฤดูมาในช่วงไตรมาสนี้ แต่ในภาพรวมราคาสินค้าเกษตรต่ำกว่าปีก่อนมาก ส่งผลให้ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัว -5.3% ตามราคาข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และลำไย

นอกจากนี้ก็พบว่าการบริโภคภาคเอกชนยังไม่เข้มแข็ง และมีทิศทางไม่ชัดเจน อยู่ในระดับ 0.8% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนอยู่ที่ 4.6% แม้จะมีการเพิ่มขึ้นในหมวดสินค้าคงทน โดยเฉพาะปริมาณจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นถึง 13.2% เทียบกับไตรมาสที่ 1 อยู่ที่ -9.1%

ขณะเดียวกัน การลงทุนภาคเอกชนก็ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในภาคการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ยังซบเซา จากพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ที่หดตัว -6.4% โดยยอดคงค้างสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ที่ให้แก่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ยังหดตัว สะท้อนจากการเปิดโครงการอสังหาริมทรัพย์ใหม่มีน้อยลง รวมถึงยอดโอนอสังหาริมทรัพย์ก็ยังซบเซาด้วยเช่นกัน เนื่องจากขาดแรงส่งจากนักลงทุน


ท่วม 44 จังหวัด – ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค.-3 ส.ค. 2560 มีพื้นที่เกิดอุทกภัยและน้ำไหลหลาก44 จังหวัด รวม 258 อำเภอ ประชาชนได้รับผลกระทบ 385,824 ครัวเรือน จำนวน 1,218,003 คน สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 34 จังหวัด ยังคงมีน้ำท่วมในภาคอีสานเหลืออยู่9 จังหวัด และภาคกลาง 1 จังหวัด แต่ต้องรอดูพายุฝนในช่วงสัปดาห์หน้านี้ด้วย

ค้าชายแดนเมียนมา-ลาวหดตัว

ส่วนประเด็นการส่งออก Nonborder ยังขยายตัวได้ดี แต่การส่งออกสินค้าชายแดนไปประเทศเมียนมา และ สปป.ลาว ยังหดตัว -7.9% โดยสินค้าที่ส่งไปเมียนมา มียอดส่งออกลดลงในหมวดสินค้าโทรศัพท์พร้อมอุปกรณ์ เครื่องจักรกลการเกษตร และน้ำตาลทราย ขณะที่สินค้าหมวดอุปโภคบริโภค สุกรมีชีวิตและรถยนต์บรรทุกไป สปป.ลาวก็ลดลงเช่นกัน เนื่องจากทางการจีนเข้มงวดการนำเข้าสินค้าผ่านช่องทางชายแดนมากขึ้น

ทั้งนี้ เสถียรภาพเศรษฐกิจของภาคเหนือไตรมาสที่ 2 แม้จะมีเครื่องชี้หลายตัวที่สะท้อนถึงการหดตัว หรือชะลอตัว แต่ก็ยังมีเครื่องชี้ที่ยังช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ดีอยู่ ได้แก่ ภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดี

ด้านนายกฤษณ์ ธนาวณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า งบฯกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน) จำนวน 311 ล้านบาท ขณะนี้การเบิกจ่ายมีความคืบหน้าราว 63% ซึ่งในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ได้รับงบประมาณก้อนนี้ 171 ล้านบาท โดยโครงการของหลายหน่วยงานอยู่ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งนี้ คาดว่าจากนี้ไปจนถึงเดือนกันยายน จะสามารถทำการเบิกจ่ายงบประมาณได้เพิ่มขึ้นถึงระดับ 80%

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #103 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:48:35 PM »
ส่งสัญญาณเตือน! ประธาน คยปท.ชี้ฝนตกเยอะ-น้ำท่าดี ส่อทำปาล์มล้นประเทศ จี้รัฐเตรียมหาแนวทางรับมือ


นายทศพล ขวัญรอด เจ้าของสวนปาล์มน้ำมันรายย่อย และประธานภาคีเครือข่ายชาวสวนยางพารา และปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย (คยปท.) เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากการรายงานของที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการและปฏิบัติการ คยปท. เกี่ยวกับปาล์มน้ำมันในปลายปี 2561 จนถึงปี 2562 ตลอดทั้งปี ซึ่งคาดว่าจะเกิดสถานการณ์ผลผลิตปาล์มล้นประเทศ สาเหตุจากปริมาณฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2559 จนถึงกลางปี 2560 และต่อเนื่องมาถึงขณะนี้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลดีต่อสวนปาล์ม ส่งผลให้เกิดผลผลิตปาล์มจำนวนมาก


นายทศพล กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม การที่ปริมาณฝนอุดมสมบูรณ์จนผลผลิตออกมาจำนวนมาก ซึ่งอาจทำให้ปริมาณปาล์มล้นตลาดได้ จึงต้องการส่งสัญญาณนี้ถึงรัฐบาล ให้เร่งเตรียมออกแบบแนวทางดำเนินการบริหารจัดการป้องกันผลผลิตปาล์มน้ำมันที่จะออกสู่ตลาด เพราะหากการออกแบบแนวทางไม่ดี จะเกิดผลกระทบขนาดใหญ่ได้ โดยมองว่ารัฐควรต้องจัดโซนนิ่งของการทำปาล์มน้ำมัน ยางพารา และข้าว เนื่องจากปัจจุบันเกษตรกรหันมาปลูกปาล์มน้ำมันจนรุกพื้นที่การปลูกยางพารา รวมไปถึงชาวนาที่เลิกปลูกข้าว ก็หันมาปลูกปาล์มน้ำมันแทน



ขณะเดียวกันแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ตั้งแต่ลุ่มน้ำปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช จรดถึงลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ยังมีการขยายปลูกปาล์มน้ำมันอย่างต่อเนื่อง บางรายกวาดซื้อที่ดินสะสมปลูกปาล์มรวมพื้นที่ได้ถึง 4,000 ไร่ ส่งผลให้กล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมันเริ่มมีราคาขยับสูงขึ้นตามลำดับ จากเมื่อปี 2558 ราคา 70 บาท/ต้น มากลางปี 2559 ราคาขยับมาอยู่ที่ 110 บาท และมาปี 2560 กล้าพันธุ์ปาล์มขยับมาจนถึง 120 บาท/ต้น

“หากอนาคตพื้นที่ปลูกปาล์มเพิ่มมากขึ้น นอกจากจะส่งผลให้ผลผลิตล้นตลาดแล้ว ยังอาจกระทบกับระบบนิเวศ รวมไปถึงเกิดภัยแล้งได้ เนื่องจากปาล์มเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก เมื่อพื้นที่ปลูกปาล์มมากขึ้น ก็ต้องใช้น้ำมากขึ้น จนสุดท้ายอาจสูญเสียแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง พื้นที่ชุ่มน้ำ และทะเลสาบ” นายทศพลกล่าว

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #104 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:49:15 PM »
“ไทยเบฟเวอเรจ” ทุ่ม 1.13 หมื่นล้าน ซื้อกิจการ “เคเอฟซี” ในไทย 240 สาขา

รายงานข่าวจากบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ระบุว่า บริษัทย่อยของ ไทยเบฟเวอเรจ ได้แก่ บริษัท คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด ได้เข้าซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์พร้อมทั้งร้านเคเอฟซีทั้ง 240 สาขาในไทย จาก ยัม เรสเทอรองตส์ ประเทศไทย ด้วยงบประมาณกว่า 11,300 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้ไทยเบฟขยายเข้าสู่ธุรกิจร้านอาหารบริการด่วน เพื่อเข้าถึงไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคได้มากขึ้น

นางนงนุช บูรณะเศรษฐกุล รองประธานอาวุโส กลุ่มธุรกิจอาหาร (ประเทศไทย) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการเข้าซื้อกิจการของเคเอฟซีในครั้งนี้ว่า นอกจากจะทำให้ไทยเบฟขยายพอร์ทธุรกิจอาหารให้เติบโตขึ้นแล้ว เน็ตเวิร์คร้านค้าของเคเอฟซี ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ จะทำให้กลุ่มบริษัทสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ครอบคลุมมากขึ้น สามารถเข้าใจเทรนด์ ความต้องการ และขึ้นมาอยู่ในระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจมีการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว
 
ด้วยความเชี่ยวชาญในธุรกิจร้านอาหาร QSR ของเคเอฟซี ทำให้บริษัทยังมีเป้าหมายที่จะขยายสาขาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง และยังคงเป็นพาร์ทเนอร์กับทาง ยัม เรสเทอรองตส์ เพื่อโฟกัสในการพัฒนาศักยภาพของการดำเนินงานและด้านบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
 
โดยเคเอฟซี ถือเป็นผู้นำตลาดร้านอาหาร QSR ในประเทศไทย เมื่อวัดจากจำนวนสาขา และได้เปิดทำตลาดมาแล้วกว่า 30 ปี โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาถือเป็นร้านที่มีการขยายตัวมากที่สุด
 
อย่างไรก็ตาม เม็ดเงินที่คาดว่าจะใช้ในการเข้าซื้อสาขาของเคเอฟซีทั้งหมดนั้น จะต้องรอพิจารณาจำนวนสาขาใหม่ที่คาดว่าจะเปิดตัวจนถึงปลายปีนี้อีกที ซึ่งคาดว่าจะทำให้ดีลนี้เสร็จบริบูรณ์ได้ภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2560

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #105 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:50:04 PM »
คอลัมน์ จับกระแสตลาด

ในภาคการส่งออกที่เป็นอีกเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทยในเวลานี้ อาหารŽ เป็นหนึ่งในกลุ่มสินค้าสำคัญ ซึ่งปีนี้คาดว่าการส่งออกสินค้าอาหารสำเร็จรูปและเครื่องดื่มจะมีมูลค่ารวมกันกว่า 9 แสนล้านบาท เติบโตราว 8% จากปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวจากการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม เป็นหลัก

”รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์”Ž ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการภูมิภาคอาเซียน บริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดงานฟู้ดอินกรีเดียนท์เอเชีย 2017 ฉายภาพว่า การส่งสินค้าอาหารไทยไปซีแอลเอ็มวีค่อนข้างมาแรงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยล่าสุดในปี 2559 การส่งออกสินค้าอาหารไทยไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน มีสัดส่วนกว่า 15.2% แซงหน้าญี่ปุ่นที่ส่งออกสินค้าไปกว่า 13.9% แล้ว ซึ่งปัจจัยของการขยายตัวนี้มาจากความร่วมมือในเออีซี ความสะดวกในการเดินทางขนส่งสินค้าถึงกัน คุณภาพสินค้าไทยเป็นที่ยอมรับ รวมทั้งการมีมาตรฐานอาหารที่ไม่ต่างกันทำให้การนำสินค้าไปจำหน่ายไม่มีข้อจำกัดมากนัก


โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมจะแตกต่างกันไปตามพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละประเทศ อย่างเมียนมาจะนิยมบริโภคเวเฟอร์อบกรอบไทย ส่วนในลาว กัมพูชา เวียดนาม จะให้การตอบรับที่ดีกับกลุ่มเครื่องดื่มผลไม้ รวมทั้งซอสปรุงรส เพราะยังนิยมทำอาหารรับประทานเองมากกว่าการกินข้าวนอกบ้าน

ส่วนเทรนด์ของธุรกิจอาหารในไทยต่อจากนี้ ด้วยการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยเช่นเดียวกับญี่ปุ่น จึงให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารเพื่อผู้สูงวัยและเพื่อสุขภาพมากขึ้น สอดคล้องกับเทรนด์ของโลกที่ผู้บริโภคมองหาอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มาจากธรรมชาติ ปลอดสารเคมีมากขึ้น ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลจากธรรมชาติ ตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาได้ ฯลฯ



ดังนั้น เพื่อรับกับการขยายตัวของธุรกิจอาหารทั้งในไทยและต่างประเทศ ยูเอ็มบี จึงได้จัดงานฟู้ดอินกรีเดียนท์เอเชีย ครั้งที่ 22 หรือเอฟไอ เอเชีย 2017 งานแสดงสินค้า เทคโนโลยี และนวัตกรรมส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่มสำหรับอุตสาหกรรมแห่งเอเชีย ที่ไบเทค บางนา 13-15 กันยายนนี้ ซึ่งใช้พื้นที่มากกว่าการจัดงานเมื่อ 2 ปีก่อน 25% โดยในปีนี้จะมีผู้เข้าร่วมแสดงงานทั้งผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายส่วนผสมอาหารกว่า 700 ราย จาก 56 ประเทศทั่วโลก คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมชมงานกว่า 2 หมื่นราย

นอกจากเป็นพื้นที่ให้พบปะพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจ ภายในงานยังจัดโซนแสดงนวัตกรรมส่วนผสมอาหาร เครื่องดื่มที่สอดคล้องกับเทรนด์อาหารในปัจจุบัน การจัดสัมมนาเกี่ยวกับการพัฒนาส่วนผสมอาหารสำหรับสังคมสูงวัย ฯลฯ

ส่วนผสมอาหารมีความสำคัญกับอุตสาหกรรมอาหารไม่น้อย โดยเฉพาะนวัตกรรมต่าง ๆ เช่น ส่วนผสมที่ช่วยปรุงรสแต่งกลิ่น สี ส่วนผสมที่ช่วยยืดอายุของอาหารให้เก็บรักษาได้นานขึ้น ฯลฯ ที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารได้มากขึ้น ซึ่งภายในงาน ผู้ผลิตส่วนผสมอาหารในไทยยังมีไม่มากด้วยข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีบวกกับวัตถุดิบที่เริ่มมีน้อยลง ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการต่างชาติที่เข้ามาเพื่อหาพาร์ตเนอร์ในไทยมากกว่าŽ

ทั้งนี้ การจัดงานเอฟไอ เอเชีย จะสลับจัดงานในไทยและอินโดนีเซียที่ถือเป็นตลาดใหญ่ที่มีจำนวนประชากรมาก โดยในการจัดงานที่อินโดนีเซียครั้งที่ผ่านมาได้รับการตอบรับที่ดี มียอดเจรจาธุรกิจกว่า 140 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าปีนี้จะเติบโตไม่เกิน 10% การขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหาร คือโอกาสการเติบโตของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งห่วงโซ่ธุรกิจ

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #106 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:50:21 PM »
ฟิตเนสโตแรง เวอร์จิ้นŽ ลุยผุดสาขาต่อเนื่อง เปิดแนวรุก ตจว. ปักธงเซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ต้นปีหน้า ด้านกทม.เปิดไซซ์เล็กหัวถนนวิทยุ ชูจุดขายคลาส-อุปกรณ์พรีเมี่ยม พร้อมเปิดคลาสออกกำลังแบบเทลเลอร์เมดหวังขยายฐานลูกค้าองค์กร มั่นใจโรดแมปครบ 20 สาขาใน 5 ปีแน่นอน

นายโอฬาร พิรินทรางกูร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เวอร์จิ้น แอ็คทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยกับ ประชาชาติธุรกิจŽ ว่า ตลาดฟิตเนสยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ตามดีมานด์ของตลาดในเรื่องของสุขภาพและการออกกำลังกาย ส่งผลให้จำนวนฟิตเนสรายย่อยและรายใหญ่ที่เพิ่มมากขึ้นในทุกพื้นที่เพื่อเป็นทางเลือกให้กับตลาด

อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นที่เพิ่มขึ้นถือเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยสร้างการรับรู้และกระตุ้นการเติบโตของตลาดมากกว่า เนื่องจากสัดส่วนจำนวนผู้เป็นสมาชิกฟิตเนสยังต่ำมาก และไม่แข่งขันด้านราคา แต่เน้นสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวเพื่อเป็นจุดขาย โดยรายเล็กจะชูเรื่องคลาสเฉพาะทาง อย่างปั่นจักรยาน มวยไทย โยคะ เป็นต้น ส่วนรายใหญ่จะชูประสบการณ์ อาทิ อุปกรณ์และบริการเสริมต่าง ๆ ในศูนย์ เพื่อสร้างความคุ้มค่า รวมถึงทำเลที่ตั้ง


สอดคล้องกับโจทย์หลักที่ผู้บริโภคใช้ตัดสินใจเลือกเป็นสมาชิกฟิตเนสนั้น นอกจากความสะดวกทั้งเรื่องใกล้ที่ทำงาน-ที่พักอาศัยแล้ว ยังต้องสามารถช็อปปิ้งต่อหลังออกกำลังกายได้อีกด้วย รวมถึงต้องการความสนุกและประสบการณ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ ส่วนราคามีผลน้อย

เพื่อรองรับดีมานด์นี้จึงตัดสินใจขยายสาขาเพิ่มอีก 2 แห่งในช่วงครึ่งปีหลัง พร้อมกับเน้นกลุ่มลูกค้าองค์กรมากขึ้น โดยเตรียมเปิดสาขาเซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ ซึ่งเป็นการรุก ตจว. เป็นครั้งแรกในโมเดลไลฟ์เซ็นเตอร์แบบเดียวกับสาขาเซ็นทรัลเวสต์เกต ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรับสมัครพนักงานด้านต่าง ๆ คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ช่วงต้นปีหน้า

ส่วนใน กทม. เตรียมเปิดสาขาอาคาร 208 ถนนวิทยุ ซึ่งเป็นโมเดลใหม่ บูติคคลับŽ ไซซ์เล็กขนาด 1,300 ตร.ม. จากปกติที่ขนาด 3,000-5,000 ตร.ม. มีจุดขายเป็นความพรีเมี่ยม ทั้งคลาสออกกำลังและอุปกรณ์แบบใหม่ล่าสุด รวมถึงการเพิ่มคลาสใหม่ ๆ ทุกไตรมาส เพื่อตอบโจทย์บรรดาพนักงานออฟฟิศในบริเวณใกล้เคียง โดยมีกำหนดเปิดบริการช่วง ต.ค.-พ.ย.นี้ ส่วนค่าบริการอยู่ระหว่างศึกษา

ด้านการเจาะกลุ่มลูกค้าองค์กรนั้น อาศัยกลยุทธ์สร้างการรับรู้ผ่านฐานสมาชิกที่มีทั้งพนักงานและผู้บริหารขององค์กรต่าง ๆ อยู่แล้ว พร้อมเสนอออกแบบคลาสออกกำลังกายทั้งในและนอกสถานที่ให้สอดคล้องกับชั่วโมงการทำงานของแต่ละแห่ง รวมถึงชูบริการต่าง ๆ ในศูนย์ฟิตเนส อาทิ ห้องประชุมและห้องพักผ่อนสลีปพอดเพื่อจูงใจ

พร้อมกันนี้ยังเพิ่มจำนวนพนักงานรวมถึงจัดฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเน้นย้ำจุดแข็งด้านคุณภาพการบริการ เช่นเดียวกับการทำตลาดผ่านสื่อออนไลน์ รวมถึงเข้าร่วมและออกบูทในกิจกรรมกีฬาต่าง ๆ ที่จัดขึ้น เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง พร้อมกับคอลลาบอเรตกับแบรนด์สินค้ากีฬา อาทิ อันเดอร์อาร์เมอร์แถม-ขายสินค้าพรีเมี่ยมให้สมาชิก เพื่อสร้างความคุ้มค่ากระตุ้นการตัดสินใจสมัครเป็นสมาชิก

ในส่วนของสาขาเดิมยังคงได้รับการตอบรับดี อาทิ ฟิตเนสสำหรับเด็กที่เซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์ในเดือนแรกมีสมาชิกกว่า 50 คน สะท้อนการตอบโจทย์ผู้บริโภคซึ่งเป็นกลุ่มครอบครัวรุ่นใหม่ที่ต้องการออกกำลังกายร่วมกัน

ทั้งนี้เชื่อว่าจะสามารถขยายสาขาครบ 20 แห่งทั่วประเทศภายในปี 2565 ด้วยงบฯ 5,200 ล้านบาทได้ตามที่ตั้งเป้าเอาไว้อย่างแน่นอน

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #107 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2017, 08:32:46 PM »
พาณิชย์ มั่นใจดูแลราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ หลังหารือโรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ กก.ละ 8 บาท
วันที่ 9 สิงหาคม 2560 - 16:40 น.


พาณิชย์ มั่นใจดูแลราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ หลังขอความร่วมมือโรงงานอาหารสัตว์ซื้อ กก.ละ 8 บาท พร้อมออกประกาศฯคุมเข้มพ่อค้าคนกลางต้องแจ้งปริมาณ ราคา สถานที่จัดเก็บ


นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงมาตรการการดูแลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2560/2561 ว่า กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายในได้หารือกับโรงงาน ผู้ประกอบการรับซื้อที่เกี่ยวข้อง โดยขอความร่วมมือในการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงแบบเมล็ดอบแห้งความชื้น 14.5% ในราคาที่ กก.ละ 8 บาททั่วประเทศ เพื่อให้ทันช่วงที่ผลผลิตจะเริ่มทยอยออกในช่วงปลายเดือนสิงหาคมไปจนเดือนพฤศจิกายน 2560

ส่วนผู้รวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้แจ้งว่าไม่สามารถรับซื้อในราคากก.ละ 8 บาทได้ เนื่องจากมีต้นทุนค่าขนส่ง ค่าทำความสะอาด ค่าอบเมล็ดข้าวโพด ดังนั้นทางกรมการค้าภายในจึงได้แจ้งว่าให้รับซื้อในราคาเหมาะสม พร้อมทั้งปิดป้ายแสดงราคารับซื้อให้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจะไม่เกิดปัญหาการกดราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากกลุ่มเกษตรกร เนื่องจากได้มีการออกประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ให้ผู้รวบรวมที่มีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่ 50 ตันขึ้นไป จะต้องแจ้งปริมาณ สถานที่เก็บ และราคา โดยต้องปิดประกาศราคารับซื้อ ณ จุดรับซื้อ หากราคาต่ำเกินไปก็สามารถใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าดูแลได้

พร้อมทั้งให้พาณิชย์จังหวัดติดตามผลผลิตที่ออกพร้อมกับติดตามปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข โดยจะต้องทำโครงการเชื่อมโยงผู้ผลิตไปยังผู้ซื้อปลายทาง โดยมีการดูแล ควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้เกษตรกรได้รายได้ที่สูงขึ้น

“กรมฯ ได้ตั้งวอรูม ในการดุแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ส่วนสินค้าเกษตรตัวอื่นก็อยู่ระหว่างการติดตามและแก้ไขต่อไป “

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #108 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2017, 08:33:25 PM »
สมอ.ย้ำร้านค้า 20 บาทยังขายของได้! ให้ปรับปรุงก่อนถูกโทษปรับ หลังพบสินค้า 8 ชนิดไร้มาตรฐาน

กลายเป็นประเด็นที่ได้รับเสียงวิจารณ์จำนวนมากในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา หลังจากที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. มีนโยบายควบคุมคุณภาพสินค้าบางรายการของร้านค้า 20 บาท หลังจากที่มีการร้องเรียนจากผู้บริโภคหลายรายว่าซื้อสินค้าไปแล้วเกิดความเสียหาย และมีการเรียกผู้ประกอบการร้านที่เช่าพื้นที่ตามห้างสรพพสินค้าเข้ามาหารือ จนทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า สมอ.จะห้ามขายสินค้าทุกรายการจากการนำเสนอของสื่อมวลชนสำนักต่างๆ แล้วนั้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ส.ค.60 ผู้สื่อข่าวประชาชาติธุรกิจออนไลน์ รายงานจากอาคารสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือสมอ. ถึงกรณีการควบคุมคุณภาพสินค้าของร้านจำหน่ายสินค้าทุกอย่าง 20 บาท

นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล เลขาสมอ.กล่าวว่า สมอ.ยังไม่ได้เข้าจับกุมร้านค้า ไม่ได้ห้ามจำหน่ายสินค้าแต่อย่างใด ผู้ประกอบการยังสามารถขายได้ทุกอย่าง เพียงแต่แจ้งเตือนให้ทราบถึงกฎหมายที่สินค้าบางรายการจะต้องถูกควบคุมให้ได้มาตรฐาน รวมถึงให้นำสินค้า 7-8 รายการที่กำหนดออกจากร้าน และให้นำสินค้าที่ได้มาตรฐานมาจำหน่ายแทน ไม่เช่นนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย




“ตอนนี้ยังไม่ได้ไปปิดร้านใคร พราะเข้าใจดีว่าผู้ประกอบการบางรายอาจจะขาดความรู้ความเข้าใจ ยังไม่มีข้อมูลรับทราบในเรื่องนี้ หากนำสินค้าที่ไม่ได้รับมาตรฐานมอก. ก็จะทำให้กระทบกับสิ่งแวดล้อม อยากให้ผู้ประกอบการปรับตัวให้เร็วที่สุด และเลือกสั่งซื้อสินค้ากับผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานมาจำหน่าย เพราะหลังจากนี้ หากได้รับแจ้ง และสมอ.ลงพื้นที่สุ่มตรวจเจอสินค้าไม่ได้มาตรฐานมอก. เมื่อไหร่จะต้องถูกปรับและยึดสินค้าทันที” เลขาสมอ.กล่าว และว่าการควบคุมสินค้ายังรวมถึงร้านขายสินค้าราคาอื่นด้วยทั้งร้าน 60 บาท ร้าน 100 บาท ก็จะใช้มาตรฐานควบคุมระดับเดียวกันหมดไม่ได้มีข้อยกเว้นอื่น

ทั้งนี้สินค้า 7-8 รายการที่จะต้องถูกควบคุมและได้มาตรฐานของมอก.ภาคบังคับเนื่องจากเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินได้แก่ ผงซักฟอก ไม้ขีดไฟ ของเล่น ไฟแช็ค หัวนมยางดูดเล่น ฟิล์มห่อหุ้มอาหาร แอลกอฮอล์แข็งสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง และสีเทียน

ส่วนด้านต้นทางที่ผู้ประกอบการร้านค้าไปรับสินค้ามาจำหน่ายนั้น เลขาสมอ.กล่าวต่อว่า สมอ.ไม่ได้เป็นหน่วยงานเดียวจะลงพื้นที่ตรวจสอบ อาจจะมีตำรวจจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติลงพื้นที่ไปตรวจสอบด้วยเช่นกัน

ขณะเดียวกันนายวันชัย พนมชัย รองเลขาธิการสมอ. กล่าวเสริมว่า การควบคุมมาตรฐานสินค้าร้าน 20 บาทนั้นไม่ได้เอื้อประโยชน์กับกลุ่มทุนหลัก เนื่อจากได้รับการร้องเรียนถึงคุณภาพของสินค้าจากผู้บริโภคจริงๆ และสมอ.แค่ควบคุมสินค้าแค่ 7-8 รายการเท่านั้น ของในร้านกว่า 400-500 รายการยังสามารถขายได้ตามปกติ


แฟ้มภาพไม่เกี่ยวข้องกับข่าว
สำหรับบทลงโทษในกรณีที่มีการนำสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานมาจำหน่ายจะถูกปรั้งตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท หรือจำคุก 1 เดือน หรือทั้งจำและปรับ ทั้งนี้ในช่วง 10 เดือนของปีงบประมาณ 2560 สมอ. ยึดสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานมอก.ไปแล้วมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามสมอ.ยังขอแจ้งให้ผู้ประกอบการทุกรายทราบหากมีกลุ่มบุคคลแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าลงไปตรวจสอบ ขอให้ตรวจสอบหาบัตรประจำตัวของเจ้าหน้าที่ และสามารถโทรศัพท์มาสอบถามข้อมูลที่สมอ.ได้ และหากมีการเรียกเก็บเงิน หรือมีการปฏิบัติที่มิชอบ ขอให้ไปแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่รับทราบทันที

ทั้งนี้ปัจจุบัน สมอ. มีกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ) โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีคุณภาพ มีความปลอดภัย และได้มาตรฐาน จำนวน 105 ผลิตภัณฑ์ ที่จะต้องขออนุญาตจาก สมอ. ก่อนทำและนำเข้า สามารถดูรายชื่อผลิตภัณฑ์ได้ที่ www.tisi.go.th

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #109 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2017, 08:33:43 PM »
การประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ซึ่งมีนางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน มีมติให้ออกประกาศมาตรการดูแลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลังเส้น และปาล์มน้ำมัน มีผลบังคับใช้ 8 ส.ค.เป็นต้นไป


โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการ (พ่อค้าคนกลาง) รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่ 50 ตันขึ้นไป ต้องแจ้งปริมาณ สถานที่เก็บ และราคา ต่อเจ้าพนักงาน กกร. จากเดิมที่กำหนดให้เฉพาะผู้ครอบครองที่ครอบครองตั้งแต่ 50 ตันขึ้นไป เช่น ผู้ประกอบการโกดัง และโรงงานอาหารสัตว์ ต้องแจ้งปริมาณ สถานที่เก็บ และราคาเท่านั้น หากผู้ใดฝ่าฝืนประกาศ จะมีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังมีโทษปรับรายวัน 2,000 บาท กรณีการไม่แจ้งตามประกาศ การออกประกาศเพื่อให้ทันผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูกาล 2560/2561 ที่จะออกมาในเดือน ก.ย.-พ.ย. 2560 ประมาณ 4.5 ล้านตัน นอกจากนี้จะเตรียมขอความร่วมมือโรงงานอาหารสัตว์รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกร และเพิ่มผู้รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เข้ามาดูแลให้ครบทั้งระบบ

ส่วนมันสำปะหลังประกาศให้ผู้ประกอบการรับซื้อในส่วนของมันเส้นตั้งแต่ 15 ตันขึ้นไป หรือคิดเป็นหัวมันสด 45 เมตริกตัน ต้องแจ้งปริมาณ สถานที่เก็บ และราคา ต่อเจ้าพนักงาน กกร.เช่นกัน จากเดิมที่กำหนดให้ผู้ครอบครองต้องแจ้งเท่านั้น เพื่อดูแลราคามันเส้นให้กับเกษตรกรในช่วงที่ผลผลิตปี 2560/2561 จะออกเดือน ต.ค.-ธ.ค. 2560 หากไม่แจ้ง จะมีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังมีโทษปรับรายวัน 2,000 บาท กรณีการไม่แจ้งตามประกาศและออกประกาศให้โรงงานติดป้ายแสดงราคาการรับซื้อผลปาล์มสดในเปอร์เซ็นต์น้ำมันตั้งแต่ 18% -22% ณ จุดรับซื้อ โดยให้ราคาเพิ่มขึ้น 30 สตางค์ทุกเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้น แต่หากต่ำกว่า 18% จะถูกหัก 30 สตางค์ในทุก 1 เปอร์เซ็นต์เช่นกัน หากไม่ปิดป้ายแสดงราคาตามประกาศ จะมีโทษปรับ 1 หมื่นบาท

นอกจากนี้ ห้ามไม่ให้โรงงานปิดป้ายแสดงราคารับซื้อผลปาล์มร่วงเด็ดขาด หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 5 ปี ปรับ 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เนื่องจากต้องการส่งเสริมให้ปลูกปาล์มเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงขึ้น ซึ่งทุก 1 เปอร์เซ็นต์จะช่วยให้อุตสาหกรรมมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 10,000 ล้านบาท ดีต่อระบบภาพรวมทั้งหมด

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #110 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2017, 08:34:08 PM »
ม.หอการค้า เผยดัชนีคอร์รัปชั่นขยับดีขึ้น แต่ยังกังวลรัฐลงทุนบิ๊กโปรเจ็กต์เปิดช่องทุจริต
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทย เดือนมิถุนายน 2560 ว่า ครั้งนี้สำรวจ 2,400 ตัวอย่าง เมื่อเดือนมิถุนายน 2560 พบว่า ดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทย (Thai CSI) อยู่ที่ระดับ 53 ลดลงจากเดือนธันวาคม 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 55 ดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทยในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 52 เท่ากับเดือนธันวาคม 2559 และดัชนีแนวโน้มสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทยอยู่ที่ 54 จากเดือนธันวาคม 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 57 โดยรวมดัชนีเกินระดับ 50 ถือว่าสถานการณ์ยังอยู่ในระดับดี อย่างไรก็ตามดัชนีแต่ละตัวที่ลดลงดังกล่าว เป็นผลหลักจากเรื่องอนาคตที่ประชาชนกังวลว่าจะมีช่องว่าง ช่องโหว่จากกฎหมายที่จะเริ่มคอร์รัปชั่นได้จากโครงการลงทุนของภาครัฐขนาดใหญ่หลายโครงการที่จะออกมา

นางเสาวณีย์ กล่าวว่า เมื่อแยกดูรายดัชนี พบว่าดัชนีปัญหาและความรุนแรงของการคอร์รัปชั่น เดือนมิถุนายน 2560 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 44 ลดลงจากเดือนธันวาคม 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 49 ดัชนีการป้องกันการคอร์รัปชั่น อยู่ที่ 53 จาก 55 ดัชนีการปราบปรามการคอร์รัปชั่น อยู่ที่ 54 จาก 57 และดัชนีการสร้างจริยธรรมและจิตสำนึก อยู่ที่ 60 จาก 58 สะท้อนว่ายังมีปัญหาและความรุนแรงของคอร์รัปชั่นอยู่ แต่การสร้างจริยธรรมและจิตสำนึกของทุกภาคส่วนตระหนักถึงเรื่องคอร์รัปชั่นมากขึ้น


นางเสาวณีย์กล่าวว่า สำหรับความเสียหายของการทุจริตคอร์รัปชั่นประเมินจากงบประมาณประเภทจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยราชการ พบว่ามีผู้ประกอบการ 59% ระบุไม่จ่ายเงินเพิ่มพิเศษแก่ข้าราชการหรือนักการเมืองที่ทุจริตเพื่อให้ได้สัญญา ถือว่าเป็นสัดส่วนสูงสุดในรอบ 8 ปี นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 มีผู้ประกอบการ 28% ตอบว่าไม่ทราบ และมีผู้ประกอบการ 13% ที่จ่ายเงินพิเศษ ต่างจากเดือนธันวาคม 2559 ซึ่งอยู่ที่ 35% 47% และ 18% ตามลำดับ แม้ในกลุ่มที่จ่ายเงินพิเศษมีสัดส่วนลดลง แต่พบว่ามีการจ่ายเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 5-15% ของวงเงินโครงการจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมด หรือจ่ายเงินพิเศษเฉลี่ย 6.54 หมื่นล้านบาท-1.96 แสนล้านบาท ต่างจากเดือนธันวาคม 2559 ซึ่งอยู่ที่ 1-15% ทั้งนี้การจ่ายเงินพิเศษที่ 5-15% ดังกล่าว คิดเป็น 2.24-6.72% ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดของปี 2560 และคิดเป็นสัดส่วน 0.43-1.29% ของจีดีพี หากลดการเรียกเงินสินบนทุกๆ 1% จะทำให้การคอร์รัปชั่นลดลง 1 หมื่นล้านบาท

นางเสาวณีย์กล่าวอีกว่า นอกจากนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 51% เห็นว่าความรุนแรงของปัญหาคอร์รัปชั่นในปัจจุบันลดลงเทียบกับปีที่ผ่านมา มี 14% ตอบเท่าเดิม และ 35% ตอบว่าปัจุบันมีปัญหาเพิ่มขึ้น ส่วนคาดการณ์ความรุนแรงปัญหาคอร์รัปชั่นในปีหน้า มี 46% บอกเพิ่มขึ้น 30% ลดลง 13% เท่าเดิม และ 11% ไม่ทราบ สาเหตุสำคัญที่เกิดคอร์รัปชั่นในไทย คือความไม่เข้มงวดของการบังคับใช้กฎหมาย กระบวนการทางการเมืองขาดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ยาก กฎหมายเปิดโอกาสให้สามารถใช้ดุลยพินิจที่เอื้อต่อการทุจริต ขาดกลไกการกำกับดูแลกิจการและการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ โดยรูปแบบของการคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นบ่อยยังเป็นการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง การให้สินบน การเอื้อประโยชน์แก่ญาติหรือพรรคพวก

นางเสาวณีย์กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่าง 96% ไม่เห็นด้วย ที่การทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องไกลตัว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวเองโดยตรง และมี 95% ระบุว่าไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลทุจริตคอร์รัปชั่นแต่มีผลงานและทำประโยชน์ให้สังคม และ 95% ก็ไม่เห็นด้วยที่การให้สินน้ำใจเล็กๆน้อยๆ แก่เจ้าหน้าที่รัฐเป็นเรื่องไม่เสียหาย นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่าง 56% มองการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีประสิทธิภาพ มี 14% มอง ป.ป.ช. มีประสิทธิภาพปานกลาง มี 28% มองไม่มีประสิทธิภาพ

นายธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีอาวุโสวิชาการและงานวิจัย และ ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ผลสำรวจดัชนีโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมารัฐบาลปัจจุบันดูแลสถานการณ์คอร์รัปชันอย่างดี แต่นานาชาติยังไม่เห็น องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ จัดดัชนีชี้วัดภาพลักษณคอร์รัปชัน ในปีที่ผ่านมาให้ไทยได้คะแนน 35 จาก 38 และอันดับลดลง101 จาก 76 ไม่ใช่ว่าไทยทำสถานการณ์ไม่ดี แต่การจัดอันดับดังกล่าวนำเรื่องการเมืองการแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่ปีนี้สถานการณ์ในประเทศไทยดีขึ้น เห็นผลเป็นรูปธรรม จะช่วยทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศอยู่ในมิติที่ดีขึ้น

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #111 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2017, 08:34:34 PM »
OBOR เส้นทางสายไหม โอกาส SMEs ไทยบุกตลาดจีน

One Belt One Road (OBOR) หรือ เส้นทางสายไหม เป็นนโยบายของจีนที่ต้องการเป็นแกนนำในการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจกับต่างประเทศ ด้วยการเชื่อมเส้นทางสายใหม่ทางบก 29 ประเทศ และทางทะเล 36 ประเทศ โดยมีจีนเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อเส้นทาง ผ่านประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศ 5 ภูมิภาค

เป้าหมายสำคัญของนโยบายนี้ หลัก ๆ เช่น เพื่อสร้างและเพิ่มพลังการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเศรษฐกิจระหว่างจีนกับทุกประเทศบนเส้นทาง OBOR การจัดตั้งเครือข่ายเศรษฐกิจและวัฒนธรรม และเกิดการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายทั้งหมด การเสริมสร้างศักยภาพความร่วมมือทางเศรษฐกิจและขยายการทำธุรกิจระหว่างกัน ส่งเสริมการลงทุนและเพิ่มการบริโภค ยกระดับคุณภาพมาตรฐานสูงสุดในทุกประเทศ การเพิ่มอุปสงค์ต่อแรงงานและการสร้างงานสนองความต้องการแรงงานได้อย่างสมดุล เป็นต้น

สำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน แม้จะไม่อยู่ในเส้นทางสายไหม แต่สามารถเชื่อมต่อกับเส้นทาง OBOR ได้ทั้งทางบกและทางทะเล ครอบคลุมประชากรกว่า 4,500 ล้านคน โอกาสที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ผู้ส่งออก จะใช้โอกาสนี้ในการทำการค้า การส่งออกได้


โอกาสไทยผ่าน OBOR

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยมีความได้เปรียบในการใช้เส้นทาง OBOR ในการสร้างศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ ได้ในพื้นที่อินโดจีน สามารถลดต้นทุนด้านการให้บริการโลจิสติกส์ การขนส่ง และเป็นซัพพลายเชนให้กับผู้ค้า ผู้ส่งออกได้เป็นอย่างดี เนื่องจากไทยเป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางที่ใกล้และสะดวกมาก และเชื่อว่าเมื่อเกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจแล้ว การค้า การลงทุน ด้านการท่องเที่ยว จะขยายตัวมากขึ้น เป็นโอกาสที่ไทยควรรีบคว้าไว้ เพื่อต่อยอดด้านเศรษฐกิจในอนาคต ขณะเดียวกันเอสเอ็มอีไทยควรปรับตัวรองรับเส้นทางสายไหมนี้ เพื่อใช้เป็นโอกาสในการขยายตลาดการค้า การส่งออกในอนาคต

ความต้องการผลไม้ไทยในจีน

นายอุดร คงคาเขตร ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด SCG Logistics Management เปิดเผยว่า ขณะนี้ SCG เข้าไปทำตลาดโลจิสติกส์อยู่ในพื้นที่กว่างโจว และเฉิงตู เนื่องจากเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังตลาดอื่นในจีนทั้งทางบกและอากาศได้ง่าย และทำให้เห็นว่า โอกาสของสินค้าไทย โดยเฉพาะเรื่องสมุนไพรกำลังเป็นที่ต้องการในตลาดจีน เนื่องจากจีนมีความชื่นชอบสมุนไพรไทยมาก รวมถึงสินค้าอาหาร ผลไม้สด แปรรูป ดังนั้นหากผู้ส่งออก เอสเอ็มอีที่มีสินค้าอยู่แล้ว ควรใช้โอกาสที่มีในการเข้าทำตลาด โดยเฉพาะผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซได้ แต่ควรสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าให้สินค้า เช่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อรักษาคุณภาพสินค้าให้ดี ช่วยลดต้นทุน และง่ายในการขนส่ง ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างการส่งเสริมและพัฒนาในเรื่องนี้ รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ของสินค้า

แก้กฎอำนวยความสะดวกการค้า

นายประเสริฐ ลิ่มประเสริฐ ผู้แทนสมาคมการค้าและการลงทุนเอเชียน-สากล มองว่านโยบายเส้นทางสายไหมของจีนจะทำให้การค้า การส่งออก ขยายตัวมากขึ้น ทั้งทางบก อากาศ และทางทะเล ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีควรใช้โอกาสนี้ในการทำตลาด โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าไทยไปจีน เนื่องจากการขนส่งจะง่าย สะดวกมากขึ้น ขณะที่ด้านการท่องเที่ยวอนาคตจะยิ่งขยายตัวเพิ่มขึ้น เพราะคนจีนมาเที่ยวไทยได้ง่าย ทั้งนี้ การที่ไทยและจีนมีความสัมพันธ์ที่ดี จะยิ่งมีโอกาสทางการค้า การลงทุนที่ดีขึ้น รวมถึงความรู้ทางวิชาการที่จีนมีการพัฒนาไปมาก จะเป็นโอกาสที่ไทยจะได้เรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์

นอกจากนี้ ไทยควรใช้โอกาสในการแก้ไขปัญหา กฎระเบียบที่ยังไม่เอื้อในการส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ผู้ส่งออกในเส้นทางสายไหมนี้ โดยเฉพาะการเชื่อมเส้นทางรถไฟ ซึ่งปัจจุบันไทยอยู่ระหว่างพัฒนาเส้นทางรถไฟ กรุงเทพฯ-โคราช-หนองคาย-สปป.ลาว เป็นโอกาสการขยายการขนส่ง ลดต้นทุน ที่จะเชื่อมไปยังเส้นทางสายไหม ทำให้การส่งออกสินค้าขยายไปได้มาก

ช่องทางทำการค้าในจีน

นางซู ยองจุน เลขาธิการสมาคมการค้าส่งเสริมธุรกิจไทยจีนและเอเชียอาคเนย์ เปิดเผยว่า จีนเป็นตลาดใหญ่ ก่อนเข้าไปควรสำรวจความต้องการสินค้าในพื้นที่นั้น ๆ ก่อน เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคในจีนต่างกันมากในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งศึกษาคู่แข่ง และสินค้าในพื้นที่นั้น ๆ ด้วย ประกอบกับเรื่องของกฎหมาย กฎระเบียบ ต้องยอมรับว่าจีนเคร่งครัดในเรื่องนี้ โดยเฉพาะการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และมาตรฐานของตัวสินค้า ในกลุ่มสินค้ายา สุขภาพ จำเป็นต้องดำเนินการ รวมถึงภาษาที่กำกับในตัวสินค้าเป็นสิ่งสำคัญ ควรต้องมีภาษาจีนและภาษาอังกฤษ เนื่องจากโอกาสเสี่ยงสูงที่จะถูกก๊อบปี้ และระหว่างการดำเนินการ การทำประชาสัมพันธ์ การสร้างการรับรู้ในตัวสินค้าของลูกค้าต้องดำเนินการควบคู่ไปด้วย

ขณะที่ช่องทางที่ง่ายในการทำตลาดจีนตอนนี้คือ การค้าออนไลน์ ตลาดอีคอมเมิร์ซ เนื่องจากจีนนิยมทำการค้าผ่านระบบนี้มากขึ้น และเติบโตขึ้นทุกปี และเพื่อรองรับตลาด ลูกค้าจากจีน ไทยต้องพัฒนาเรื่องระบบจ่ายเงิน และการเชื่อมต่อการค้าผ่านระบบออนไลน์ให้มากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสทางการค้า สินค้า และลูกค้าใหม่ ๆ ได้

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #112 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2017, 08:35:00 PM »
ถกยาว “เหมืองทองคำอัครา” ลากเข้า TAFTA จ้างบริษัทกฎหมายฝรั่ง

กพร.เร่งจ้างที่ปรึกษากฎหมายต่างชาติถก “เหมืองทองอัครา” รอบ 2 เดือนสิงหาคมนี้ หลังถกนัดแรกไร้ข้อสรุป เผยรัฐหนุนทำเหมืองทองในไทย แต่คุมเข้มภายใต้ พ.ร.บ.แร่ใหม่ เตรียมประกาศใช้ 29 ส.ค.นี้

นายวิษณุ ทับเที่ยง รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภายในเดือน ส.ค. 2560 นี้ เตรียมเจรจากับทาง บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด ผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท อัครารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) อีกครั้ง หลังจากเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2560 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ (คนร.) ขึ้นครั้งแรก ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธาน และได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำแนวทางแร่เศรษฐกิจ และตั้งคณะผู้แทนเจรจากับทางบริษัทคิงส์เกตฯ รวมถึงจ้างที่ปรึกษากฎหมายต่างชาติซึ่งในการประชุมครั้งถัดไปยังคงจะหารือในภาพรวมของการจัดทำยุทธศาสตร์แร่ทองคำในประเทศไทย ที่ต้องคำนึงถึงความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. …. ฉบับใหม่ ที่จะนำหลักการของกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ มาบัญญัติรวมไว้ในฉบับเดียวกัน เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรแร่และการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่เป็นไปอย่างมีระบบ จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 29 ส.ค. 2560

“รัฐบาลยังคงสนับสนุนการทำเหมืองแร่ทองคำในประเทศไทย แต่ทั้งหมดจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ชัดเจนและเข้มข้นขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม”


นายเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายประสานกิจการภายนอก บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เนื่องจากในขณะนี้บริษัทกำลังเข้าสู่กระบวนการหารือ ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี (TAFTA) กับรัฐบาลอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ๆ ในการศึกษาเงื่อนไขแต่ละข้อ การจะปฏิบัติตามยุทธศาสตร์แร่ทองคำที่กำหนดนั้น จึงอาจจะเป็นการเร็วเกินไปที่จะให้ข้อคิดเห็นในตอนนี้ อย่างไรก็ตาม บริษัทมีความจริงใจ ตั้งใจดีเสมอมา และตลอดระยะเวลา 15 ปีที่เปิดดำเนินการเหมืองแร่ทองคำ และคำนึงถึงชุมชนที่อาศัยอยู่เสมอ ด้วยการทำทุกอย่างให้ถูกต้อง ดำเนินการด้วยมาตรฐานสากลตลอดมา

นายสมบูรณ์ ยินดียั่งยืน อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2560 คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยจะใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการแร่ทองคำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ
ประกอบด้วย 7 ด้านหลัก ได้แก่ 1.ด้านการบริหารจัดการแหล่งแร่ทองคำ กำหนดให้มีการประมูลสิทธิสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ ในพื้นที่ที่ภาครัฐสำรวจและมีข้อมูลเพียงพอ ห้ามมิให้ส่งออกโลหะผสมทองคำไปต่างประเทศ กำหนดเงื่อนไขการจ้างงานชาวไทย ยกเลิกการให้สิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมการลงทุน ยกระดับการมีส่วนร่วมในเชิงนโยบายระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่การผลิต

2.ปรับปรุงผลตอบแทนแก่รัฐให้เหมาะสม และกระจายให้ท้องถิ่น จัดตั้งกองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่

3.ด้านความปลอดภัย การป้องกันรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการฟื้นฟูพื้นที่ กำหนดให้มีการตั้งกองทุนเพื่อเยียวยาแก้ปัญหาในกรณีที่เกิดผลกระทบ จัดทำแนวพื้นที่กันชนการทำเหมือง และทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน

4.ด้านการกำกับดูแลคณะกรรมการควบคุมเฝ้าระวังผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำ มีตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมเป็นกรรมการ

5.เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งในขั้นตอนการขออนุญาต ขั้นตอนการขอประทานบัตรและการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในขั้นตอนการประกอบกิจการ โดยให้มีตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของประชาชนในพื้นที่ร่วมเป็นคณะกรรมการควบคุม

6.ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมชุมชน โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามและผ่านการทวนสอบมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมอุตสาหกรรมแร่ (CSR-DPIM) ยกระดับการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำให้มีความรับผิดชอบตามมาตรฐานสากล และ 7.ด้านอื่น ๆ กำหนดให้การขอต่ออายุประทานบัตรแร่ทองคำและการเพิ่มชนิดแร่ทองคำ ใช้นโยบายนี้โดยอนุโลม แต่ไม่ครอบคลุมถึงการร่อนแร่ทองคำ

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #113 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2017, 08:35:25 PM »
จับ “โชติชัยนาวี” เดือด ตัวแทนโต้กรมประมงไม่ผิดIUU

ตัวแทนเรือโชติชัยนาวี 35 เตรียมออกแถลงการณ์ตอบโต้กรมประมงไม่ได้ทำผิด IUU หลังถูกประกาศยึดเรือเและทรัพย์สินบนเรือ พร้อมแจ้งความเอาผิดเซ่น พ.ร.ก.การประมงฉบับใหม่ ภายใต้มาตรการ PSMA ข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับแรกของโลกขจัด IUU

จากกรณีฝ่ายกฎหมายของกรมประมงได้เข้าแจ้งความเอาผิดกับเรือ “โชติชัยนาวี 35” และประกาศยึดเรือและทรัพย์สินบนเรือโชติชัยนาวี 35 สัญชาติจิบูตี เนื่องจากพบว่าเข้าไปทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) ที่โซมาเลีย ถือว่าเรือลำดังกล่าวกระทำผิด พ.ร.ก.การประมง 2558 และฉบับแก้ไข โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 94 มีโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 30 ล้านบาท และอาศัยอำนาจตามมาตรา 96 วรรคสาม ให้ยึดเรือและทรัพย์สินบนเรือนั้น


นายอภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ นายกสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เรือโชติชัยนาวี 35 ไม่ได้เป็นสมาชิกสมาคม แต่ในเร็ว ๆ นี้ ตัวแทนเรือโชติชัยนาวี 35 จะออกแถลงการณ์ตอบโต้กรมประมงถึงเรื่องราวทั้งหมด เท่าที่ทราบ เรือดังกล่าวมีสัญชาติจิบูตี ได้รับสัมปทานจับปลาจากรัฐพุนด์แลนด์ ซึ่งมีปัญหาเรื่องแบ่งแยกดินแดนกับรัฐบาลกลางโซมาเลียอยู่ ประเด็นนี้รัฐบาลไทยก็ทราบเรื่อง และการรุกล้ำจับปลาเข้าไปในเขตหวงห้าม 24 ไมล์ทะเล ก็เป็นเรื่องกฎหมายภายในของแต่ละรัฐที่รวมตัวกันเป็นโซมาเลีย ไม่ใช่เรื่องอะไรของไทยที่จะต้องไปยุ่งในเรื่องนี้ ขณะที่เรือไทซานที่นำปลามาขึ้นท่าที่ภูเก็ต ซึ่งต้องสงสัยทำประมงผิดกฎหมาย กลับขนถ่ายปลาแล้วเติมน้ำมันก่อนหลบหนีไป ไม่ทราบว่าปล่อยไปได้อย่างไร

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ในสัปดาห์ที่ผ่านมา นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า เมื่อวันที่ 2 พ.ค. ที่ผ่านมา เรือประมงสัญชาติจิบูตีได้ยื่นขอเข้าเทียบท่าเรือประมงที่สมุทรสาคร ซึ่งเป็นการแจ้งยื่นล่วงหน้าตามมาตรการบทบาทของประเทศไทย ภายใต้ความตกลงว่าด้วยมาตรการรัฐเจ้าของท่า (Port State Measure Agreement) ว่า เรือได้รับใบอนุญาตทำการประมงจากรัฐพุนด์แลนด์ สหพันธรัฐโซมาเลีย และเจ้าหน้าที่ได้อนุญาตให้เข้าเทียบท่า เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2560 แต่ไม่สามารถอนุญาตให้นำสัตว์น้ำขึ้นจากเรือประมงได้ เพราะผลพิสูจน์พบว่าเป็นการทำประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ล่าสุดกรมประมงได้เข้าแจ้งความเอาผิดกับเรือ “โชติชัยนาวี 35” แล้ว เมื่อวันที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา ตามที่กรมประมงได้ออกประกาศยึดเรือและทรัพย์สินบนเรือโชติชัยนาวี 35 สัญชาติจิบูตี เนื่องจากพบว่าเข้าไปทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) ที่โซมาเลีย โดยเรือลำดังกล่าวถือว่ากระทำผิดพระราชกำหนดการประมง (พ.ร.ก.การประมง 2558) และฉบับแก้ไข โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 94 มีโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 30 ล้านบาท และอาศัยอำนาจตามมาตรา 96 วรรคสาม ให้ยึดเรือและสินทรัพย์บนเรือ อย่างไรก็ดี เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือประมงสามารถอุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง

พร้อมกันนี้เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่า เรือลำดังกล่าวฝ่าฝืนกฎหมายประมงโซมาเลีย คือ ฝ่าฝืนมาตรา 3 ซึ่งกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองชายฝั่งสำหรับชาวประมง ซึ่งเรือประมงต้องทำการประมงนอกเขต 24 ไมล์ทะเล ฝ่าฝืนมาตรา 12 ซึ่งกำหนดให้ทำการประมงในน่านน้ำของโซมาเลีย โดยเรือประมงต่างชาติต้องได้รับใบอนุญาตทำการประมงจากรัฐบาลกลาง ฝ่าฝืนมาตรา 33 ซึ่งกำหนดห้ามใช้เครื่องมือประมงอวนลากทำการประมงในน่านน้ำของโซมาเลีย นอกจากนี้ ปริมาณสัตว์น้ำที่ขอนำเข้ามีทั้งสิ้น 448 ตัน ซึ่งมีปริมาณมากกว่าที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประมงที่ออกโดยรัฐพุนด์แลนด์แห่งโซมาเลีย ที่กำหนดไว้ 270 ตัน ในขณะเดียวกัน จิบูตีได้ถอนสัญชาติของเรือประมงลำดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2560 ทำให้เรือประมงลำดังกล่าวอยู่ในสถานะเรือไร้สัญชาติ ไม่สามารถที่จะออกไปในทะเลได้อย่างถูกต้องตามหลักสากล

ขณะที่พลตำรวจโท จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้บัญชาการกฎหมาย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า บริษัทที่จดทะเบียนเรือลำนี้เป็นชาวต่างชาติ โดยเรือลำดังกล่าวมีลูกเรืออยู่ทั้งสิ้น 18 คน แยกเป็น คนไทย 17 คน กัมพูชา 1 คน ทั้งหมดนี้ไม่มีความผิดตามกฎหมาย เพราะเป็นเพียงลูกจ้าง แต่กัปตันเรือกับนายท้ายถือว่าทำผิดตามกฎหมาย สำหรับการดำเนินคดีในเบื้องต้น เรือลำนี้มีเจ้าของเป็นบริษัทจดทะเบียนเป็นชาวต่างชาติ ทางสำนักงานตำรวจฯจะตรวจสอบต่อไป โดยเรือลำนี้ได้ต้องโทษอาญาและการปกครอง แต่ไม่มีคดีแพ่ง

“มาตรา 96 มาตรการยึดเรือและสัตว์น้ำและโทษอาญาปรับ 30 ล้านบาท ตาม พ.ร.ก.การประมง ยังไม่มีอำนาจเอาผิด ที่ได้มีการยึดเรือประมง จำนวน 7 ลำ ที่ขอเข้าท่าเพื่อทำการซ่อมแซม โดยกลุ่มเรือดังกล่าวมีการแอบอ้าง เนื่องจากขายทอดตลาดแล้ว ส่วนเรือโชติชัยนาวี 35 อยู่ระหว่างดำเนินคดีตามกฎหมาย ยังไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อเจ้าของเรือได้ เพราะอยู่ในขั้นตอนของรูปคดี”

รายงานข่าวระบุว่า ในช่วงปลายปี 2559 ไทยได้มีการยึดเรือประมงจำนวน 7 ลำ ที่ขอเข้ามาเทียบท่าเพื่อซ่อมแซมเรือที่จังหวัดภูเก็ต โดยกลุ่มเรือดังกล่าวได้มีการแอบอ้างว่ามีสัญชาติโบลิเวีย เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ประสานไปที่ประเทศโบลิเวีย ตามมาตรการ PSMA แล้วปรากฏว่า ไม่เป็นความจริง และจากการขึ้นตรวจสอบเรือประมงพบว่ามีพฤติกรรมที่เป็น IUU และหลายลำเป็นเรือที่คาดว่าจะอยู่ในรายชื่อที่ IOTC (Indian Ocean Tuna Commission-IOTC) สมาชิกคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย ประกาศขึ้นเป็นเรือ IUU ไว้แล้ว แต่เนื่องจากขณะนั้น พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558 ไม่สามารถดำเนินการกับเรือประมงดังกล่าวได้ เนื่องจากไม่ได้นำสัตว์น้ำขึ้นท่า จึงต้องใช้อำนาจของพนักงานสอบสวนให้ดำเนินการ และอีก 2 ลำที่ได้แจ้งออกจากท่าไปก่อนที่จะมีการตรวจสอบ ไทยได้มีการแจ้งเตือนประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค และองค์การบริหารจัดการประมงในภูมิภาคแล้ว

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #114 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2017, 08:35:46 PM »
รัฐหนุน 49 โรงงาน กู้เงิน 9,600 ล้าน แปรรูปยาง

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า เพื่อแก้ไขปัญหาราคายางผันผวนให้เกิดเสถียรภาพด้านราคามากขึ้น ทาง กยท.จึงได้อนุมัติโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง หวังดูดซับยางออกจากระบบ ซึ่งจะช่วยยกระดับราคาให้สูงขึ้น เป็นการสร้างเสถียรภาพด้านราคายาง ซึ่งผู้ประกอบกิจการยางสามารถรับซื้อผลผลิตไปแปรรูปเป็นยางประเภทต่าง ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป โดยโครงการนี้กำหนดระยะเวลาโครงการตั้งแต่พฤษภาคม 2560-เมษายน 2562 และระยะเวลาในการอนุมัติวงเงินกู้จนสิ้นสุดการชำระเงินกู้ตามโครงการ 1 ปี ไม่เกิน 30 เมษายน 2562 โดยรัฐบาลจะสนับสนุนการชดเชยดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินร้อยละ 3 กับผู้เข้าร่วมโครงการ หรือคิดเป็นเงินช่วยเหลือจำนวนไม่เกิน 300 ล้านบาท จากวงเงินกู้ 1 หมื่นล้านบาท ให้กับผู้ประกอบการ โดยใช้แหล่งสินเชื่อวงเงินกู้เดิมจากธนาคารพาณิชย์ที่ผู้ประกอบการใช้บริการอยู่แล้ว


“สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อฯ 10,000 ล้านบาท จะเป็นผู้ประกอบการแปรรูปน้ำยางข้นที่จดทะเบียนในประเทศไทย และมีผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยมากกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 35 บริษัท 49 โรงงาน วงเงินกู้รวมประมาณ 9,600 ล้านบาท คาดว่าโครงการนี้จะสามารถดูดซับยางออกจากระบบประมาณร้อยละ 20 ของผลผลิตน้ำยางข้น เป็นการผลักดันราคายางให้สูงขึ้นโดยใกล้เคียงหรือสูงกว่าต้นทุนการผลิตของเกษตรกรชาวสวนยาง และรักษาเสถียรภาพราคายางไม่ให้เกิดความผันผวนมากเกินจุดวิกฤต” ผู้ว่าการ กยท.กล่าว

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #115 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2017, 08:36:12 PM »
เปิดปมรัฐซื้อไฟกัมพูชาแพง ซ่อนต้นทุนค่าน้ำผันเข้าEEC

เปิด MOU กพช.อนุมัติซื้อไฟฟ้าเขื่อนพลังน้ำสตึงมนัม พบค่าไฟแพงมหาโหดหน่วยละ 10.75 บาท เทียบค่าไฟฐานแค่ 2.60 บาท ชำแหละต้นทุนแอบบวก “ค่าน้ำ” เข้าไปในค่าไฟ อ้างเหตุกัมพูชาผันน้ำให้ EEC ใช้ฟรี

โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำสตึงมนัมได้กลับมาเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอีกครั้ง หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้ให้ความเห็นชอบ ร่างบันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้าโครงการสตึงมนัม (Tariff MOU) ซึ่งจะลงนามระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับบริษัท Steung Meteuk Hydropower หรือ SMH ที่รัฐบาลกัมพูชาให้สิทธิบริษัทนี้เป็นผู้พัฒนาโครงการเขื่อนพลังน้ำ โดยคิดราคาขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. “แพง” อย่างมโหฬารถึงหน่วยละ 10.75 บาท

เปิดร่าง MOU สตึงมนัม

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่ผ่านมาได้เห็นชอบร่าง MOU โครงการสตึงมนัมหรือโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสตึงมนัม และให้เสนอต่อ ครม.เพื่อรับทราบด้วย โดยใน MOU มีสาระสำคัญประกอบไปด้วย 1) กฟผ.จะขอความเห็นชอบ MOU โครงการนี้จาก กพช. ส่วน SMH จะขอความเห็นชอบจากรัฐบาลกัมพูชาภายในเวลา 3 เดือน MOU มีผลบังคับใช้หลังจากที่ทั้ง 2 ฝ่ายให้รับความเห็นชอบแล้ว


2) MOU จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ที่บังคับใช้จนถึงก่อนการบังคับใช้ สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement หรือ PPA) ส่วนการยกเลิก MOU ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษร 3) ทั้ง 2 ฝ่ายจะร่วมมือกันศึกษาการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าสตึงมนัม ซึ่งตัวโรงไฟฟ้าและเขื่อนจะตั้งอยู่ที่ฝั่งกัมพูชา การศึกษาจะศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การรับซื้อไฟฟ้า และการเชื่อมโยงระบบส่งให้สอดคล้องกับ Grid Code กับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (แผน PDP) และที่สำคัญให้ทั้ง 2 ฝ่าย “เปิดการเจรจา” ร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ขนานไปกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

4) สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ.กับ SMH จะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วัน Execution Date โดยสัญญาซื้อขายไฟฟ้ามีอายุ 50 ปีนับจากวันที่ผลิตไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) แต่อาจมีการต่ออายุสัญญา PPA ออกไปได้หากทั้ง 2 ฝ่ายให้ความเห็นชอบ โดยโครงการนี้จะขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ.ประมาณ 24 เมกะวัตต์ (MW) และส่ง “น้ำ” ที่ใช้ปั่นกระแสไฟฟ้าให้กับประเทศไทยในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคมเฉลี่ยปีละ 300 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าจะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ หรือ COD ได้ในเดือนพฤศจิกายน 2566 หรืออีก 6 ปีนับจากนี้

อย่างไรก็ตาม กฟผ.มีเงื่อนไขว่า ร่างสัญญารับซื้อไฟฟ้า PPA นั้น กฟผ.จะเป็นผู้ร่างและน้ำจำนวน 300 ล้าน ลบ.ม.ที่โครงการจะส่งให้กับประเทศไทยนั้น ฝ่ายกัมพูชาจะ “ไม่มีการคิดค่าน้ำ” เนื่องจากโครงการสตึงมนัมเป็นโครงการความร่วมมือด้านพลังงานและการบริหารจัดการน้ำร่วมกันภายใต้ Asia Cooperatio Dialogue Summit (เดือนตุลาคมปี 2559)

5) แต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการพัฒนาโครงการ การเจรจา และการบังคับใช้ MOU 6) หากเกิดข้อพิพาทในโครงการจะมีการเจรจาและหารือกัน และ 7) ข้อตกลงใน MOU ฉบับนี้ห้ามทำการโอนสิทธิ์ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร และ MOU จะต้องไม่กระทบหรือจำกัดสิทธิ์ กฟผ.ที่จะเจรจากับผู้พัฒนาโครงการรายอื่น ๆ

ต่อท่อน้ำเข้า EEC/SEZ

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กล่าวถึง น้ำจำนวน 300 ล้าน ลบ.ม.ที่ประเทศไทยจะได้รับว่า น้ำจำนวนดังกล่าวนี้จะถูกผันน้ำจากเขื่อนสตึงมนัมที่ปล่อยน้ำลงมาจากสันเขาเพื่อปั่นกระแสไฟฟ้าแล้วต่อท่อมาที่อ่างเก็บน้ำประแสร์ จังหวัดระยองเพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC) กับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone หรือ SEZ)

โดยมอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำเป็นเจ้าภาพหลักในการผันน้ำ ไม่ใช่ “กรมชลประทาน” ซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการเขื่อนประแสร์ แต่ให้กรมชลประทานไปศึกษาแนวเส้นทางการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำมาใช้ในพื้นที่ภาคตะวันออก และให้เป็นผู้จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แทน

ซ่อนต้นทุนค่าน้ำ

แหล่งข่าวในวงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ ได้ตั้งข้อสังเกตถึงโครงการโรงไฟฟ้าสตึงมนัมว่า ดูเหมือนจะมีความพยายามที่จะ “เชื่อมโยง” ระหว่างอัตราค่าไฟฟ้าในโครงการที่จะขายให้ กฟผ.แพงมหาศาลถึงหน่วยละ 10.75 บาท เพื่อ “แลก” กับการได้รับน้ำจำนวน 300 ล้าน ลบ.ม. (หรือเท่ากับความจุของอ่างเก็บน้ำประแสร์ (ขนาดความจุสูงสุด 322 ล้าน ลบ.ม.) ด้วยการเน้นย้ำไว้ว่า น้ำจำนวนนี้ฝ่ายไทยได้รับมาฟรี ๆ โดยโครงการไม่สามารถจะคิดค่าน้ำได้นั้น

ความจริงแล้วถ้าสังเกตดี ๆ จะพบว่า ค่าน้ำที่อ้างว่า “ฝ่ายไทยได้รับมาฟรี ๆ” นั้น แท้จริงแล้ว “มันไม่ได้ฟรี” เพราะ ค่าน้ำได้ถูกบวกเข้าไปไว้ในค่าไฟฟ้าที่แพงถึง 10.75 บาทต่อหน่วยไปเรียบร้อยแล้ว กล่าวคือ อัตราค่าไฟฟ้าของ กฟผ.เฉลี่ยอยู่ที่หน่วยละ 2.60 บาทต่อหน่วย (kWh) หรือน้ำ 3 คิวจะผลิตไฟฟ้าได้ 1 หน่วย ในกรณีของโครงการสตึงมนัม น้ำ 3 คิวจะถูกคิดราคาที่ 7.80 บาท/หน่วย (ค่าน้ำดิบ 2.60 X บาท/หน่วย (ลบ.ม.) ดังนั้นราคาขายไฟฟ้าในโครงการให้กับ กฟผ. แพงถึง 10.75 บาท/หน่วยนั้นเอง

“เห็นได้ชัดว่า น้ำไม่ได้มาฟรี ๆ แน่ ๆ แต่ถูกบวกเข้าไปในค่าไฟฟ้าแล้ว ผมก็ไม่เข้าใจว่า กรรมการท่านอื่น ๆ ใน กพช.ไม่รู้หรือว่า ค่าน้ำที่อ้างว่าให้ฝ่ายไทยฟรี ๆ นั้น มันไม่ฟรี ตรงนี้ถือเป็นการหมกเม็ดได้หรือไม่ เพราะดูจากการแถลงข่าวหลังการประชุม กพช.ก็ไม่เห็นมีใครพูดถึงเรื่องนี้ ที่สำคัญโครงการสตึงมนัมมันได้ไฟฟ้าแค่ 24 MW ผมได้ยินมาว่า กฟผ.จะรับซื้อไฟแค่ปีละ 100 หน่วยเป็นเงินประมาณ 1,000 ล้านบาทต่อปี ไฟจำนวน 24 MW ไม่ได้ช่วยเสริมความมั่นคงด้านไฟฟ้าในภาคตะวันออกเลย เพราะมันน้อยมาก แถมกำลังผลิตไฟฟ้าในภาคนี้ก็หนาแน่นอยู่แล้ว ด้านความต้องการใช้น้ำในภาคตะวันออกปัจจุบันมี 5 อ่างเก็บน้ำรวมกันประมาณ 1,600 ล้าน ลบ.ม. ถือว่า พอเพียงต่อความต้องการอย่างน้อยอีก 5 ปีข้างหน้า” แหล่งข่าวกล่าว

ดังนั้นถ้า EEC/SEZ ต้องการได้น้ำมาเสริมความต้องการใช้ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ “สูตรซื้อไฟแพงแลกน้ำ” ทำไมประเทศไทยไม่เจรจาขอซื้อน้ำโดยตรงกับกัมพูชาแล้วผันน้ำเข้ามาเลย อย่าลืมว่าตอนนี้บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก (East Water) คิดต้นทุนน้ำดิบอยู่ที่เฉลี่ย 50 สตางค์/หน่วยเท่านั้น

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #116 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2017, 08:36:35 PM »
ดร.โกร่งชี้เศรษฐกิจไทยเหมือนคนป่วยเรื้อรัง เหมือนกบต้ม การันตีข้อมูล “พิชัย” ไม่บิดเบือน

อดีตรองนายกฯ และ รมว.คลังชี้เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะตกต่ำ เหมือนคนที่เป็นโรคเรื้อรังแต่ไม่ยอมรักษา หวั่นกระทบเป็นลูกโซ่ต่อไปในอนาคต ยกกรณี ‘พิชัย’ วิจารณ์รัฐบาล ถือเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือทั้งนั้น

ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า เศรษฐกิจในขณะนี้อยู่ในภาวะตกต่ำ ธุรกิจต่างๆ เริ่มทยอยปิดตัวลงโดยทำให้เริ่มเห็นภาวะเศรษฐกิจที่กำลังตกต่ำของประเทศไทยในขณะนี้ว่า เหมือนคนที่เป็นโรคเรื้อรัง แต่ไม่ยอมรักษาโรค ไม่ยอมผ่าตัด และอาจอยู่ในสภาวะต้มกบที่หลายคนได้วิเคราะห์เอาไว้


โดยสัญญาณบอกเหตุดังกล่าว เห็นได้จากตัวเลขการนำเข้าและส่งออกที่ตกต่ำอย่างมาก สะท้อนว่าประเทศไทยอยู่ในภาวะไม่น่าจับจ่าย และจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อไปในอนาคตอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ดร.วีรพงษ์ ยังระบุอีกว่า ข้อมูลที่นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน สะท้อนไปยังรัฐบาลอยู่ตลอดเวลานั้นเป็นข้อมูลที่เป็นความจริง ไม่เห็นมีอะไรผิด เพราะเป็นการนำตัวเลข ข้อมูลจากทางราชการมาใช้ จึงเป็นเรื่องจริง และไม่เข้าใจว่าเหตุใดรัฐบาลถึงไม่นำข้อมูลดังกล่าวไปใช้บ้าง และการที่รัฐบาลตีกลับบอกว่าเป็นข้อมูลที่บิดเบือนนั้น ก็อยากทราบว่าแล้วข้อมูลที่ไม่บิดเบือนเป็นอย่างไร ก็ให้บอกมา อย่างเช่นการออกมาชี้แจงการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการส่งออก การที่รัฐบาลใช้วาทกรรมมากกว่าการแสดงข้อเท็จจริงถือว่าไม่ยุติธรรม แต่สำหรับนายพิชัยถือเป็นออกมาพูดตามจริง เพราะแหล่งข้อมูลที่นายพิชัยนำมานั้นเป็นหน่วยงานภาครัฐที่น่าเชื่อถือทั้งนั้น อย่างสภาพัฒน์ ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง และกรมศุลกากร

 

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #117 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2017, 08:37:04 PM »
ต่างด้าว 3 ล้านคนกู่ไม่กลับ! ตีทะเบียนแค่ 7.7แสน หวั่นธุรกิจป่วน-เปิดปมแรงงานไม่ขึ้นทะเบียน

สรุปยอดขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 7.7 แสนคน หายจากระบบกว่าครึ่ง หวั่นวิกฤตป่วนธุรกิจ ชี้ร้านอาหาร ภาคเกษตร กลุ่มแม่บ้านหนักสุด ฟันธง 3 ปมแรงงานเถื่อนซุกใต้ดิน ส่วนใหญ่ไปแล้วไม่กลับ กลัวจ่ายค่าปรับย้อนหลัง ติดล็อก 39 อาชีพสงวน

ศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว กระทรวงแรงงาน สรุปตัวเลขการยื่นคำขอใช้แรงงานต่างด้าว ของนายจ้าง และผู้ประกอบการ เป็นเวลา 15 วัน ตั้งแต่ 24 ก.ค.-7 ส.ค. 2560 ยอดรวมทั้งสิ้น 7.72 แสนคน น้อยกว่าที่กระทรวงแรงงานคาดการณ์ว่า จะมีนายจ้าง ผู้ประกอบการยื่นคำขอใช้แรงงานต่างด้าว 8 แสนคน ถึง 1 ล้านคน อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับตัวเลขที่มีการคาดการณ์ว่า มีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายในประเทศไทย 2-3 ล้านคน แล้วค่อนข้างห่างไกลกันมาก ตัวเลขห่างกันกว่า 2-3 เท่าตัว และแม้กระทรวงแรงงานจะชี้ว่า ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายในประเทศไทยไม่ได้มากเหมือนกับที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ และเชื่อมั่นว่าตัวเลขแรงงานต่างด้าวที่หายไปจะไม่ทำให้เกิดขาดแคลนแรงงาน ขณะที่ผู้ประกอบธุรกิจทั้งในกรุงเทพมหานคร (กทม.) ต่างจังหวัดเริ่มวิตกกังวลว่า ปัญหาแรงงานขาดจะเกิดขึ้นกับบางสาขา โดยเฉพาะร้านอาหารและเครื่องดื่ม แรงงานด้านการเกษตร แม่บ้าน ขายปลีก แผงลอย เป็นต้น

ขึ้นทะเบียนต่างด้าว 7.7 แสนคน

นายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากที่กรมการจัดหางานได้เปิดศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว 100 ศูนย์ทั่วประเทศ ให้นายจ้างมายื่นคำขอใช้แรงงานต่างด้าว ระหว่างวันที่ 24 ก.ค.-7 ส.ค. 2560 ล่าสุดมีจำนวนผู้มาขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวรวม 772,270 คน มากที่สุดคือ ชาวเมียนมา 451,515 คน กัมพูชา 222,907 คน และลาว 97,848 คน ซึ่งตัวเลขดังกล่าว

แม้ค่อนข้างน้อย แต่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่า จะมีแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียน 800,000-1,000,000 คนสะท้อนให้เห็นว่าจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายในประเทศไทยไม่ได้มีมากเท่ากับที่หลายหน่วยงานคาดการณ์ไว้ และหลังจากนี้จะเป็นไปตามขั้นตอน คือ แรงงานต่างด้าวต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ เพื่อยื่นขอใบอนุญาตทำงานต่อไป ในส่วนของนายจ้างที่ไม่ได้พาแรงงานมาขึ้นทะเบียน จะต้องให้แรงงานต่างด้าวกลับประเทศ จากนั้นต้องนำเข้าตามระบบ MOU

ก่อสร้างแชมป์ยื่นคำขอ

สำหรับประเภทกิจการที่มีการยื่นคำขอจดทะเบียนใช้แรงงานต่างด้าวสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ภาคก่อสร้าง 181,772 คน, เกษตรและปศุสัตว์ 170,854 คน, จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม 70,384 คน, การให้บริการต่าง ๆ (ไม่รวมรับเหมา) 58,914 คน และกิจการผู้รับใช้ในบ้าน 51,512 คน พิจารณาเป็นรายจังหวัดพบว่า จังหวัดที่มีมาแจ้งมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ กรุงเทพมหานคร 152,904 คน, ชลบุรี 36,734 คน, สมุทรปราการ 33,645 คน, ปทุมธานี 28,521 คน และระยอง 28,320 คน ส่วนจังหวัดที่มีมาแจ้งน้อยที่สุด คือ ยโสธร 83 คน

“ช่วงเวลาหลังจากนี้ถึงสิ้นปี 2560 ซึ่งชะลอการบังคับใช้มาตรา 101, 102, 119 และ 122 ของ พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 เป็นช่วงที่จะไม่มีการจับปรับดำเนินคดีนายจ้าง แม้จุดนี้อาจเป็นช่องโหว่ทางหนึ่งได้ แต่อยากให้มองเจตนารมณ์ของกฎหมายมากกว่าว่า ต้องการให้นายจ้างดำเนินการอย่างถูกต้อง หลังจากพ้นช่วงที่มีการผ่อนปรนให้แล้ว จะมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น ให้แรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายมาอยู่ในระบบทั้งหมด”




สั่งสกัดด่วนนายหน้าเถื่อนระบาด

นายวรานนท์กล่าวว่า ประเด็นที่ทางกระทรวงแรงงาน กับกรมการจัดหางาน เป็นห่วงและกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิด คือ ขณะนี้เริ่มมีนายหน้าเถื่อนแอบอ้างจะนำเข้าแรงงานต่างด้าวให้นายจ้าง และผู้ประกอบการ แล้วเรียกค่าตอบแทนจากนายจ้าง หรือผู้ประกอบการ ซึ่งตนได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่แล้วว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงได้สั่งการและกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ และหาทางป้องกันแก้ไขปัญหา หากตรวจพบว่ามีการแอบอ้างจริง โดยไม่ได้เป็นนายจ้างที่ขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวเอง หรือไม่ได้เป็นบริษัทนำเข้าแรงงานที่ได้รับใบอนุญาต จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเฉียบขาดทันที หากผิดจริงจะมีโทษจำคุก 3-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 200,000-600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ให้บี้นายจ้างยื่นคำขอ

ความเคลื่อนไหวของภาคเอกชน นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ และประธานคณะกรรมการแรงงาน และพัฒนาฝีมือแรงงาน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การขึ้นทะเบียนค่อนข้างน้อย อาจมาจากภาคอุตสาหกรรมรวมถึงโรงงานได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วส่วนใหญ่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจต้องผลักดันให้ผู้ประกอบการนำแรงงานต่างด้าวที่เหลือมาขึ้นทะเบียนทั้งหมดให้ได้

สำหรับกลุ่มที่ยังเข้ามาขึ้นทะเบียนค่อนข้างน้อย คือ กลุ่มแรงงานในบ้าน ขายปลีก แผงลอย ฯลฯ ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีการสำรวจจำนวนที่แท้จริง ส่วนกรณีต้องขยายเวลาขึ้นทะเบียนหรือไม่เป็นเรื่องที่ภาครัฐต้องพิจารณา

อ้อนรัฐขยายเวลาขึ้นทะเบียน

นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การขึ้นทะเบียนแรงงานที่ยังมีน้อยเพราะให้เวลาเพียง 15 วัน และจากที่ได้ลงพื้นที่บางจังหวัดค่อนข้างมีแรงงานมาขึ้นทะเบียนหนาแน่น บางจังหวัดมีปริมาณน้อย แม้จะประชาสัมพันธ์แล้วว่าสามารถไปขึ้นทะเบียนได้ทุกศูนย์ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ประเด็นนี้รัฐต้องแก้ไขต่อไป ในขณะที่การขึ้นทะเบียนแรงงานด้วยระบบออนไลน์อยู่ในระดับน่าพอใจ อาจจำเป็นต้องขอรัฐขยายเวลาขึ้นทะเบียน

ด้านแหล่งข่าวจาก ส.อ.ท.ระบุว่า มีข้อน่าสังเกตว่าการขึ้นทะเบียนขอใช้แรงงานต่างด้าวครั้งนี้ที่ยอดการขึ้นทะเบียนน้อยกว่าปกติค่อนข้างมาก หากเป็นเพราะแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายในประเทศไทยมีน้อยถือเป็นเรื่องน่ายินดี แต่หากมาจากแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่กลับประเทศ ไม่มีนายจ้าง หรือมีนายจ้างแต่นายจ้างไม่นำมาแจ้งขึ้นทะเบียน แต่อาศัยช่วงเวลาที่รัฐบาลผ่อนปรนใช้แรงงานผิดกฎหมายต่อไปอีก 4-5 เดือนจากนั้น เมื่อรัฐบาลบังคับใช้กฎหมายเต็มที่ค่อยหาทางแก้ เช่น หากจำเป็นต้องใช้แรงงานต่างด้าวค่อยยื่นคำขอใหม่ อย่างไรก็ตาม ที่น่าห่วงสุดคือแรงงานขาดจะยังเป็นปัญหาหนักสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ และอุตสาหกรรมทั้งระบบ

เปิดปมแรงงานไม่ขึ้นทะเบียน

นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กรณีแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนน้อย มาจาก 3 สาเหตุ คือ 1) เงื่อนไขที่ภาครัฐกำหนดให้นายจ้าง ลูกจ้าง ต้องพิสูจน์กันว่าเป็นนายจ้าง ลูกจ้าง ก่อนที่กฎหมายจะบังคับใช้เมื่อ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งนายจ้างค่อนข้างกลัวว่าจะถูกลงโทษย้อนหลัง 2) อาชีพสงวน 39 อาชีพ ยังไม่มีความชัดเจนในการขึ้นทะเบียน ซึ่งส่วนนี้มีจำนวนแรงงานต่างด้าวพอสมควร ในขณะที่อธิบดีกรมการจัดหางานได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า พร้อมจะทบทวนปลดล็อกอาชีพสงวนดังกล่าวตามสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน และ 3) แรงงานต่างด้าวในสวนยาง และสวนปาล์ม มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่มาขึ้นทะเบียน เพราะมีกระแสข่าวว่ารัฐจะแก้บทลงโทษขั้นต่ำที่ 400,000 บาท ให้ลดลงมาอยู่ที่ 2,000-10,000 บาท

ร้านอาหารจ้างพาร์ตไทม์เสริม

ด้านนางลัดดา สำเภาทอง นายกสมาคมการค้าธุรกิจร้านอาหาร กล่าวว่า ตัวเลขผู้มาลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวในภาคธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่มถือว่ายังน้อย ไม่น่าจะเพียงพอกับความต้องการแรงงานในตลาด แต่คงไม่ถึงกับส่งผลกระทบผู้ประกอบการจนถึงขั้นต้องปิดกิจการ เพียงแต่อาจต้องปรับแผนการดำเนินธุรกิจ เช่น ว่าจ้างแรงงานพาร์ตไทม์มาเสริม สำหรับร้านที่มีลูกค้าเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ขณะนี้สมาคมเองอยู่ระหว่างศึกษาความต้องการแรงงานในตลาดธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม เพื่อเป็นตัวกลางในการช่วยจัดหาแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านถูกกฎหมายมาสนับสนุนผู้ประกอบการร้านอาหารที่เป็นสมาชิกของสมาคม และสมาคมดูแลอยู่

เชียงใหม่แรงงานขาดหนัก

สำหรับต่างจังหวัด นางศิริพร ตันติพงษ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า หลังประกาศใช้กฎหมายแรงงานฉบับใหม่ คาดว่าแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่เดินทางกลับประเทศไปแล้ว เมื่อเปิดให้นายจ้างนำแรงงานไปจดทะเบียนให้ถูกต้อง ทำให้มีแรงงานไปจดทะเบียนน้อย ในส่วนของเชียงใหม่ขณะนี้ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างมาก โดยเฉพาะแรงงานภาคเกษตร เกษตรอุตสาหกรรม และแรงงานกลุ่มแม่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ต้องใช้แรงงานต่างด้าว

ทั้งนี้ ศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวเชียงใหม่รายงานว่า มีนายจ้างนำลูกจ้างคนต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนแรงงาน 9,053 ราย แบ่งเป็น นายจ้างบุคคลธรรมดา 8,347 ราย นิติบุคคล 699 ราย ประเภทต่างชาติ 7 ราย ขณะที่ลูกจ้างต่างด้าวมาขึ้นทะเบียน 37,665 ราย แบ่งเป็น เมียนมา 37,445 ราย ลาว 94 ราย กัมพูชา 126 ราย

นนท์-ปทุมฯถูกกฎหมายกว่าครึ่ง

ส่วนในพื้นที่ปริมณฑล นายพรชัย สาเมือง เลขาธิการหอการค้าจังหวัดนนทบุรี เปิดเผยว่า สาเหตุที่ตัวเลขแรงงานมาขึ้นทะเบียนน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ 150,000 คน มาจากหลายส่วน เช่น แรงงานกลับประเทศไปแล้ว และบางส่วนยังไม่ไปดำเนินการ เพราะหานายจ้างไม่ได้ รวมถึงแรงงานต่างด้าวที่คาดว่าจะมี 150,000 คน อาจถูกกฎหมายอยู่แล้วครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้โรงงาน-นายจ้างที่ทำถูกกฎหมายก็มีมากกว่าครึ่งอยู่แล้ว โดยธุรกิจที่ใช้แรงงานส่วนนี้มากที่สุด คือ กิจการก่อสร้าง กิจการที่เกี่ยวกับการผลิต เช่น โรงงานเฟอร์นิเจอร์ โรงงานเครื่องปรับอากาศ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก อุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น

นายภัสพลภ์ ชันสุริยาทวิกุล ประธานหอการค้าจังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่า ยอดขอใช้แรงงานต่างด้าวมีแรงงานมาจดทะเบียน 31,115 ราย นายจ้างบุคคลธรรมดา 6,495 ราย นิติบุคคล 1,521 ราย รวมนายจ้างทั้งหมด 8,011 ราย น้อยกว่าที่คาดไว้ว่าจะมีแรงงานมาขึ้นทะเบียนถึง 1 แสนราย เนื่องจากจังหวัดปทุมธานีมีแรงงานนอกระบบภาคการเกษตรเยอะมาก รวมถึงกลุ่มเอสเอ็มอี สาเหตุที่มาจดทะเบียนน้อยมาจากบางส่วนกลับประเทศตั้งแต่กฎหมายประกาศใช้ บางส่วนนายจ้างรีบส่งกลับประเทศ ขณะที่แรงงานเองก็เกรงกลัวไม่กล้ามาขึ้นทะเบียน

นครปฐมหันจ้างงานคนไทย

ขณะที่นายสุรเดช นิลเอก ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า แรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนต่ำกว่าเป้า หรือไม่นั้นเป็นประเด็นที่ยังไม่ค่อยชัด แต่ที่ผ่านมาถือว่ายังไม่สะดวกเท่าที่ควร และผู้ประกอบการยังสับสนเกี่ยวกับบทบัญญัติกฎหมาย ซึ่งสภาอุตสาหกรรมฯเตรียมจัดประชุมปลายเดือน ส.ค.นี้ โดยเชิญผู้ประกอบการกว่า 100 แห่ง มาร่วมระดมความเห็น จะส่งเสริมให้ปฏิบัติให้ถูกต้อง พร้อมกับรับฟังปัญหาเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป

“ที่นครปฐมใช้แรงงานต่างด้าวน้อย มีโรงงานขนาดใหญ่ที่ใช้บ้าง ที่ผ่านมาพยายามลดสัดส่วนแรงงานต่างด้าว หากจ้างคนไทยได้ก็จะใช้คนไทย เพราะการใช้แรงงานต่างด้าวไม่ได้มีสิทธิพิเศษไม่ได้ช่วยลดต้นทุนแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับยุ่งยากมาก แต่ปัญหาคือแรงงานไม่พอ ทำให้ต้องใช้แรงงานต่างด้าว ที่ต้องทำตอนนี้คือจัดประชุมทำความเข้าใจให้ชัดเจนที่สุด”

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #118 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2017, 08:38:23 PM »
จัดใหญ่ OTOP Select 2017 !! พาณิชย์จับคู่ OTOP พบผู้ซื้อ หนุนเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งจัดใหญ่ OTOP Select 2017 !! พาณิชย์จับคู่ OTOP พบผู้ซื้อ พร้อมมอบ 14 รางวัล TOP of The Best OTOP Select 77 Experienceสร้าง Smart OTOP Trader หนุนเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง ตั้งเป้าโตปีละ 10% สร้างมูลค่าการค้า 125,000 ล้านบาท

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และประธานการเปิดงาน เปิดเผยว่า ในวันนี้ (11 สิงหาคม 2560) กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้จัดงานการเจรจาธุรกิจและเชื่อมโยงช่องทางการตลาด OTOP Select 2017ขึ้น ณ ห้องฟินิกซ์ 1-6 ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี กระทรวงพาณิชย์ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการการตลาดในคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ ได้เร่งดำเนินการขับเคลื่อนตามนโยบาย ‘การผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP’ สอดรับกับนโยบายเศรษฐกิจฐานราก (Local Economy) ของรัฐบาลเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากท้องถิ่นไทยเชื่อมโยงสู่เศรษฐกิจโลก โดย ตั้งเป้าว่า OTOP ต้องขยายตัวต่อเนื่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี


สำหรับกิจกรรมภายในงานการเจรจาธุรกิจและเชื่อมโยงช่องทางการตลาด OTOP Select 2017 แบ่งเป็น 3 กิจกรรมคือ 1) การเจรจาธุรกิจ (Business Matching) เป็นการสร้างโอกาสให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ OTOP ได้พบกับฝ่ายจัดซื้อของธุรกิจ Modern Trade เพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจและเจรจาขยายช่องทางการตลาดให้เปิดอย่างอิสระมากขึ้นและช่วยเปิดช่องทางลัดให้ผลิตภัณฑ์ OTOP สามารถกระจายสู่ทั่วประเทศและในตลาดต่างประเทศได้ 2) การสัมมนา ใน 3 หัวข้อได้แก่ เรื่อง พลิกแนวคิดสร้างกลยุทธ์การตลาด OTOP, การสร้าง Smart OTOP ในยุค 4.0 และการเข้าสู่ช่องทางการตลาด OTOP อย่างไรให้สำเร็จ กิจกรรมในส่วนนี้จะช่วยพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจให้เข้าใจตลาดพร้อมเรียนรู้การทำธุรกิจจากผู้ที่ประสบความสำเร็จ และก้าวไปสู่การเป็น Smart OTOP Trader และ 3) การมอบรางวัล ให้กับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ OTOP ที่เป็นที่สุดของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับประเทศ TOP of The Best OTOP Select 77 Experience จำนวน 14 รางวัล

การจัดงานครั้งนี้เป็นการทำงานในรูปแบบประชารัฐ โดยที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Buyer Trader) กว่า 40 ราย เข้าร่วมการพิจารณาคัดสรรผลิตภัณฑ์ OTOP 3-5 ดาว จาก 77 จังหวัด ทั่วประเทศ (เมื่อวันที่ 12-15 มิถุนายน 2560) ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการประเมินมาตรฐานคุณภาพจำนวน 2,011 ราย แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ อาหารและเครื่องดื่ม, ผ้าและเครื่องแต่งกาย, ของใช้ของตกแต่ง และสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร เข้าร่วมคัดเลือกเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ใน 3 ประเภทคือ 1) OTOP Select 2017 มีผู้ผ่านเกณฑ์จำนวน 1,253 ราย 2) Best of OTOP Select 77 Experience (ระดับจังหวัด) มีผู้ผ่านเกณฑ์จำนวน 314 ราย และ 3) TOP of The Best OTOP Select 77 Experience (ระดับประเทศ) มีผู้ผ่านเกณฑ์จำนวน 14 ราย โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะกลายเป็นต้นแบบให้กับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ OTOP ได้ศึกษาและเป็นตัวอย่างให้ก้าวเดินตามความสำเร็จต่อไป

“อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ OTOP ไทยไม่สามารถเติบโตได้แบบก้าวกระโดดคือ ผู้ผลิตไม่มีความเข้าใจกลไกการตลาด ไม่มีช่องทางการจำหน่าย กำลังการผลิตไม่เพียงพอทำให้ไม่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ และหากผลิตในปริมาณมากทำให้สินค้าไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด และส่วนใหญ่ไม่มีการรับรองคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานส่งผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้า ปัญหาเหล่านี้กระทรวงพาณิชย์ได้ให้ความสำคัญและเดินหน้าพัฒนาองค์รวมอย่างเป็นระบบ พร้อมเป็นพี่เลี้ยงช่วยให้ผู้ผลิตสามารถบริหารจัดการธุรกิจในท้องถิ่นจนกระทั่งเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ OTOP ให้เข้าสู่มาตรฐานสากลและพร้อมจำหน่ายในต่างประเทศได้” รมช. กล่าว

อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์เล็งเห็นว่าผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ได้ผ่านการคัดสรรในประเภทต่างๆ กว่าร้อยละ 50 มีศักยภาพและมีความพร้อมที่จะพัฒนาต่อยอดให้ก้าวไปสู่ตลาดต่างประเทศได้อย่างไม่ยาก โดยกระทรวงฯ จะดำเนินการพัฒนาผู้ผลิตและผลักดันผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้เติบโตควบคู่กับมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมถึงสร้างการรับรู้ให้ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาไทยกลายเป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการ OTOP ที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 8,891 กลุ่ม/ราย และมีผลิตภัณฑ์จำนวน 98,436 ผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็นประเภทอาหาร 31,175 ราย เครื่องดื่ม 4,146 ราย, ผ้าและเครื่องแต่งกาย 21,203 ราย, ของใช้ ของตกแต่ง และของที่ระลึก 29,511 ราย และสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร 12,401 ราย (ข้อมูลจาก กรมการพัฒนาชุมชน) นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ OTOP ยังสามารถสร้างมูลค่าทางการค้าได้สูงถึง 125,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #119 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2017, 08:47:32 PM »
“อุตตม”มั่นใจสินเชื่อSMEรวมทุกยอดเริ่มกระตุ้นศก.ปลายปีนี้ 600,000 ล้านบาท แก้ปัญหาฐานรากฝืด

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคาดว่าช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้(ตุลาคม-ธันวาคม2560) จนถึงต้นปี 2561 จะมีเงินเข้าหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอีกประมาณ 500,000-600,000 ล้านบาท เป็นผลมาจากมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)ให้สามารถเข้าถึงเงินทุนและองค์ความรู้ในการประกอบธุรกิจจากวงเงินกองทุนประชารัฐรวม 38,000 ล้านบาท สินเชื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน 7,500 ล้านบาท และมาตรการค้ำประกันสินเชื่อของบรรษัทสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) วงเงิน 81,000 ล้านบาท ในอัตรา 30% โดยเงินที่เข้าหมุนเวียนเศรษฐกิจครั้งนี้จะเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจระดับฐานรากที่กำลังมีสัญญาณไม่ดีนัก เพราะผู้ได้รับประโยชน์ตรงคือ เอสเอ็มอีหลายหมื่นราย แรงงานในภาคเอสเอ็มอี และเกษตรกร


นายอุตตมกล่าวว่า กองทุนประชารัฐและอื่นๆรวม 38,000 ล้านบาท ที่แบ่งเป็น กองทุนประชารัฐ 20,000 ล้านบาท สินเชื่อเอสเอ็มอี ทรานฟอร์เมชั่น โลน ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอีแบงก์) 15,000 ล้านบาท และกองทุนจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) 3,000 ล้านบาท ขณะนี้มีการอนุมัติสินเชื่อไปพอสมควร โดยเฉพาะสินเชื่อของเอสเอ็มอีแบงก์ อนุมัติแล้ว 8,286 ล้านบาท กองทุนสสว.อนุมัติแล้ว 577 ล้านบาท และกองทุนประชารัฐอนุมัติ 696 ล้านบาท แต่มีคำขอที่รออนุมัติขั้นสุดท้ายอีกกว่า 700 ล้านบาท รวมวงเงิน 1,400 ล้านบาท คาดว่าทั้งหมดจะสามารถอนุมัติได้หมดภายในเดือนตุลาคมนี้

สำหรับการค้ำประกันสินเชื่อของบสย.วงเงิน 81,000 ล้านบาท จะเริ่มให้ความช่วยเหลือวันที่ 11 สิงหาคมนี้ โดยรัฐบาลจะรับภาระค่าธรรมเนียมการค้ำประกันแทนเอสเอ็มอีใน 4 ปีแรก อยู่ที่ 1.75%ต่อปี 1.25%ต่อปี 0.75%ต่อปี และ0.25%ต่อปี ตามลำดับ และให้สถาบันการเงินร่วมชดเชยค่าธรรมเนียมที่เหลือในปีที่ 2 ถึง 4

 

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #120 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2017, 11:01:02 PM »
เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 โตเกินคาด อีไอซีมองทั้งปีโต 3.6%YOY

บทวิเคราะห์โดย EIC ธนาคารไทยพาณิชย์

 

Event


สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานตัวเลข GDP ของไทยในไตรมาส 2 ปี 2017 ขยายตัว 3.7%YOY (เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า) หรือเติบโต 1.3% หากเทียบกับไตรมาสก่อนแบบปรับฤดูกาล ทำให้ GDP ของไทยในครึ่งปีแรกขยายตัวได้ที่ 3.5%YOY

Analysis

การส่งออกสินค้า – การท่องเที่ยวหนุนเศรษฐกิจไทยเติบโตต่อเนื่อง การส่งออกสินค้าขยายตัวต่อเนื่องที่ 5.2%YOY เติบโตสูงสุดในรอบกว่า 4 ปี จากการขยายตัวในทุกหมวดสินค้า และเติบโตได้ดีในเกือบทุกตลาดส่งออก ยกเว้นการส่งออกรถยนต์นั่งไปยังตลาดตะวันออกกลาง ทั้งนี้ การฟื้นตัวของภาคการส่งออกได้รับแรงสนับสนุนจากทั้งปัจจัยด้านราคาและปริมาณ โดยราคาน้ำมันดิบโลกที่ยังเติบโตในไตรมาส 2 ส่งผลให้การส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันเติบโตสูงถึง 27%YOY นอกจากนี้ ภาคการผลิตโลกที่ฟื้นตัวทำให้ความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมหลักจากไทย ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เติบโตตามไปด้วย ในขณะเดียวกัน ภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่องภายหลังจากการปราบปรามทัวร์ผิดกฎหมายและการกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย ส่งผลให้การส่งออกภาคบริการขยายตัวกว่า 8.8%YOY เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่เติบโตเพียง 3.2%YOY ทั้งนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาส 2 เพิ่มขึ้นกว่า 7.6%YOY ขณะที่นักท่องเที่ยวจีนและรัสเซียเพิ่มขึ้น 0.1%YOY และ 19.2%YOY ตามลำดับ

การบริโภคภาคเอกชนกระจุกตัว สะท้อนกำลังซื้อโดยรวมไม่เข้มแข็ง โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ 3.0% ชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน ซึ่งปัจจัยสนับสนุนหลักยังคงมาจากการบริโภคสินค้าคงทนโดยเฉพาะรถยนต์ที่ขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่องที่ 13.6%YOY ส่วนหนึ่งเป็นเพราะค่ายรถยนต์ต่างๆ มีการออกรายการส่งเสริมการขายในประเทศอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การบริโภคสินค้าไม่คงทนค่อนข้างทรงตัวจากไตรมาสก่อน เช่น อาหารและเครื่องดื่ม เสื้อผ้า เป็นต้น สะท้อนว่ากำลังซื้อของผู้มีรายได้น้อยในประเทศยังไม่ได้ฟื้นตัวชัดเจนนัก

การลงทุนภาคเอกชนกลับมาฟื้นตัวได้เกินคาด ขณะที่การลงทุนภาครัฐหดตัว การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ 3.2%YOY โดยเป็นการขยายตัวในเกือบทุกหมวด ทั้งการลงทุนก่อสร้างที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะคอนโดมิเนียม และการก่อสร้างที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย อาทิ โรงแรมและโรงพยาบาล รวมถึง การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรก็กลับมาขยายตัวได้ อย่างไรก็ตาม การลงทุนก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมยังลดลงต่อเนื่องที่ 9.1%YOY สะท้อนว่าภาคการผลิตยังไม่ได้ฟื้นตัวมากนัก ขณะที่การลงทุนภาครัฐหดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ไตรมาส ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเร่งเบิกจ่ายไปในช่วงก่อนหน้านี้แล้วและไม่ได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในช่วงไตรมาส 2 หลังมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กได้เสร็จสิ้นโครงการไปแล้ว

Implication

อีไอซีปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2017 เติบโต 3.6% จากเดิมที่ 3.4% ตามมุมมองต่อเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น ซึ่งช่วยหนุนการส่งออกสินค้าให้ฟื้นตัวได้ต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี เศรษฐกิจคู่ค้าหลักทั้ง สหรัฐฯ ยูโรโซน ญี่ปุ่น และจีน ที่มีแนวโน้มเติบโตดีขึ้นตลอดปี 2017 และความกังวลทางการเมืองในยุโรปที่ลดลง จะช่วยเสริมความเชื่อมั่นให้กับการค้าและการลงทุนและส่งผลต่อเนื่องถึงความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมหลักจากไทยให้ฟื้นตัวได้ต่อในช่วงที่เหลือของปี อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวลดลงอาจทำให้การส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องไม่สามารถขยายตัวได้สูงเทียบเท่ากับในช่วงครึ่งปีแรก อีกทั้งค่าเงินบาทที่แข็งค่ากว่าประเทศคู่แข่งในภูมิภาคอาจกระทบความสามารถในการแข่งขันทางด้านราคาของผู้ส่งออก โดยเฉพาะสินค้าโภคภัณฑ์ นอกจากนี้ นโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ยังคงเป็นอีกความเสี่ยงสำคัญของการค้าโลกที่ต้องติดตาม

กำลังซื้อของผู้มีรายได้น้อยมีแนวโน้มอ่อนแอ หวังแรงกระตุ้นภาครัฐช่วยหนุน โดยกำลังซื้อของภาคครัวเรือนในประเทศยังค่อนข้างอ่อนแอ เห็นได้จากตัวเลขการจ้างงานในช่วงครึ่งแรกของปีหดตัวลง 0.2%YOY โดยเฉพาะการจ้างงานในภาคการผลิตลดลงถึง 3%YOY แสดงให้เห็นว่าการฟื้นตัวของการส่งออกอาจไม่ได้ส่งผ่านไปสู่การจ้างงานในอุตสาหกรรมต่างๆ มากนัก เนื่องจากอุตสาหกรรมที่ได้รับผลดีจากการส่งออกส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานน้อย นอกจากนี้ รายได้ภาคเกษตรก็มีแนวโน้มชะลอตามราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดที่เริ่มปรับตัวลดลงจากในช่วงต้นปี เช่น ราคายาง ราคามันสำปะหลัง ราคาปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ทั้งนี้ มาตรการภาครัฐจะเข้ามาเป็นแรงสนับสนุนอุปสงค์ในประเทศที่สำคัญในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งเม็ดเงินอัดฉีดจากงบกลางปี 2017 มูลค่า 1.9 แสนล้านบาทซึ่งจะกระจายสู่พื้นที่จังหวัดต่างๆ มากขึ้น และมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐที่จะเริ่มแจกจ่ายในเดือนตุลาคม

จับตาเงินบาทแข็งค่ากว่าสกุลเงินภูมิภาคกระทบการส่งออกสินค้า โดยเฉพาะสินค้าโภคภัณฑ์ ความเสี่ยงสำคัญในช่วงที่เหลือของปีคือ เงินบาทที่แข็งค่ามากที่สุดในเอเชียในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งอาจกระทบความสามารถในการแข่งขันทางด้านราคาของผู้ส่งออก ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่าสินค้าที่ไทยส่งออกคล้ายกับกลุ่มประเทศในเอเชีย และมีตลาดส่งออกหลักเดียวกัน คือ สินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะ ข้าวและยางพารา โดยเงินบาทที่แข็งค่ายังมีส่วนกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในประเทศ เนื่องจาก ราคาสินค้าเกษตรในประเทศมีแนวโน้มลดต่ำลงตามส่วนต่างอัตรากำไรขั้นต้นของผู้ส่งออกที่ลดลงจากเงินบาทที่แข็งค่า ดังนั้น เงินบาทที่แข็งค่าเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรในประเทศและกำลังซื้อในประเทศในระยะต่อไปอีกด้วย

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #121 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2017, 11:01:32 PM »
DITP ยกขบวนสินค้าฮาลาลไทยคุณภาพอินเตอร์พบคู่ค้าอิหร่าน

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) นำทัพผู้ประกอบการสินค้าฮาลาลไทยพบคู่ค้าใหม่ในอิหร่าน หวังเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดที่กำลังเติบโตสูง พร้อมเดินหน้าโปรโมทตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark หรือ T Mark เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้นำเข้าได้รับสินค้าไทยมาตรฐานสากล

นายทวีป ราชาภักดี อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการพาณิชย์) สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน เปิดเผยว่า อิหร่านเป็นตลาดเกิดใหม่ มีความต้องการสินค้าใหม่จากต่างประเทศค่อนข้างมาก โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค เพราะไม่สามารถผลิตเพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคในประเทศได้ ตลาดนี้มีผู้บริโภคมากกว่า 80 ล้านคน ซึ่งร้อยละ 60 เป็นคนวัยทำงานและหนุ่มสาว ถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีทิศทางการขยายตัวดี เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในตะวันออกกลาง ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะสินค้าฮาลาล ที่กำลังมองหาตลาดใหม่จึงไม่ควรมองข้ามอิหร่านที่เป็นตลาดเกิดใหม่ และผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง




“คนอิหร่านเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น ทำให้เรียกร้องหาสินค้าคุณภาพจากต่างประเทศ ซึ่งราคาไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อ ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีการขยายตัวของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่อย่างรวดเร็ว ทำให้ชาวอิหร่านมีโอกาสและทางเลือกในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันร้อยละ 60 ของประชากร ที่มีรายได้ปานกลาง-ล่าง ยังชอบซื้อสินค้าในตลาดท้องถิ่น เพราะมีสินค้าราคาถูก หลากหลาย ในบรรยากาศที่คุ้นเคย”

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้จัดกิจกรรมเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยและคู่ค้าชาวอิหร่าน เมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ณ กรุงเตหะราน และเมืองอิสฟาฮาน ประเทศอิหร่าน พบว่าได้รับการตอบรับที่ดี มีผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าฮาลาลไทยร่วมกิจกรรม 16 บริษัท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผู้ผลิตที่ได้รับตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark (T Mark) ได้แก่ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบรนด์มาม่า และเครื่องดื่ม บริษัท เจ.ดี.ฟู้ด โปรดักท์ส จำกัด ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และมะพร้าวทอดกรอบ แบรนด์กินดี บริษัท บลูโอเชียนเบฟเวอเรจ จำกัด ผู้ผลิตเครื่องดื่มขิง แบรนด์จินเจน บริษัท เจียเม้ง จำกัด ผู้ผลิตข้าวบรรจุถุงแบรนด์คิวไรซ์ และบริษัท ที.พี. โฟร์ อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด ผู้ผลิตยาสีฟันสูตรกานพลู แบรนด์ราสยาน และมีผู้ซื้อชาวอิหร่านเข้าร่วมเจรจาการค้า 300 ราย มีมูลค่าการค้าที่เกิดขึ้นทันทีประมาณ 382,000 บาท และมูลค่าที่คาดว่าจะมีการสั่งซื้อภายใน 1 ปี อย่างน้อย 8,390,000 บาท



สำหรับบริษัทไทยที่ร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูป เช่น ข้าว ผลไม้กระป๋อง น้ำผลไม้ เครื่องปรุงรส ขนมขบเคี้ยว และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม โดยสินค้าที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือ สับปะรดกระป๋อง เครื่องสำอางสมุนไพร เครื่องดื่มขิง และข้าว

“ในภาพรวมชาวอิหร่านมองว่าสินค้าไทยมีคุณภาพสูง ราคายุติธรรม และมีรูปแบบที่ตลาดต้องการ โดยเฉพาะอาหารกระป๋อง ซึ่ง DITP โดยสคต. เตหะราน ได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้นำเข้าสินค้าไทย ด้วยการประชาสัมพันธ์ตราสัญลักษณ์ T Mark ว่าเป็นตราที่รับรองคุณภาพมาตรฐานสากลของสินค้าไทย และเป็นตราสัญลักษณ์ที่ผู้นำเข้าควรมองหา เพื่อสร้างหลักประกันด้านคุณภาพให้ผู้บริโภค”

ทั้งนี้ DITP จัดทำตราสัญลักษณ์ T Mark ตั้งแต่ปี 2555 เพื่อตอกย้ำจุดแข็งและสร้างความโดดเด่นอย่างมีเอกลักษณ์แก่สินค้าและบริการจากประเทศไทย ซึ่งมีคุณภาพที่ทั่วโลกไว้วางใจ (Trusted Quality) ในทุกมิติ ได้แก่ กระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานสากล ใช้แรงงานอย่างเป็นธรรม (Fair Labour) การผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Environmental Concern) มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) และที่สำคัญคือคุณภาพที่เกิดจากความมุ่งมั่นตั้งใจลงมือทำด้วย “ใจ” ของผู้ประกอบการ (Heartmade Quality)

ปัจจุบันมีบริษัทผลิตสินค้าและบริการของไทยได้รับตราสัญลักษณ์ T Mark รวม 738 บริษัท โดยมี 2 ประเภทหลัก คือ สินค้า ได้แก่ สินค้ากลุ่มอาหาร อุตสาหกรรมหนัก ไลฟ์สไตล์ แฟชั่น สินค้าทั่วไป และธุรกิจบริการ ได้แก่ กลุ่มส่งเสริมสุขภาพ การศึกษานานาชาติ และธุรกิจบริการรักษาพยาบาล

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #122 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2017, 11:01:50 PM »
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตัวเลขจีดีพีที่สภาพัฒน์แถลงว่าไตรมาส 2/2560 ขยายตัว 3.7% เป็นตัวเลขที่น่าพอใจ สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวเร็วและรักษาโมเมนตัมได้ดี เอื้อต่อการปฏิรูปเศรษฐกิจประเทศในระยะต่อไป ซึ่งตัวเลขที่สนับสนุนให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมาคือการลงทุนภาคเอกชนการท่องเที่ยว และภาคการเกษตร แต่ในส่วนที่ชะลอลงคือการลงทุนภาครัฐ ดังนั้นระยะที่เหลือของปีนี้ภาครัฐจะต้องปั๊มการลงทุนให้เพิ่มขึ้น และรอฟังตัวเลขการส่งออกที่จะออกมาเร็วๆ นี้ หากทั้งสองตัวนี้ดีต่อเนื่องก็จะทำให้เศรษฐกิจดีต่อเนื่องไปได้

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไตรมาส 2 ของปีนี้ที่ขยายตัวได้มาก เป็นผลจากที่รัฐบาลเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศทำให้ไทยมีพื้นฐานที่ความเข้มแข็ง จึงส่งผลให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าเศรษฐกิจไตรมาส 2 โตได้ 3.7% แต่ยังต่ำกว่ารัฐบาลคาดหวังไว้ที่ให้เศรษฐกิจโตเต็มศักยภาพอย่างน้อย 4% ซึ่งขณะนี้ใกล้ความเป็นจริง เพราะตอนนี้เศรษฐกิจยังโตเพิ่มขึ้นได้อีก


นอกจากนี้ การลงทุนภาคเอกชนในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี ) มีนักลงทุนมาขอลงทุนกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมลงทุน (บีโอไอ) จำนวนมาก ซึ่งจะมีส่วนสำคัญให้จีดีพีไทยโตได้ถึง 5% คาดว่าจะใช้เวลา 2-3 ปี ในการลงทุนของอีอีซีจะเดินหน้าได้เต็มที่ เพราะว่าเป็นโครงการขนาดใหญ่ ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ ซึ่งตอนนี้มีการตั้งสำนักงานอีอีซี ทำให้การขับเคลื่อนลงทุนเอกชนเป็นด้วยความรวดเร็วขึ้น ที่ผ่านมาได้หารือกับนักลงทุนต่างชาติสนับสนุนโครงการอีอีซีอย่างมาก

นายอภิศักดิ์กล่าวว่า เศรษฐกิจที่ขยายตัวได้มาก เป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลดีในภาพรวมให้กับประเทศ ทำให้เอกชนเริ่มลงทุนมากขึ้น และจะมีผลตามมาทำให้กระจายรายได้ไปสู่ผู้มีรายได้น้อยมากขึ้น เหมือนในอดีตที่เศรษฐกิจประเทศไทยเคยโตกว่า 10% ช่วยให้คนจนลดลงไปจำนวนมาก ซึ่งหลายปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยหยุดขยายตัวทำให้คนจนกลับมาเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตามการที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวครั้งนี้ ยังไม่ส่งผลต่อผู้มีรายได้น้อยอย่างเต็มที่ โดยรัฐบาลจะมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่ม เช่น แจกสวัสดิการภาครัฐ มีทั้งค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะมีการเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ในเร็วๆ นี้

นอกจากนี้ยังมีช่วยเหลือระยะที่สอง คือการเพิ่มรายได้ให้กับผู้มีรายได้น้อยต่ำกว่าเส้นความยากจน หรือผู้มีรายได้ไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อปี โดยรัฐบาลจะเติมเงินให้คนกลุ่มนี้ ตอนนี้อยู่ระหว่าพิจารณารายละเอียด เกี่ยวกับตัวชี้วัด เรื่องความยากจนให้ชัดเจน เบื้องต้นให้ทำบัญชีครัวเรือน โดยแบงก์รัฐได้ดำเนินการไปแล้วบางส่วน คาดว่าภายใน 2-3 ปีจะทำให้แก้ปัญหาความยากจนดีขึ้นมาก

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #123 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2017, 11:02:15 PM »
สศก.ชี้โครงการรัฐอัดเงินลงภาคเกษตรดันจีดีพีโต 1% หลังผลผลิตล้นราคาเดือนก.ค.ร่วง

น.ส.จริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรประจำเดือนก.ค. 2560 ราคาลดลง 15.62% จากช่วงเดียวกันของปี2559 จากราคาสินค้าที่เกษตรปรับตัวลดลง ได้แก่ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ลำไย สุกร และกุ้งขาวแวนนาไม เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ฉุดดัชนีรายได้ภาคเกษตรกรหด 2.64% จากปีก่อน จากดัชนีผลผลิตขยับเพิ่มขึ้น 15.38% ส่วนในช่วง 6 เดือนหลังของปีนี้ ต้องจับตาสถานการณ์ผลผลิต ที่จะออกมาปลายปีทั้ง ข้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มันสำปะหลัง หากอออกมามากอาจกดดันราคาทรงตัวใกล้เคียงช่วง 6 เดือนแรก


เมื่อจำแนกตามกลุ่มสินค้า กลุ่มธัญพืชและพืชอาหาร ดัชนีราคาลดลง 6.26%ในสินค้า มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กลุ่มไม้ยืนต้น ดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 0.73% ในสินค้า ยางพารา กลุ่มไม้ผล ดัชนีราคาลดลง 44.93 % ได้แก่ ลำไย มังคุด และเงาะโรงเรียน กลุ่มพืชน้ำมัน ดัชนีราคาลดลง 37.22% ในสินค้า ปาล์มน้ำมัน กลุ่มพืชไม้ดอก ดัชนีราคาลดลง 37.24% กลุ่มปศุสัตว์ดัชนีราคาลดลง 7.06% ในสินค้าสำคัญ คือ สุกร และไข่ไก่ กลุ่มประมง ดัชนีราคาลดลง 5.97%

ในเดือนส.ค. นี้ คาดว่าดัชนีราคาจะลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลำไย มังคุด เงาะโรงเรียน สุกร และกุ้งขาวแวนนาไม

ส่วนสถานการณ์ราคาจะขึ้นอยู่กับผลผลิตที่จะออกมาในช่วงปลายปี หรือตั้งแต่เดือนส.ค.เป็นต้นไป หากราคาสินค้าเกษตรลดลงจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นสศก.ไม่ได้กังวลว่าจะมีผลกระทบต่อจีดีพีภาคเกษตร เพราะในช่วง 6 เดือนสุดท้าย แม้ราคาสินค้าเกษตรจะลดลง แต่รัฐบบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มี การดำเนินโครงการ 9101 ที่มีการนำเงินใส่ลงไปในภาคเกษตรกว่า 2 หมื่นล้านบาท มีการเบิกจ่ายงบประมาณ ช่วยพื้นฟูราคาสินค้าเกษตรที่ปรับลดลงได้ เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ส่งผลดีต่อจีดีพีภาคเกษตร 0.8-1%

นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปีนี้ ภาครัฐจะมีงบบูรณาการลงสู่รากหญ้า โดยเฉพาะกระทรวงเกษตรประมาณ 9.9 หมื่นล้านบาท ผลักดันให้มีกองทุนต่างๆเข้ามาช่วยเหลือภาคเกษตร ซึ่ง 6 เดือนหลังปีนี้ เกษตรกรน่าจะมีรายได้ดีขึ้นจากนโยบายของรัฐบาล

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #124 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2017, 11:02:38 PM »
“อุตตม” ดันอุต S-Curve เศรษฐกิจภาคอีสาน ดันผู้ประกอบการโคราชรายใหญ่ช่วย SMEs

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการในจังหวัดนครราชสีมา พร้อมหารือแนวทางความร่วมมือในลักษณะประชารัฐ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาคอีสาน โดยเข้าเยี่ยมชมแห่งแรกที่ บริษัท พี.ซี.เอส.แมชีน กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนหลักของรถยนต์ที่สำคัญของไทย มีเทคโนโลยีและโนว์ฮาวการผลิตระดับสูง มีฐานที่มั่นคง สถานะการเงินที่แข็งแกร่งและได้รับการยอมรับอย่างสูงจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ระดับโลกจากประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรปมากว่า 30 ปี

ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ของรัฐบาล ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาช่วยในกระบวนการหล่อโละและตกแต่งชิ้นงาน รวมทั้งพัฒนาด้านการอนุรักษ์พลังงาน โดยการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าบนหลังคารายใหญ่ในประเทศ แห่งที่ 2 บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานผลิตและแปรรูปแป้งมันสำปะหลังที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียแปซิฟิก มีกำลังการผลิตสูงถึงประมาณ 2,400 ตันต่อวัน โดย 80% ของแป้งมันที่ผลิตได้ถูกส่งออก โดยมีตลาดหลักอยู่ ที่ประเทศจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และบางประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป นับเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นต่อยอดเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร


ซึ่งกากมันสำปะหลังสามารถมาผลิตไบโอแก๊ส นำแก๊สกลับมาใช้ในโรงงานแทนเชื้อเพลิงอื่นๆ และนำไปปั่น/ผลิตกระแสไฟฟ้าส่งขายให้การไฟฟ้า มีการนำไอความร้อนที่เกิดจากเครื่องปั่นไฟฟ้ากลับมาแลกเปลี่ยนความร้อนเป็นพลังงานอีกครั้ง และมีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์

“กระทรวงฯ ได้รับมอบนโยบายเร่งด่วนจากรัฐบาลให้การสนับสนุนช่วยเหลือ SMEs ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและจำนวนที่มากขึ้น โดยร่วมกับหน่วยงานเศรษฐกิจและสถาบันการเงิน เช่น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ธนาคารรัฐและเอกชน และ โดยล่าสุดได้เปิดมาตรการใหม่ ได้แก่ การค้ำประกันสินเชื่อของ บสย.ในวงเงินค้ำประกัน 81,000 ล้านบาท ที่จะรับผิดชอบภาระให้ผู้ประกอบการสูงสุดถึง 30% และพร้อมเปิดอนุมัติให้ความช่วยเหลือ ซึ่งผมเชื่อว่าจะผลักดันให้ SMEs เข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น สามารสร้างเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้ดียิ่งขึ้น  นอกจากนี้ ยังได้เปิดตัวสินเชื่อเพื่ออุตสาหกรรม ธุรกิจ และแฟรนไชส์ที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งระบบ และสนับสนุนนโยบาย Local Economy ของรัฐบาลให้ก้าวสู่ระบบเศรษฐกิจ 4.0 ได้ต่อไป” นายอุตตม กล่าว

ทั้งนี้กระทรวงฯยังมีมาตรการส่งเสริมที่ไม่ใช่การเงิน เช่น มาตรการเพิ่มศักยภาพด้านการผลิต มาตรการเพิ่มศักยภาพด้านการเงินและการบัญชี มาตรการยกระดับมาตรฐานสินค้า มาตรการส่งเสริมด้านการตลาด มาตรการยกระดับศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs รวมทั้งการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และการพัฒนาพื้นที่อย่างมีศักยภาพ เพื่อรองรับการลงทุน โดยในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีการพัฒนาพื้นที่ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น และมุกดาหาร ที่ปัจจุบันได้จัดทำแผนพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเรียบร้อยแล้ว

และได้ทำการศึกษาพื้นที่อุตสาหกรรมที่มีความหนาแน่น และพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตสูงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น ร้อยเอ็ด อุดรธานี หนองคาย อุบลราชธานี และนครพนม เพื่อกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรม โดยก่อนหน้านี้ได้ลงพื้นที่จังหวัดมุกดาหารและได้ร่วมหารือกับหน่วยงานรัฐและเอกชนในพื้นที่ และได้สั่งการให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) พิจารณาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนให้เพิ่มขึ้นในพื้นที่

 

* Calendar

พฤษภาคม 2025
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 [15] 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28 29 30 31