collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ  (อ่าน 9560 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #75 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2017, 10:52:49 PM »
“สนธิรัตน์” ถกเอกชน ระดมสมองดันไทยฮับผลไม้โลก

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในวันที่ 7 สิงหาคม ได้ประชุมร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โครงการหลวง และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับผลไม้ด้านต่างๆ เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การค้าผลไม้ไทย และผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าผลไม้ของโลก ที่จะเป็นการแก้ปัญหาผลไม้ไทยอย่างครบวงจรและระยะยาว ลดปัญหาผลผลิตขาดแคลนหรือล้นตลาด โดยเสนอตั้งคณะทำงานร่วมและทำงานบูรณาการภาครัฐและเอกชนเพื่อดำเนินการให้เป็นรูปธรรม และจัดทำยุทธศาสตร์สำหรับผลไม้ไทยที่มีศักยภาพสามารถแข่งขันในตลาดโลก เริ่มผลไม้ 10 ชนิดก่อน อาทิ กล้วยหอม ทุเรียน มังคุด มะพร้าว

ทั้งนี้ ในแผนยุทธศาสตร์จะใช้การตลาดนำการผลิต นำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาการผลิต เพื่อให้สินค้าบางรายการออกผลผลิตนอกฤดูกาลประมาณ 40-60% รวมถึงใส่นวัตกรรมในการแปรรูปผลไม้สด และกำกับดูแลผู้ค้าคนกลางให้เข้ามารับซื้อผลผลิตตามกลไกตลาดด้วย


นอกจากนี้จะหารือแนวทางช่วยเหลือลำไยล้นตลาด โดยกระทรวงประสานขอสินเชื่อจากกองทุนหมู่บ้าน และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อขอเงินทุนให้โรงอบตามชุมชนในพื้นที่เพาะปลูกลำไยใน 8 จังหวัดภาคเหนือ และเงินทุนหมุนเวียนการรับซื้อลำไยสดจากเกษตรกร แล้วนำไปแปรรูปเป็นลำไยอบแห้ง เพื่อดูดซับลำไยออกสู่ตลาดจำนวนมากในขณะนี้และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ลำไย เบื้องต้นคาดจะใช้งบประมาณ 30 ล้านบาท ซึ่งหลังจากนี้ยังสามารถใช้เครื่องอบต่อยอดไปอบผลผลิตเกษตรอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ข้าว ข้าวโพด

“สถานการณ์ลำไยสด ขณะนี้ราคากิโลกรัม (กก.) ละ 12 บาท เมื่ออบแห้งแล้วสามารถขายได้ถึง กก.ละ 75-185 บาท จึงวางแผนระยะยาวให้โรงอบสามารถดำเนินกิจการได้ทั้งปีด้วย ไม่ใช่เฉพาะแค่หน้าลำไยเท่านั้น ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กำลังต่อยอดนวัตกรรมลำไยด้วยการสกัดเป็นลำไยเข้มข้น คาดมีความต้องการรับซื้อลำไยปีละกว่า 200,000-300,000 ตัน” นายสนธิรัตน์กล่าว

 

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #76 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2017, 10:53:14 PM »
“ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป” ยอดขายไตรมาส 2 เพิ่มขึ้น 1.2% ดันกำไรสุทธิครึ่งปีแรกปี’60 เท่ากับ 2,880 ล้านบาท

“ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป” ยอดขายไตรมาส 2 เพิ่มขึ้น 1.2% ดันกำไรสุทธิครึ่งปีแรกปี’60 เท่ากับ 2,880 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.4% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ผลจากเรด ล็อบสเตอร์ (Red Lobster) และมาตรการลดต้นทุน

นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2560 บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) รายงานผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2560 ยอดขายรวม 34,811 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 1.2% เมื่อเทียบจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ถึงแม้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนและสภาวะตลาดเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

ในส่วนของผลกำไร บริษัทมีกำไรสุทธิเท่ากับ 1,411 ล้านบาท ลดลง 7.6% เมื่อเทียบจากระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา กำไรขั้นต้นลดลง 14.5% จากปีก่อน เท่ากับ 4,669 ล้านบาท ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้น เท่ากับ 13.4% เมื่อเปรียบเทียบกับอัตรากำไรขั้นต้นในไตราส 1 ปี 2559 ที่ 15.9% ซึ่งอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลงเป็นผลมาจากราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจปลาทูน่า รวมถึงค่าเงินในยุโรปที่อ่อนค่าลงอีกด้วย


ในส่วนของธุรกิจหลักของไทยยูเนี่ยน ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงและผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า มียอดขายเติบโตสูงสุดที่ 12.9% จากปีที่แล้ว อยู่ที่ 4,502 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ต่างๆ และการรุกทำตลาดที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ส่วนยอดขายธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งและแช่เย็นของบริษัท เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็น 12,914 ล้านบาท ในขณะที่ยอดขายธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป (ambient) ลดลง 2.8% จากปีที่แล้ว เนื่องจากความต้องการอาหารทะเลแปรรูปในทวีปยุโรปซบเซาและค่าเงินสกุลหลักอ่อนตัว รวมถึงราคาปลาทูน่าที่ยังสูงขึ้น

ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 ไทยยูเนี่ยน มีกำไรสุทธิ 2,880 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.4% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว และยอดขายรวมสูงขึ้น 1 % เป็น 66,244 ล้านบาท จากปีก่อนหน้านี้

ยอดขายจากผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของไทยยูเนี่ยนยังคงอยู่ที่ 43% ในช่วงครึ่งปีแรก ที่เหลือมาจากธุรกิจการรับจ้างผลิตและธุรกิจบริการทางด้านอาหาร สำหรับยอดขายในตลาดสหรัฐอเมริกายังคงมีสัดส่วนที่มากที่สุดเท่ากับ 38% ของยอดขายทั้งหมดในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2560 ตามด้วยตลาดยุโรปเป็นอันดับรองลงมา ด้วยสัดส่วนยอดขายเท่ากับ 33% ตลาดในประเทศไทย มีสัดส่วนเท่ากับ 8% ตลาดญี่ปุ่นมีสัดส่วนเท่ากับ 6% และตลาดอื่นๆ มีสัดส่วนเท่ากับ 15%

ถึงแม้จะเป็นฤดูกาลของธุรกิจที่วุ่นวายน้อย ธุรกิจเรด ล็อบสเตอร์ ในอเมริกา ยังคงแข็งแกร่งและสร้างผลกำไรสุทธิ 235 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ โดยส่วนใหญ่มาจากภาระภาษีที่ลดลงและดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้การควบคุมต้นทุนที่รัดกุม ทำให้ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารในไตรมาสที่ 2 ลดลง 9.6% จากปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 3 พันล้านบาท และอัตราหนี้สินต่อทุนสุทธิในไตรมาสที่ 2 ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 1.33 เท่า จาก 1.37 เมื่อต้นปี เนื่องจากการบริหารเงินสดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

“เรามีความพอใจในผลประกอบการที่มั่นคงนี้มาก ถึงแม้ว่าเราจะคงต้องเผชิญกับความท้าทายในเรื่องของต้นทุนวัตถุดิบ และสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนในหลายตลาดอยู่ในส่วนการลงทุนเชิงกลยุทธ์ใน เรด ล็อบสเตอร์และความพยายามในการควบคุมต้นทุนนั้น ได้ส่งผลเชิงบวกให้แก่บริษัท” นายธีรพงศ์กล่าวเพิ่มเติม

เมื่อเดือนมิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ไทยยูเนี่ยนได้เผยแพร่รายงานความยั่งยืนประจำปี ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของไทยยูเนี่ยนในปี 2559 ที่สะท้อนตามตัวชี้วัดสำคัญ และเป้าหมายที่ได้ระบุไว้ใน SeaChange® กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน โดยรายงานดังกล่าวพูดถึงมาตรการความยั่งยืนที่บริษัทใช้ในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมอาหารทะเลทั่วโลก รวมถึงความก้าวหน้าในการดำเนินกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนในทุกภาคส่วนของการทำธุรกิจ ตั้งแต่การที่บริษัทดูแลท้องทะเล จัดการขยะและของเสีย จนถึงความรับผิดชอบที่มีให้แก่พนักงานในการสร้างอนาคตการทำงานที่ดี และสื่อสารให้สังคมได้รับรู้

สำหรับในการต่อยอดจาก SeaChange® บริษัทได้บรรลุข้อตกลงร่วมกับกรีนพีซในเดือนกรกฎาคม ในการมีพันธกิจต่อธุรกิจอาหารทะเลที่ยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เป็นการสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ร่วมกันเพื่อท้องทะเลที่สมบูรณ์ และเมื่อเดือนมิถุนายน ที่งานประชุม World Economic Forum (WEF) ในนครนิวยอร์ก ไทยยูเนี่ยนได้ให้พันธสัญญาต่อแถลงการณ์การตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของปลาทูน่าปี 2563 (Tuna 2020 Traceability Declaration) โดยพันธสัญญาดังกล่าวเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals – SDGs) นอกจากนี้เรายังได้ลงนามเป็นสมาชิกในโครงการ Seafood Business for Ocean Stewardship (SeaBOS) โดยจะมุ่งมั่นในการพัฒนาการดำเนินงาน รวมทั้งผลักดันให้ทั้งอุตสาหกรรมอาหารทะเลร่วมดำเนินตาม
นอกจากนี้ ไทยยูเนี่ยนยังได้ร่วมกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมและหน่วยงานต่างๆ อาทิเช่น องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ด้านความร่วมมือทางท้องทะเลและการประมง (U.S. Agency for International Development’s Oceans and Fisheries Partnership) ในการใช้โปรแกรมนำร่องการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบแบบดิจิตอล บริษัทได้ติดตั้งระบบสื่อสาร “Fleet One” ของ Inmarsat บนเรือประมง ในขณะที่ลูกเรือ กัปตัน และเจ้าของเรือได้รับการอบรมการใช้งานแอพพลิเคชั่นการสื่อสาร “Fish Talk” ซึ่งพัฒนาโดย Xsense ซึ่งจะทำให้พวกเขาสามารถติดต่อกับครอบครัวและเพื่อนได้ทั่วโลกในขณะที่อยู่ในทะเล นับเป็นครั้งแรกของวงการการประมงไทย

“ไทยยูเนี่ยน มีบทบาทในการเป็นผู้นำและสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก ในฐานะหนึ่งในผู้ผลิตอาหารทะเลรายใหญ่ที่สุดในโลก” นายธีรพงศ์กล่าว “เมื่อมองไปในอนาคตข้างหน้า บริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงและยึดมั่นในการเป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง ที่จะไม่ยอมแพ้ต่อความท้าทายในการสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมนี้ต่อไป”

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #77 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2017, 10:53:36 PM »
7 สมาคมโรงงานเหล็กไทย วิ่งพบ “คมนาคม-คลัง” ขอเอี่ยวขายเหล็กเส้น-ข้ออ้อย โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน หวั่นจีนล็อกสเป็กตีกันเหล็กไทย ช่วงแรก “กลางดง-โคราช” ใช้แต่เหล็กจีน ด้าน สมอ.ชี้หากเป็นมาตรฐานจีนต้องยื่นขอ มอก.ใหม่ ให้ทำใจเหล็กจีนล้นสบช่องระบายสต๊อก ด้านคมนาคมยันจีนมีท่าทีอ่อนลง ให้ใช้เหล็กข้ออ้อยขนาดบั้งตามมาตรฐานไทยได้

นายนาวา จันทนสุรคน นายกสมาคมเหล็กแผ่นรีดร้อนไทย ในฐานะผู้ประสานงานกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กไทย เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า 7 สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กไทย ประกอบด้วย สมาคมการค้าผู้ผลิตเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี, สมาคมผู้ผลิตท่อโลหะและแปรรูปเหล็กแผ่น, สมาคมผู้ผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน, สมาคมผู้ผลิตเหล็กทรงยาวด้วยเตาอาร์คไฟฟ้า, สมาคมเหล็กแผ่นรีดเย็นไทย, สมาคมเหล็กแผ่นรีดร้อนไทย, สมาคมโลหะไทย และผู้ผลิตเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก สมาชิก 472 บริษัท มูลค่าสินทรัพย์-สินค้าจำหน่ายในประเทศกว่า 500,000 ล้านบาท

ทั้ง 7 สมาคมได้ทำหนังสือถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวคมนาคม กับปลัดกระทรวงการคลัง (ดร.สมชัย สัจจพงษ์) เพื่อขอให้รัฐบาลส่งเสริมการใช้สินค้าเหล็กในประเทศกรณี โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-จีน ขอให้พิจารณาจัดหาวัสดุก่อสร้างหลัก โดยเฉพาะ “เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต (เหล็กเส้นกลม-เหล็กข้ออ้อย)” รวมถึงสินค้าเหล็กประเภทอื่น ๆ ที่โรงงานอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศผลิตได้ และเป็นสินค้าที่มีพระราชกฤษฎีกาเป็นไปตามมาตรฐาน ได้แก่ เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต มาตรฐานบังคับ มอก. 20 และ 24, เหล็กลวดคาร์บอนต่ำ มาตรฐานบังคับ มอก.348, เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ มาตรฐานบังคับ มอก.1227 กับ 1228, สินค้าเข็มพืดเหล็กกล้ารีดร้อน มาตรฐานบังคับ มอก.1390, เหล็กแผ่นรีดร้อน มาตรฐานบังคับ มอก.528 กับ 1479 และเหล็กแผ่นรีดเย็น มาตรฐานบังคับ มอก.2012 ทั้งนี้ คำขอดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ซึ่งระบุไว้ในขั้นตอนการก่อสร้างฝ่ายไทยจะดำเนินการ 75% ต้องใช้ผู้รับเหมาไทยและวัสดุอุปกรณ์ที่ผลิตในไทย ขณะที่อีก 25% ได้แก่ ระบบราง ระบบรถไฟฟ้า จะดำเนินการโดยฝ่ายจีน

สอดคล้องกับหนังสือที่ทำไปถึง ดร.สมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ที่ขอให้สนับสนุนการใช้เหล็กภายในประเทศ ซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ในการกำกับดูแลของ สมอ. ภายใต้ พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยเฉพาะในโครงการรถไฟฟ้าไทย-จีน เนื่องจากเกรงว่าโครงการนี้อยู่ภายใต้ มาตรา 44 กฎหมายรัฐธรรมนูญ “อาจจะ” ทำให้กรมบัญชีกลาง ในฐานะหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมาย ไม่สามารถกำกับให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างได้ฯ

“ผู้ผลิตเหล็กภายในประเทศต้องการทราบความชัดเจน เพราะไม่สามารถวางแผนการผลิตหรือการลงทุนเพื่อรองรับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนได้ โดยขณะนี้ไม่มีผู้ผลิตเหล็กรายใดกล้าเพิ่มกำลังการผลิต หรือเพิ่มสต๊อกเหล็ก เพราะเกรงว่าหากผลิตไปแล้ว แต่ไม่มีการใช้ ก็จะเป็นการเพิ่มต้นทุนสูญเปล่า” นายนาวากล่าว


ช่วงแรกเหล็กจีนกินรวบ

1 ใน 7 สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กไทยกล่าวว่า เท่าที่ทราบ จีนซึ่งเป็นคู่สัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูง ระบุใน TOR ว่า ให้ใช้เหล็กที่ผลิตตามมาตรฐานของจีนเท่านั้น โดยระบุสเป็กชนิดและชื่อมาตรฐานของเหล็กจีนที่จะใช้ผลิต สมาคมเข้าใจว่า หากเป็น “เหล็กเกรดพิเศษ” ที่ใช้เป็นองค์ประกอบในตัวรถไฟ และรางรถไฟ จะกำหนดให้ใช้เหล็กของจีนก็ได้ “เพราะไทยผลิตไม่ได้”

แต่กรณีของเหล็กทั่วไป-เหล็กโครงสร้างที่ใช้ก่อสร้างพื้นฐาน เช่น ตัวอาคารสถานี เหล็กเส้น ปรากฏเหล็กไทยมีมาตรฐานเทียบเท่ากับเหล็กจีน เพียงแต่อาจจะมีชื่อเรียกมาตรฐานต่างกันกับจีน แต่สามารถใช้ทดแทนกันได้ ในกรณีนี้ก็ควรใช้เหล็กที่ผลิตภายในประเทศ

นายเภา บุญเยี่ยม เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน กล่าวว่า ขอให้รัฐบาลช่วยเจรจากับจีนให้ใช้เหล็กตามมาตรฐานของไทย หรือหากใช้มาตรฐานจีน ก็ขอให้เป็นขนาด-บั้งที่ไทยผลิตได้ เพราะโครงการนี้ทางวิศวกรจีนเป็นผู้กำหนดและร่างสเป็กในสัญญา สำหรับการกำหนดใช้วัสดุอื่น ๆ รวมถึงเหล็ก แต่ผู้ก่อสร้างโครงการคือ ไทย ปัญหาอย่างเหล็กข้ออ้อย พบว่าบั้งมันไม่เหมือนกัน โรงงานต้องใช้เวลาสั่งซื้อลูกรีดใหม่ ซึ่งในตลาดก็ไม่ได้หาง่าย ๆ ต้องใช้เวลาพอสมควร

“ยกตัวอย่างโครงการก่อสร้างรถไฟไทย-จีนช่วงแรก กลางดงไปนครราชสีมา 35 กม. ในโครงการใช้เหล็กนำเข้าจากจีนทั้งหมด เนื่องจากได้กำหนดสเป็ก เช่น ต้องใช้เหล็กเส้น เหล็กข้ออ้อย ตามมาตรฐานที่จีนต้องการ แต่เครื่องรีดเหล็กของไทยมีปัญหาเรื่องขนาด-บั้ง กลายเป็นไม่ตรงสเป็ก ทำให้ต้องลงทุนปรับเปลี่ยนลูกรีดบั้งใหม่ แต่ด้วยโครงการจะเริ่มก่อสร้างในเดือนตุลาคมนี้แล้ว ผู้ประกอบการเหล็กจึงปรับเปลี่ยนเครื่องรีดไม่ทัน ทำให้เสียโอกาสอย่างมาก ผมคาดการณ์ว่าทั้งโครงการจะมีการใช้เหล็กข้ออ้อยสูงถึง 600,000 ตัน” นายเภากล่าว

การใช้มาตรา 44 จัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลเพื่อให้เกิดความรวดเร็วขึ้นนั้นกลับกลายเป็นว่า ยิ่งเปิดช่องและปิดโอกาสผู้ประกอบการไทย เช่น เร่งการจัดซื้อเหล็กในไทย แต่ผู้ผลิตไทยผลิตให้ไม่ทัน จึงต้องนำเข้าเหล็กจากจีนแทน ตอนนี้ 7 สมาคมกำลังรอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม “รับนัด” เพื่อจะเข้าพบ ไปหารือในเรื่องนี้

หวั่นเป็นที่ระบายเหล็กจีน

นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า สมอ.ได้ร่วมหารือกับผู้ประกอบการผลิตเหล็กในประเทศ โดยมีการแจ้งเรื่องนี้กับกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรถไฟในประเทศไทยไปแล้ว เพื่อร้องขอให้ใช้เหล็กของผู้ประกอบการไทย ในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน “ตอนนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงจะใช้เหล็กของประเทศใด ทั้งหมดต้องขึ้นอยู่กับทางรัฐบาล แต่ สมอ.ก็เตรียมความพร้อมที่จะสนับสนุนการใช้เหล็กของไทยอย่างเต็มที่” นายพิสิฐกล่าว

แต่หากต้องใช้เหล็กให้เป็นไปตามมาตรฐานจีน ผู้ประกอบการโรงงานผลิตเหล็กในประเทศจะต้องมาขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มอก.จาก สมอ.ใหม่ เนื่องจากเป็นคนละมาตรฐานกัน และนอกเหนือจากของเดิมที่เป็นมาตรฐานบังคับด้วย แต่ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า ประเทศจีนมีโรงงานถลุงเหล็กขนาดใหญ่หลายแห่ง ทำให้มีกำลังการผลิตที่เกินความต้องการไปมาก โดยปัจจุบันเกินอยู่ 300 ล้านตัน “จีนเค้าก็ต้องหาวิธีระบายเหล็กของตนเอง โดยต้องอาศัยโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นที่ระบายเหล็กด้วย”

จีนให้ใช้เหล็กข้ออ้อยไทย

ด้านนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ทางสมาคมผู้ผลิตเหล็กได้ทำหนังสือถึงกระทรวงคมนาคม เพื่อขอความชัดเจนเรื่องเหล็กที่ใช้ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนเช่นกัน โดยทางสมาคมวิตกกังวลถึงการผลิตเหล็กข้ออ้อยว่า กรรมวิธีการผลิตของผู้ประกอบไทยจะไม่เข้ากับสเป็กหรือแบบที่จีนกำหนด เนื่องจากเป็นเหล็กลักษณะเฉพาะ อาจจะทำให้จีนไม่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเหล็กไทยได้

“เรื่องนี้จะประชุมร่วมกับจีนเร็ว ๆ นี้ คาดว่าไม่มีปัญหา โดยฝ่ายจีนก็มีท่าทีอ่อนลงและจะให้ใช้สเป็กเดียวกันได้”

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ที่ผ่านมาได้หารือร่วมกับ สมอ. และสมาคมผู้ผลิตเหล็กได้รับการยืนว่า เหล็กที่ใช้ก่อสร้างสามารถผลิตในประเทศได้ ซึ่งก็ได้ข้อยุติไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมถึงสเป็กและคุณสมบัติของเหล็กข้ออ้อยที่ใช้ก่อสร้าง “ทางจีนก็ยินยอมจะมอบให้ไทยแล้วเช่นกัน”

โดยการประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งที่ 19 ทั้ง 2 ฝ่ายบรรลุข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับ “เหล็กข้ออ้อย” ที่จะใช้ในโครงการแล้ว โดยเหล็กข้ออ้อยที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางและบั้งตามมาตรฐานเหล็กของไทยสามารถนำมาใช้ได้

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #78 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2017, 10:53:52 PM »
กรอ.ลุยจับ 16 โรงงานลอบทิ้งกากขยะ โอดแบกรับต้นทุน ดึงเอกชนช่วยกำจัด พร้อมเร่งออกกฎหมายคุมเข้มโรงงานอุตสาหกรรม-โรงกำจัดกากเข้าระบบ ต้องเลือกใช้บริการรถขนส่งที่มีการติดตั้ง GPS ที่ กรอ.อนุญาตเท่านั้น

นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปี 2559 พบมีปริมาณขยะทุกประเภทอยู่ที่ประมาณ 38 ล้านตัน เป็นกากอันตราย 10% หรือ 3.8 ล้านตัน แต่ที่เข้าระบบกำจัดถูกต้องเพียง 28 ล้านตัน ดังนั้นการเร่งกำจัดกากขยะเหล่านี้ยังคงเป็นงานเร่งด่วนของกระทรวงอุตสาหกรรม


นายสุธน อยู่เกตุ ผู้อำนวยการ สำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากการตรวจจับโรงงานที่กระทำความผิดลักลอบทิ้งกากขยะนอกพื้นที่ โดยไม่เข้าสู่การกำจัดอย่างถูกต้องตามระบบพบว่าในปี 2559 มีจำนวนถึง 12 ราย และในจำนวนดังกล่าว 3 ราย แจ้งความร้องทุกข์ในพื้นที่เรียบร้อยแล้วอยู่ระหว่างการดำเนินคดี ส่วนอีก 9 ราย ส่งเรื่องให้อุตสาหกรรมจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ดำเนินการตรวจสอบหาข้อเท็จจริง เพื่อรอผลวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการ เนื่องจากยังไม่พบผู้กระทำผิด ซึ่งการลงพื้นที่ตรวจจับและจากการร้องเรียนต่อเนื่อง กรอ. ได้รับการประสานจากหน่วยงานภายนอก ทั้งกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมจังหวัด และได้รับการร้องเรียนโดยตรง

ขณะที่ปี 2560 (ม.ค.-มิ.ย.) ตรวจพบจำนวนโรงงานที่ลักลอบทิ้งกากขยะ 4 ราย ในจำนวนดังกล่าว 1 ราย ได้ดำเนินคดีและทำการเปรียบเทียบปรับตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 แล้ว ส่วนอีก 3 รายอยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบของอุตสาหกรรมจังหวัด ซึ่งตาม พ.ร.บ.โรงงาน โทษปรับสูงสุด 200,000 บาท จำคุกสูงสุด 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย ได้กำหนดบทลงโทษด้วยการเปรียบเทียบปรับตั้งแต่หลักพันบาทถึงหลักหมื่นบาทต่อครั้ง ตามแต่ความผิดที่ได้กระทำ

แหล่งข่าวกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เมื่อพบกากขยะที่ทิ้งไว้ทาง กรอ.จะขนส่งไปยังโรงกำจัดกากเพื่อแยกประเภทที่เป็นกากอันตราย และไม่อันตรายออกก่อน จากนั้นจะถูกกำจัดให้ถูกต้องตามระบบ ภาครัฐต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายแต่ละปีสูงถึงหลายล้านบาท เพราะหาผู้กระทำผิดได้ยาก แต่ปริมาณขยะจำเป็นต้องถูกกำจัดไปก่อน ดังนั้น กรอ. จึงต้องขอความร่วมมือจากโรงกำจัดกากเอกชนรับกำจัดไปก่อน หรือบางรายช่วยรัฐกำจัดโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และถือเป็นการตอบแทนสังคม (CSR)

นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กล่าวว่า โครงการจัดสร้างระบบฐานข้อมูลและการติดตามการขนส่งกากอุตสาหกรรมเพื่อรองรับเทคโนโลยีการติดตามการขนส่งที่มีระบบรายงานตำแหน่ง (GPS) และกำกับดูแลผู้ขนส่งและยานพาหนะประมวลผลเส้นทางการขนส่งกากอุตสาหกรรมจากต้นทางไปยังปลายทาง ปัจจุบันรถขนส่งของเสียอันตรายซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ขนส่งวัตถุอันตรายจาก กรอ. มีจำนวนกว่า 3,000 คัน และทุกคันได้มีการติดตั้ง GPS ในระบบการติดตามการขนส่งกากอุตสาหกรรมด้วย GPS ของ กรอ. จะกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมและโรงกำจัดกากเข้าระบบ เพื่อแจ้งข้อมูลการขนส่งกากอุตสาหกรรมทุกครั้ง โดยเริ่มการติดตามโรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดขยะและหยุดการติดตามเมื่อถึงโรงกำจัดกากปลายทาง

ทั้งนี้ ในการส่งข้อมูลเป็นหน้าที่ของ Service Provider ที่เป็นผู้ให้บริการระบบ GPS แก่รถขนส่ง โดยก่อนที่โรงงานอุตสาหกรรม และโรงกำจัดกากจะสามารถแจ้งการขนส่งในระบบ Service Provider จะต้องพร้อมที่จะส่งสัญญาณ GPS ของรถขนส่งมาที่ระบบการติดตามของ กรอ. โดย กรอ.จะขึ้นทะเบียนรถที่ติดตั้ง GPS และพร้อมส่งสัญญาณในระบบการติดตามฯ เพื่อที่จะรองรับการแจ้งการขนส่งในระบบการติดตามฯ

ขั้นตอนดังกล่าว กรอ.จะออกเป็นกฎหมายเพื่อกำหนดหน้าที่ของโรงงานอุตสาหกรรมและโรงกำจัดกากให้ใช้ระบบการติดตามฯ และเลือกใช้บริการรถขนส่งที่มีการติดตั้ง GPS ที่ยินยอมส่งข้อมูลให้ระบบของ กรอ.เท่านั้น

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #79 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2017, 10:54:12 PM »
สศอ.เตรียมปรับโครงสร้างการจัดทำดัชนี MPI รองรับผลิตภัณฑ์ใหม่จากอุตสาหกรรมเป้าหมาย

นายวีรศักดิ์ ศุภประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ทาง สศอ.กำลังจัดทำแนวทางการพัฒนาข้อมูลในด้านอุตสาหกรรม โดยวางแผนที่จะบรรจุผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ จากกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) เข้ามาคำนวณดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญทางเศรษฐกิจ ให้มีการปรับเปลี่ยนไปตามพลวัตอย่างเหมาะสม เพื่อสะท้อนภาคเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้องและทันสมัย ทั้งนี้ ในการปรับปรุงประจำปีที่ผ่านมาได้นำผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องมือแพทย์ เข้ามาคำนวณดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมแล้ว และมีแผนงานขยายไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในรอบการปรับปรุงครั้งต่อไป


นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมที่กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมในยุค 4.0 (Industry 4.0) ซึ่งมีนัยถึงระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาการใช้ข้อมูลในการดำเนินธุรกิจ และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ต่างไปจากเดิม ทำให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจอยู่อย่างสม่ำเสมอ

สศอ.จึงตั้งเป้าหมายในการพัฒนาดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมให้มีความครอบคลุมไปสู่หมวดต่าง ๆ นอกเหนือจากภาคการผลิต (หมวด C) ตามมาตรฐานการจัดหมวดหมู่ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามคำแนะนำขององค์การสหประชาชาติ (United Nation : UN) โดยจะเริ่มที่หมวดไฟฟ้า ก๊าซ อากาศ (หมวด D) เพื่อให้ได้ข้อมูลภาคอุตสาหกรรมที่ต้องมีความถูกต้อง ครอบคลุม และครบถ้วนจากผู้ประกอบการ ซึ่งจะทำให้ดัชนีเป็นเครื่องบ่งชี้เศรษฐกิจที่ทรงประสิทธิภาพ ทั้งในระดับมหภาคและอุตสาหกรรมรายสาขา เพื่อที่จะนำมาวิเคราะห์และจัดทำข้อมูลดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม และภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

รวมถึงเป็นส่วนประกอบในการวางแผนและเสนอนโยบายด้านอุตสาหกรรมต่อรัฐบาล ในการสนับสนุนส่งเสริมภาคเอกชน และสร้างความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศได้ ทั้งนี้ สศอ.ได้เริ่มเดินหน้าแผนพัฒนาดังกล่าวผ่านการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลเป็นรายเดือนร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม ในการจัดทำแนวทางการพัฒนาข้อมูลในด้านอุตสาหกรรมทางสศอ.ได้ร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ได้ทำการจัดเสวนาโดยมี

ผู้แทนหน่วยงานภาคเอกชนและภาครัฐ อาทิ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเข้าร่วมหารือในประเด็นดังกล่าวด้วย

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #80 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2017, 10:54:36 PM »
“กกร.” ทำหนังสือถึงกระทรวงแรงงาน เร่งแก้ปมกฎหมายตั้ง “สหภาพแรงงานต่างด้าว” ใหม่ ยันปัญหาหนักอก

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ และประธานคณะกรรมการแรงงาน และพัฒนาฝีมือแรงงาน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ทางคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้ทำหนังสือแสดงความคิดเห็นไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงแรงงาน เรื่องการยกร่างแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 โดยเฉพาะมาตรา 45 ที่กำหนดไว้ว่า ในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ลูกจ้างอาจจัดตั้ง คณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้น หรือสหภาพแรงงานต่างด้าวได้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามกฎหมายดังกล่าว ทำให้ยังไม่สามารถให้ข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ได้ โดยต้องรอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาชี้แจงถึงรายละเอียดต่อไป


นายพจน์กล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ที่ได้กำหนดให้มีผู้ประกอบการ นายจ้าง หรือผู้ที่ใช้แรงงานต่างด้าวตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป รวมไปถึงตัวของแรงงานต่างด้าวเอง ให้มาขึ้นทะเบียนการทำงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะครบกำหนดการขึ้นทะเบียนในวันที่ 7 สิงหาคม 2560 ทั้งนี้ หากไม่ดำเนินการขึ้นทะเบียนตามกำหนดดังกล่าว ทางรัฐบาลจะดำเนินการตามกฎหมายทันที

ตอนนี้ทางสภาหอการค้าฯได้มีการประสานงานและให้ความร่วมมือกับทางรัฐบาลอย่างเต็มที่ในการขึ้นทะเบียนแรงงานเพื่อให้ถูกต้อง แต่ผู้ประกอบการยังมายื่นความจำนงในการใช้แรงงานต่างด้าวจำนวนไม่มากเมื่่อเปรียบเทียบ กับสภาพความเป็นจริง และสิ่งที่สภาหอการค้าฯเป็นห่วงมาก คือ แรงงานในกลุ่มเกษตรกรรม ก่อสร้าง และพวกแม่บ้าน ซึ่งเป็น 3 กลุ่มหลักที่ยอมรับว่ามีการใช้แรงงานต่างด้าวจำนวนมาก และยังมีแรงงานต่างด้าวอีกจำนวนมากที่ยังไม่ขึ้นทะเบียน ดังนั้นจึงต้องการเร่งนำไปขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง เพราะหากตรวจพบอาจจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย

นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)กล่าวกับ“ประชาติธุรกิจ”ว่า ขณะนี้การยกร่างแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 อยู่ระหว่างการพิจารณาแก้ไขของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) หลังจากที่ กกร. และภาคเอกชนได้ยื่นคำร้องไป โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความเท่าเทียมในการปฏิบัติของแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทย และแรงงานไทยที่ทำงานในต่างประเทศ ซึ่งหากเปรียบเทียบกันแล้วปัจจุบันประเทศไทยให้สิทธิ์แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยมากกว่า

แหล่งข่าวจากภาคอุตสาหกรรมเปิดเผยว่า การที่ต่างประเทศโดยเฉพาะพวกหน่วยงานองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ จะบังคับให้ไทยต้องดำเนินการตาม แต่ขณะที่หลายประเทศไม่ได้ให้สิทธิแรงงานไทยที่เข้าไปทำงาน เป็นเรื่องที่ฝ่ายไทยต้องต่อสู้เรียกร้อง ไม่ใช่ไทยจะต้องปฏิบัติตามทุกอย่าง หากมีสหภาพแรงงานต่างด้าวขึ้นมาเป็นเรื่องที่หลายบริษัทที่มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมากกว่าแรงงานคนไทยค่อนข้างกังวลเกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้ในหลายมาตรา ยกตัวอย่างมาตรา 101 ให้สิทธิลูกจ้างต่างด้าวเป็นกรรมการสหภาพแรงงานได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของกรรมการทั้งหมด ถือเป็นเสียงข้างน้อย แต่คงไม่ได้ช่วยอะไร เพราะแรงงานส่วนใหญ่ในโรงงานเป็นแรงงานต่างด้าว ทำให้การควบคุมบริหารจัดการภายในโรงงานอาจเกิดปัญหาได้

สมมุติโรงงานมีพนักงาน 100 คน แบ่งเป็น แรงงานต่างด้าว 70 คน แรงงานคนไทย 30 คน หากให้มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานในโรงงานได้ โดยสหภาพจะมีคณะกรรมการจำนวน 10 คน สมมุติมีกรรมการคนไทย 7 คน ต่างด้าว 2 คน หากมีการลงคะแนนเสียง กรรมการคนไทยถือเป็นเสียงข้างมาก แต่ในทางปฏิบัติแรงงานต่างด้าว 2 เสียงนี้ถือเป็นตัวแทนของแรงงานต่างด้าวทั้งหมดในโรงงาน เพราะฉะนั้น เสียงจากการลงมติในคณะกรรมการสหภาพ อาจจะไม่สามารถแก้ไขหรือยุติข้อเรียกร้องต่าง ๆ ได้

“ในอดีตการมีสหภาพแรงงาน เพราะนายจ้างเอารัดเอาเปรียบลูกจ้าง แต่ปัจจุบันความจำเป็นต้องมีสหภาพอาจลดลงไปแล้ว เพราะมีช่องทางอื่น ๆ ในการช่วยเหลือลูกจ้างมากมาย โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐมีการออกกฎหมายหลายฉบับมาคุ้มครองลูกจ้าง มีหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมเข้ามาช่วยเหลือมากมาย หากไม่ได้รับความเป็นธรรม ดังนั้น ความจำเป็นในการจัดตั้งสหภาพในปัจจุบันน่าจะลดบทบาทความสำคัญลงไป ทางกระทรวงแรงงานจึงไม่ควรหยิบประเด็นเรื่องนี้มาทำให้เป็นปัญหา”

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #81 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:38:44 PM »
“บิ๊กตู่” ลั่นทนเห็นแบบนี้ต่อไปไม่ได้แล้ว ประชุมเคาะโต๊ะ ปรับโฉมนโยบายน้ำใหม่

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 9 สิงหาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ โดยกล่าวก่อนการประชุม ว่าจะปรับนโยบายและงบประมาณด้านการบริหารจัดการน้ำใหม่ ปรับโฉมหน้านโยบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เดิมเคยคำนึงถึงกิจกรรมหลักของการบริหารจัดการน้ำ 1.น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค 2.น้ำเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม 3.น้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศน์ โดยจะเพิ่มอีก 2 กิจกรรมถือเป็นวาระแห่งชาติ คือการแก้ปัญหาน้ำท่วมและการแก้ปัญหาน้ำแล้งอย่างเป็นระบบ ครบวงจร ดังนั้น การจัดทำแผนและโครงการต่างๆ จะต้องตรวจสอบให้ชัดเจน ที่ต้องมีทั้งของเดิม และเพิ่มของใหม่ลงไป ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องแจ้งเพื่อให้เกิดความชัดเจน เนื่องจากเกิดกระแสความคาดหวังจากประชาชนจำนวนมาก จากการทำงานของรัฐบาลปัจจุบัน


“เราทนเสี่ยงภัยอีกต่อไปไม่ได้แล้ว ในกรณีที่ต้องใช้เงินเกี่ยวกับการเยียวยาทุกปี หลายหมื่น หลายแสนล้านบาท แต่กลับไม่ได้อะไรขึ้นมาเลย และน้ำก็ระบายทิ้ง ไม่เกิดคุณค่าเท่าที่ควร ต้องจัดการให้เร็วและทันเวลา กำหนดเวลาให้เกิดความชัดเจนในช่วงปี 2557 ถึง 2560 ใน 5 กิจกรรมนี้ ทำอะไรลงไปแล้วบ้าง ในพื้นที่ใด ขอให้สรุปมาให้ได้ และระยะที่ 2 ในช่วงปี 2560 – 2561 จะดำเนินการอะไรได้บ้าง และแผนในปี 2562 ซึ่งให้เน้นหนักในกิจกรรม 2 อย่างหลัง คือ น้ำท่วม น้ำแล้ง เพราะผมทนเห็นภาพแบบนี้ต่อไปไม่ได้ และการที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่ง ให้แก้ปัญหาเหล่านี้ให้ได้โดยเร็ว เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ก็ต้องตอบให้ได้ว่า อะไรที่ทำให้เกิดความยั่งยืน ที่ทำให้สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วม และภัยแล้งให้เกิดความชัดเจนเร็วยิ่งขึ้น” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #82 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:39:09 PM »
พาณิชย์ มั่นใจดูแลราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ หลังหารือโรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ กก.ละ 8 บาท

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงมาตรการการดูแลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2560/2561 ว่า กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายในได้หารือกับโรงงาน ผู้ประกอบการรับซื้อที่เกี่ยวข้อง โดยขอความร่วมมือในการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงแบบเมล็ดอบแห้งความชื้น 14.5% ในราคาที่ กก.ละ 8 บาททั่วประเทศ เพื่อให้ทันช่วงที่ผลผลิตจะเริ่มทยอยออกในช่วงปลายเดือนสิงหาคมไปจนเดือนพฤศจิกายน 2560

ส่วนผู้รวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้แจ้งว่าไม่สามารถรับซื้อในราคากก.ละ 8 บาทได้ เนื่องจากมีต้นทุนค่าขนส่ง ค่าทำความสะอาด ค่าอบเมล็ดข้าวโพด ดังนั้นทางกรมการค้าภายในจึงได้แจ้งว่าให้รับซื้อในราคาเหมาะสม พร้อมทั้งปิดป้ายแสดงราคารับซื้อให้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจะไม่เกิดปัญหาการกดราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากกลุ่มเกษตรกร เนื่องจากได้มีการออกประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ให้ผู้รวบรวมที่มีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่ 50 ตันขึ้นไป จะต้องแจ้งปริมาณ สถานที่เก็บ และราคา โดยต้องปิดประกาศราคารับซื้อ ณ จุดรับซื้อ หากราคาต่ำเกินไปก็สามารถใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าดูแลได้

พร้อมทั้งให้พาณิชย์จังหวัดติดตามผลผลิตที่ออกพร้อมกับติดตามปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข โดยจะต้องทำโครงการเชื่อมโยงผู้ผลิตไปยังผู้ซื้อปลายทาง โดยมีการดูแล ควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้เกษตรกรได้รายได้ที่สูงขึ้น

“กรมฯ ได้ตั้งวอรูม ในการดุแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ส่วนสินค้าเกษตรตัวอื่นก็อยู่ระหว่างการติดตามและแก้ไขต่อไป “

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #83 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:39:34 PM »
ไทย-ภูฏาน เร่งขยายความร่วมมือผ่านกลไกคณะกรรมการร่วมทางการค้า

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2560 ณ กระทรวงพาณิชย์ H.E. Mr. Tshewang Chophel Dorji เอกอัครราชทูตภูฏานประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง และหารือแนวทางขยายการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน ตลอดจนเตรียมการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ไทย-ภูฏาน ครั้งที่ 2 ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 30-31 สิงหาคม 2560 ณ กรุงเทพฯ


นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ภูฏานเป็นประเทศขนาดเล็ก ไม่มีทางออกทะเล มีประชากรเพียง 7 แสนคน และมีเศรษฐกิจพึ่งพาเพื่อนบ้าน คือ อินเดีย แต่ภูฏานมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและใกล้ชิดกับไทย ทั้งในระดับพระราชวงศ์และระดับประชาชนที่มีความเชื่อมโยงทางพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ในด้านเศรษฐกิจ สินค้าไทยเป็นที่ต้องการและชื่นชอบของคนภูฏาน ส่งผลให้ไทยเป็นตลาดนำเข้าและตลาดส่งออกในอันดับต้นๆ ของภูฏาน สำหรับด้านการลงทุน ปัจจุบันมีบริษัทไทยเข้าไปลงทุนแล้ว 1 ราย คือ โรงแรม Haven Paro Resort และบริษัท D2 ภายใต้เครือดุสิตธานี มีข้อตกลงที่จะเข้าไปบริหารโรงแรมซึ่งภาคเอกชนภูฏานเป็นเจ้าของ 2 แห่ง คือ โรงแรมในกรุงทิมพู และเมืองพูนาคา

​นางอภิรดี กล่าวว่า การประชุม JTC ไทย-ภูฏาน ครั้งที่ 2 เป็นการจัดประชุมต่อเนื่องจากที่ภูฏานเป็นเจ้าภาพการประชุม ครั้งที่ 1 เมื่อปีที่แล้ว โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการของภูฏาน (H.E. Lyonpo Lekey Dorji) เป็นประธานร่วม ทั้งนี้ จะมีการติดตามผลการหารือในประเด็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ ที่สองประเทศสนใจร่วมกัน อาทิ 1) การขยายความร่วมมือด้านการค้า ซึ่งปีที่ผ่านมาตัวเลขการค้าเพิ่มสองเท่าตัว 2) ความร่วมมือด้านการลงทุน โดยเฉพาะในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ เช่น ก่อสร้าง และท่องเที่ยว รวมทั้งการกระชับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ เช่น เกษตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน และการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นต้น

​​การค้ารวม ในปี 2559 ภูฏานเป็นคู่ค้าในตลาดเอเชียใต้อันดับที่ 8 ของไทย (อันดับสุดท้าย) รองจาก อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา มัลดีฟส์ เนปาล และอัฟกานิสถาน ตามลำดับ การค้าระหว่างไทยกับภูฏานมีมูลค่าเพียง 24.37 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่มีอัตราเติบโตกว่าร้อยละ 110.73 โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า ทั้งนี้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2555-2559) การค้ารวมมีมูลค่าเฉลี่ย 15.49 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยกว่า 74.14 ต่อปี

​​การส่งออก สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปภูฏาน ได้แก่ ผ้าผืน รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ครื่องจักรกลและชิ้นส่วนประกอบของเครื่องจักรกล สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อาหารสำเร็จรูปอื่นๆ อัญมณีและเครื่องประดับ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เม็ดพลาสติก เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า และเครื่องนุ่งห่ม ส่วนการนำเข้า มีมูลค่าเพียง 121,000 เหรียญสหรัฐ แต่มีเพิ่มขึ้นร้อยละ 188.76 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ สินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ สินค้าทุนอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ สิ่งพิมพ์ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #84 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:39:55 PM »
“บิ๊กฉัตร” เผยยังไม่ได้ข้อสรุปแพ็กเกจช่วยอีสาน-เร่งทุกหน่วยงานระดมพลทำแผน

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารกระทรวงเกษตรประจำสัปดาห์ว่า ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องแพ็กเกจช่วยเหลือฟื้นฟูเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) จึงได้สั่งการให้หน่วยงานให้ทุกหน่วยงาน อาทิ กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ ไปจัดทำแผนงานมาว่า จะออกมาตรการในรูปแบบใดมาช่วยเหลือบ้าง และให้กลับมาหารือภายในกระทรวงเกษตรฯอีกครั้ง ก่อนที่จะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบ อย่างไรก็ตามคาดว่ามาตรการดังกล่าวไม่น่าจะเสนอได้ทันการประชุม ครม.ในสัปดาห์หน้า



นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า เบื้องต้นคาดว่า มาตรการฟื้นฟูน่าจะเป็นรูปแบบใกล้เคียงกับ โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี ของกรมส่งเสริมการเกษตร คือให้เกษตรกร โดยเฉพาะชาวนาในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วมรวมกลุ่ม แล้วเสนอโครงการด้านการเกษตร อาทิ การทำปุ๋ยคอก การปลูกพืชอื่นทดแทนนาข้าวที่ได้รับความเสียหาย มายังกระทรวงเกษตร และกระทรวงจะให้งบประมาณสนับสนุน อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวยังไม่ได้ข้อสรุป ต้องผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมผู้บริหารประจำกระทรวงเกษตรเสียก่อน

“มาตรการฟื้นฟูส่วนใหญ่จะออกมาเพื่อช่วยเหลือชาวนา เนื่องจากการสำรวจในพื้นน้ำท่วมเบื้องต้น พบว่ากว่า 90% ของพื้นที่น้ำท่วมเป็นพื้นที่นาข้าว หรือประมาณ 5 ล้านไร่ ถูกน้ำท่วมขัง และในจำนวนนั้น 50% หรือ 2.5 ล้านไร่ เป็นพื้นที่เสียหายโดยสิ้นเชิง หรือนาข้าวตาย และก็ไม่สามารถปลูกข้าวอีกรอบได้ทัน เนื่องจากข้าวในภาคอีสานเป็นข้าวประเภทไวแสง ทำให้ปลูกข้าวได้เพียงรอบเดียว ดังนั้นชาวนาจะผู้ได้รับผลกระทบอย่างหนัก และขาดรายได้ไปเลย กระทรวงเกษตรฯจึงต้องเร่งออกมาตรการมาเพื่อฟื้นฟูให้ชาวนากลับมามีรายได้” นายอนันต์กล่าว

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #85 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:40:24 PM »
รถไฟความเร็วสูงอีอีซีเชื่อม 3 สนามบิน เคาะราคา 300-500 บาท/เที่ยว

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดบริหารอีอีซี) ที่มีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน ที่กระทรวงอุตสาหกรรม ว่าที่ประชุมรับทราบผลการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ประกอบด้วย อู่ตะเภา สุวรรณภูมิ ดอนเมือง แบบไร้รอยต่อ ของกระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ภายใต้วงเงินศึกษา 100 ล้านบาท โดยสรุปวงเงินลงทุนใหม่จำนวน 280,000 ล้านบาท เพิ่มจากคาดการณ์เดิมของบอร์ดอีอีซีจำนวน 158,000 ล้านบาท



โดยกรอบวงเงินลงทุนใหม่นี้กำหนดรูปแบบให้เอกชนลงทุนทั้งหมด ประกอบด้วย การลงทุนก่อสร้างและให้บริการรถไฟความเร็วสูงประมาณ 200,000 ล้านบาท และรัฐลงทุนพัฒนาสถานีมักกะสัน และพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูงอื่นอีกประมาณ 80,000 ล้านบาท กำหนดราคาค่าโดยสาร 500 บาทต่อเที่ยว สำหรับเส้นทางด่วนพิเศษดอนเมือง-อู่ตะเภา และ 300 บาทต่อเที่ยวสำหรับเส้นทางด่วนพิเศษสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา นอกจากนี้ยังมีรถธรรมดาจอด 10 สถานีระหว่างทาง ขณะที่ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในเขตนอกเมือง และ 160 กิโลเมตรที่ผ่านกรุงเทพชั้นใน โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงนี้จะสามารถประกาศเชิญชวนนักลงทุนได้ภายในปลายปี 2560

 

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #86 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:40:50 PM »
กระทรวงแรงงานเผยยอดลงทะเบียนแรงงานต่างด้าว 7.7 แสนคน กทม.มากสุด 1.6 แสนคน

แรงงานกัมพูชา ลาว เมียนมา 772,270 คน เมียนมาครองแชมป์ 451,515 คน พบกรุงเทพมหานครจ้างงานสูงสุด 162,597 คน ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจประเภทกิจการก่อสร้าง 181,772 คน


พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงแรงงานได้มีการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวกัมพูชา ลาว เมียนมา ที่ไม่มีเอกสารและไม่มีใบอนุญาตทำงาน โดยเปิดโอกาสให้นายจ้าง-ลูกจ้างที่ทำงานอยู่ด้วยกันแจ้งความประสงค์ในการทำงานให้ถูกต้อง โดยได้จัดตั้งศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว 100 ศูนย์ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม ถึง 7 สิงหาคม 2560 โดยระดมทรัพยากรทั้งบุคลากรและเครื่องมือจากทุกหน่วยในสังกัดกว่า 3,000 คน เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกการรับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวให้เพียงพอกับผู้มารับบริการ ซึ่งเมื่อสิ้นสุดการเปิดศูนย์รับแจ้งฯ ไปเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีนายจ้างยื่นแบบคำขอจ้างคนต่างด้าว จำนวน 193,918 ราย เป็นบุคคลธรรมดามากที่สุด จำนวน 169,575 ราย นิติบุคคล จำนวน 24,060 ราย และเป็นชาวต่างชาติ 283 ราย โดยมายื่นที่ศูนย์รับแจ้ง 180,058 ราย ยื่นทางออนไลน์ 13,860 ราย มีลูกจ้างคนต่างด้าว 772,270 คน สัญชาติเมียนมามากสุด 451,515 คน คิดเป็นร้อยละ 58.47 รองลงมา กัมพูชา 222,907 คน ร้อยละ 28.86 และลาว 97,848 คน ร้อยละ 12.67 ซึ่งมีปริมาณใกล้เคียงกับที่กระทรวงแรงงานคาดการณ์ไว้ โดยจังหวัดที่มีการยื่นขอจ้างคนต่างด้าวมากที่สุดคือ กรุงเทพมหานคร 162,597 คน รองลงมาชลบุรี 44,487 คน สมุทรปราการ 40,868 คน ตาก 38,940 คน และเชียงใหม่ 36,075 คน ขณะที่ประเภทธุรกิจที่มีการยื่นขอมากที่สุดได้แก่ กิจการก่อสร้าง 181,772 คน ตามมาด้วยกิจการเกษตรและปศุสัตว์ 170,854 คน กิจการผลิตหรือจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม 70,384 คน กิจการให้บริการต่าง ๆ ยกเว้นกิจการรับเหมา 58,914 คน และผู้รับใช้ในบ้าน 51,512 คน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า หลังจากนายจ้างยื่นแบบคำขอจ้างคนต่างด้าวดังกล่าวแล้ว จะเป็นการคัดกรองความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างว่าทำงานด้วยกันจริงหรือไม่ ตรวจสอบหลักฐานที่ยื่นถูกต้องหรือไม่ ลูกจ้างมีอายุต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ซึ่งผู้ผ่านการคัดกรองจะได้รับหนังสือรับรองเพื่อไปตรวจสัญชาติต่อไป สำหรับการตรวจสัญชาตินั้น ก็ได้รับความร่วมมือที่ดีจากประเทศต้นทางคือ เมียนมา ซึ่งมีศูนย์ตรวจสัญชาติในไทยแล้ว 6 ศูนย์ 5 จังหวัด คือ สมุทรสาคร 2 ศูนย์ สมุทรปราการ เชียงราย ตาก และระนอง จังหวัดละ 1 ศูนย์ แต่ขณะนี้ทางการเมียนมาแจ้งว่าจะเปิดเพิ่มอีก 3 จังหวัดคือ เชียงใหม่ นครสวรรค์ และสงขลา ขณะเดียวกันทางการกัมพูชาก็จะตรวจสัญชาติในประเทศไทยเช่นกัน 3 จังหวัดคือ ระยอง สงขลา และกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะเป็นการดำเนินการในรูปแบบ One Stop Service (OSS) ตามนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยภายในศูนย์ OSS จะมีทางการเมียนมาตรวจสัญชาติออกเอกสารรับรองบุคคล (CI) ทางการกัมพูชาออกเอกสารเดินทาง (TD) ตรวจคนเข้าเมืองตรวจลงตราวีซ่า สาธารณสุข ตรวจโรค และทำประกันสุขภาพ กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานออกใบอนุญาตทำงาน โดยจะแล้วเสร็จภายใน 1 วัน แรงงานสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องทันที ส่วนลาวต้องเดินทางกลับประเทศแล้วกลับเข้ามาทำงานตามระบบ MOU

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #87 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:41:07 PM »
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า วันที่ 10-11 สิงหาคมนี้ ตนจะร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมการค้า (เจทีซี) ครั้งที่ 4 ที่กรุงธากา สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ เพื่อหารือแนวทางการขยายการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน โดยมีเป้าหมายจะเพิ่มการค้า 2 ฝ่าย จากปัจจุบัน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายใน 5 ปี


พร้อมทั้งหารือลดอุปสรรคและการเพิ่มความร่วมมือด้านการค้าและลงทุนระหว่างกัน โดยในโอกาสนี้จะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ระหว่างรัฐบาลไทยกับบังกลาเทศ (จีทูจี) เป็นการลงนามในหลักการบังกลาเทศจะเจรจาซื้อข้าวไทยไม่เกินปีละ 1 ล้านตัน ช่วงปี 2560-64 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทำรายละเอียดขายข้าวให้บังกลาเทศ 1.5 แสนตัน สำหรับสินค้าอื่นๆ ที่มีโอกาสส่งออกหรือลงทุนในบังกลาเทศ อาทิ พลาสติก วัสดุก่อสร้าง อาหาร และเครื่องจักร เพราะบังกลาเทศกำลังลงเศทุนพัฒนาประเทศ

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #88 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:41:29 PM »
กฟภ.ทุ่มงบ1.1พันล้านบาท เดินสายเคเบิลใต้น้ำเกาะพะงัน ใช้ไฟฟ้าได้อีก 14 ปี

เมื่อวันที่ 9 ส.ค. ที่สถานีไฟฟ้าเกาะพะงัน อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี นายเสริมสุข คล้ายแก้ว ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA เป็นประธานพิธีเปิดจ่ายกระแสไฟฟ้าสถานีไฟฟ้าเกาะพะงัน โดยมีนายเกริกไกร สงธานี นายอำเภอเกาะพะงัน นายภานุมาศ ลิ้มสุวรรณ ผู้อำนวยการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต2(ภาคใต้) ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวบนเกาะพะงัน เข้าร่วม

กฟภ. ได้ลงทุนก่อสร้างเคเบิ้ลใต้น้ำระบบส่ง 115 kV (กิโลโวลล์) จากสถานีไฟฟ้าเกาะสมุย2 เป็นระยะทาง 15 กิโลเมตร ก่อสร้างสถานีไฟฟ้าเกาะพะงันพร้อมติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง ขนาด 1×50 MVA(เมกะโวลด์แอมแปร์) ก่อสร้างสวิตช์เกียร์เพิ่มเติมที่สถานีไฟฟ้าเกาะสมุย 2 เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้เกาะพะงัน และก่อสร้างสถานีไฟฟ้าชั่วคราวที่เกาะพะงัน ด้วยงบประมาณรวมกันกว่า 1,125 ล้านบาท สามารถรองรับความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าในพื้นที่ได้จนถึงปี พ.ศ. 2574 หรืออีก 14 ปีข้างหน้า


ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจ ธุรกิจการท่องเที่ยวของเกาะพะงัน ได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้มีความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าสูงขี้นเฉลี่ยร้อยละ 13 ต่อปี กฟภ.ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการให้บริการด้านพลังงานอย่างมั่นคงและเพียงพอจึงได้ทำโครงการก่อสร้างสายเคเบิ้ลใต้น้ำระบบ 115 kV (กิโลโวลล์)

โดยการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าเกาะพะงัน สามารถรองรับการขยายตัวการใช้พลังงานไฟฟ้าภาคธุรกิจการท่องเที่ยวในพื้นที่ หาดท้องศาลา หาดริ้น อ่าวท้องนายปาน หาดโฉลกหลำ และหาดปลายแหลม จะสร้างความมั่นใจให้ประชาชนและผู้ประกอบการ รวมถึงนักท่องเที่ยวในพื้นที่เกาะพะงัน

ด้านนายเสริมสกุล คล้ายแก้ว ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวว่า เกาะพะงันเป็นเกาะที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เป็นเกาะที่มีประวัติศาสตร์ เป็นเกาะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก ความต้องการใช้ไฟฟ้าโดยเฉพาะภาคธุรกิจท่องเที่ยวบนเกาะพะงัน เติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนันการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงมีโครงการเพิ่มกำลังการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้มีความเพียงพอ และต่อเนื่อง ความสำคัญของสถานีจ่ายแห่งนี้มีการติดตั้งหม้องแปลงขนาด 50 MVA (เมกะโวลด์แอมแปร์) ทำให้เกาะพะงันมีพลังงานไฟฟ้าที่เพียงพอ ต่อเนื่อง และมีคุณภาพ ธุรกิจการท่องเที่ยวก็สามารถขยายได้ สร้างความเจริญเติบโตให้กับธุรกิจการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับประชาชนและประเทศชาติ

นอกจากนี้ กฟภ.ได้เตรียมอนุมัติแผนงานโครงการเพิ่มเติมอีก 3 โครงการ วงเงินลงทุน 2,659 ล้านบาท ได้แก่ โครงการก่อสร้างสายเคเบิ้ลใต้น้ำ 115 kV (กิโลโวลล์) จาก อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ไปยังเกาะสมุย , โครงการก่อสร้างสายส่งจากสถานีไฟฟ้าเกาะสมุย1 ไปยังสถานีไฟฟ้าเกาะสมุย2 และโครงการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าเกาะสมุย3 ติดตั้งหม้อแปลงขนาด 50 MVA(เมกะโวลด์แอมแปร์) จำนวน 2 หม้อแปลง ส่วนเกาะเต่า กฟภ.ได้เตรียมขออนุมัติแผนงานโครงการก่อสร้างสายเคเบิ้ลใต้น้ำจากเกาะพะงันไปยังเกาะเต่า 33 kV (กิโลโวลล์) ด้วยงบประมาณ 1,776 ล้านบาท คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมจ่ายไฟในช่วงปลายปี พ.ศ. 2562 สามารถรองรับได้ถึงปี พ.ศ. 2575

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #89 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:41:55 PM »
“พาณิชย์” ปล่อยขบวนรถบรรทุกสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้เกิดความเสียหายและความเดือดร้อนแก่ประชาชนเป็นอย่างมาก กระทรวงพาณิชย์จึงได้ดำเนินการช่วยเหลือประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ ได้มอบหมายให้กรมการค้าภายในประสานห้างค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ ร้านสะดวกซื้อ ในพื้นที่เขตเทศบาลจังหวัดสกลนครเร่งเปิดจำหน่ายสินค้า และกำหนดมาตรการรองรับภายหลังน้ำลด ประสานผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้ประกอบการค้าปลีกค้าส่ง รายใหญ่ให้จัดส่งสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นให้มีการกระจายสินค้าอย่างทั่วถึงและเพียงพอต่อความต้องการ รวมทั้งได้ขอความร่วมมือ ห้างค้าปลีกค้าส่งรายใหญ่ จัดกิจกรรมลดราคาสินค้าธงฟ้าที่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพ และผลิตภัณฑ์ชำระล้าง ราคาถูกกว่าท้องตลาด 20-40% และกระทรวงพาณิชย์จะจัดงานธงฟ้าราคาประหยัด นำสินค้าอุปโภคบริโภค ที่จำเป็นต่อการครองชีพ จำหน่ายในพื้นที่ที่ประสบภัย จำนวน 5 อำเภอ จำนวน 10 แห่ง เพื่อช่วยลดค่าครองชีพประชาชนที่ประสบอุทกภัยอีกด้วย




นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินการรวบรวมเงินและสิ่งของบริจาคในนามกระทรวงพาณิชย์พร้อมได้นำไปมอบสมทบให้กับท่านนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา จำนวนทั้งสิ้น 5,797,541 บาท และในวันนี้ (9 สิงหาคม 2560) ได้จัดพิธีปล่อยขบวนรถบรรทุกสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ณ บริเวณด้านหน้ากระทรวงพาณิชย์ โดยมอบหมายให้กรมการค้าภายในจัดหาและรับบริจาคสิ่งของเพื่อนำไปให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในเบื้องต้นจำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสกลนคร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และนครพนม และจะทยอยให้การช่วยเหลือเพิ่มเติมไปยังจังหวัด ที่ได้รับผลกระทบในจังหวัดอื่นๆ อีกต่อไป

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวเพิ่มเติมว่า กล่าวเพิ่มเติมว่า การให้ความช่วยเหลือครั้งนี้ เชื่อมั่นว่าจะก่อประโยชน์ต่อประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและมีขวัญกำลังใจ ที่เข้มแข็งเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็วต่อไป ทั้งนี้ ยังได้เน้นย้ำให้ พาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัดในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมตรวจสอบสถานการณ์ปริมาณและราคาสินค้าอย่างใกล้ชิดอีกด้วย

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #90 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:42:16 PM »
“ฉัตรชัย” อัดแพ็คเกจช่วยชาวนาหลังน้ำท่วม

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เตรียมหารือกับผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ ในวันที่ 9 ส.ค.2560 เพื่อหาวิธีดำเนินการ ซึ่งน่าจะเป็นแพ็คเกจช่วยเหลือเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม หลังลงสำรวจในพื้นที่พบว่า 90% ของพื้นที่น้ำท่วมเป็นพื้นที่นาข้าว หรือประมาณ 5 ล้านไร่ ที่ถูกน้ำท่วมขัง และในจำนวนนั้น 50% ไม่น่าจะสามารถฟื้นฟูให้ข้าวที่ชาวนาปลูก กลับมามีชีวิตต่อได้ หรือ 2.5 ล้านไร่ของพื้นที่ปลูกข้าวจะเสียหายสิ้นเชิง ส่วนที่เหลืออีก 10% เป็นพื้นที่เกษตรอื่นๆ และในจำนวนนี้มีสวนยางรวมอยู่ด้วย แต่เสียหายไม่มาก
 
ทั้งนี้ หลังจากน้ำลดและสำรวจความเสียหายแล้ว กระทรวงเกษตรฯต้องเร่งดำเนินการ 2 เรื่อง คือ 1.การเยียวยา ซึ่งคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้อนุมัติจ่ายให้เกษตรกรครัวเรือนละ 3,000 บาทแล้ว ยังเหลือเงินในส่วนนของกระทรวงการคลังที่จะจ่ายตามระเบียบ ไร่ละ 1,113 บาท ในกรณีที่เกษตรกรร่วมโครงการประกันภัยพืชผลจะได้รับการชดเชยอีก ไร่ละ 1,260 บาท และ 2.มาตรการฟื้นฟู ต้องหารือว่าจะช่วยเหลือในรูปแบบใด หากฟื้นที่เกษตรเสียหายโดยสิ้นเชิง ชาวนาไม่สามารถปลูกข้าวได้
 
“เพราะห่วงเวลาและชนิดข้าว ที่อาจส่งผลกระทบให้ชาวนาไม่สามารถปลูกข้าวได้อีกหลังน้ำลด เพราะข้าวหลายชนิดที่ปลูกในภาคอีสานเป็นข้าวไวแสง ที่กรมการข้าวระบุ หากไม่สามารถปลูกได้ทันวันที่ 15 ส.ค.2560 ก็ไม่ควรปลูก เพราะผลผลิตอาจไม่ออกผล หรือ ข้าวอาจลีบ ดังนั้นต้องหาอาชีพช่วยเหลือเกษตรกรในภาคอีสาน หรือในพื้นที่น้ำท่วม เพื่อให้ 3-4 เดือนจากนี้ไป ได้มีรายได้ มีอาชพทำกิน อาจจะเป็นการปลูกผัก เลี้ยงปลา หรือ ทำปศุสัตว์ แต่จะเป็นการประกอบอาชีพอะไรต้อง แล้วแต่พื้นที่ที่เหมาะสม”

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #91 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:42:43 PM »
กระทรวงแรงงาน ตรวจสอบพิสูจน์ความสัมพันธ์ นายจ้าง-ลูกจ้าง วันแรกคึกคัก

“รองปลัดแรงงาน” เผย บรรยากาศขั้นตอนการตรวจสอบความสัมพันธ์นายจ้าง – ลูกจ้าง ที่กระทรวงแรงงาน วันแรกคึกคัก! นายจ้างต่างพาลูกจ้างมาพบเจ้าหน้าที่เพื่อสัมภาษณ์พิสูจน์ความสัมพันธ์ ก่อนรับเอกสารรับรองนำไปสู่ขั้นตอนการตรวจสัญชาติกับประเทศต้นทางตามที่กำหนด เพื่อเข้าสู่ระบบการจ้างงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน




นายอนุรักษ์ ทศรัตน์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังจากตรวจเยี่ยมการตรวจสอบคัดกรองความสัมพันธ์ นายจ้าง – ลูกจ้าง ที่ศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว บริเวณชั้นล่างอาคารกระทรวงแรงงานว่า หลังจากที่ได้เปิดศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวตั้งแต่วันที่ ๒๔ ก.ค. – ๗ ส.ค.๖๐ เพื่อรับคำขอการจ้างคนต่างด้าว และได้สิ้นสุดลงเมื่อวานนี้ (๗ ส.ค.๖๐)



ขั้นตอนต่อไปเป็นการพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง – ลูกจ้าง ระหว่างวันที่ 8 ส.ค. – 6 ก.ย.60 รวม 30 วัน ไม่เว้นวันหยุด ซึ่งกระทรวงแรงงานเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ดำเนินการในขั้นตอนดังกล่าว ความสำคัญของขั้นตอนนี้ทำให้คนต่างด้าวที่ทำงานอยู่กับนายจ้างที่ไม่ถูกกฎหมายตั้งแต่เข้าเมืองผิดกฎหมาย การทำงานผิดกฎหมาย ซึ่งจะมีโทษตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง และ พ.ร.ก. การทำงานของคนต่างด้าว เพื่อให้มีเอกสารการจ้างงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ซึ่งในวันนี้กระทรวงแรงงานจะพิจารณาว่าลูกจ้างที่นายจ้างได้มายื่นคำขอไว้นั้น เป็นนายจ้างลูกจ้างกันจริงหรือไม่ หากพิสูจน์ทราบว่าเป็นลูกจ้างนายจ้างกันจริง เจ้าหน้าที่จะออกหลักฐานซึ่งเป็นเอกสารรับรองเพื่อให้นายจ้างพาลูกจ้างไปตรวจสัญชาติกับประเทศต้นทางตามที่กำหนดทั้ง ๓ สัญชาติต่อไป


ด้าน นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากผลการรับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวทั้ง 100 ศูนย์ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 27 ก.ค. – 7 ส.ค.60 พบว่า มีนายจ้างมาแจ้งการใช้แรงงานต่างด้าว 193,918 ราย ลูกจ้างต่างด้าว 772,270 คน แยกเป็นแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมามากที่สุด 451,515 คน รองลงมากัมพูชา 222,907 คน และลาว 97,848 คน ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามประเภทกิจการ 5 อันดับแรก ได้แก่ ก่อสร้าง เกษตรและปศุสัตว์ อาหารและเครื่องดื่ม การให้บริการต่างๆ และผู้รับใช้ในบ้าน ตามลำดับ จังหวัดที่มีการยื่นขอจ้างคนต่างด้าวมากที่สุด 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี และระยอง ตามลำดับ

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #92 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:43:05 PM »
กรมชลฯ ลดบานระบาย 2 เขื่อนในลุ่มน้ำชี ชะลอมวลน้ำที่จะไหลไปสมทบที่อุบลราชธานี

กรมชลประทาน ลดบานระบายน้ำเขื่อนชนบท และเขื่อนมหาสารคาม เพื่อบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำชี ก่อนที่จะไหลเข้าสู่จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมระดมเครื่องจักร เครื่องมือ ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ตลอด 24 ชม.


นายปรีชา จานทอง ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 กรมชลประทาน เปิดเผยถึง การบริหารจัดการน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำในลุ่มน้ำชีว่า (วันนี้ 8 สิงหาคม 2560) เขื่อนลำปาวยังคงการระบายน้ำลงลำน้ำปาวผ่าน Spillway ในอัตราวันละ 26.80 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) เพื่อลดระดับน้ำในเขื่อนให้อยู่ในเกณฑ์การบริหารจัดการเขื่อนและเพิ่มพื้นที่สำหรับรองรับน้ำใหม่ที่จะไหลเข้าเขื่อน พร้อมกันนี้ได้ลดบานระบายน้ำของเขื่อนชนบท อ.ชนบท จ.ขอนแก่น เพื่อชะลอน้ำให้ไหลผ่านแม่น้ำชีเข้าสู่จังหวัดขอนแก่นน้อยลง และปรับลดบานระบายเขื่อนมหาสารคาม อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ลง 1.50 เมตร จำนวน 6 บาน ทำให้สามารถชะลอน้ำที่จะไหลผ่านแม่น้ำชีเข้าสู่จังหวัดกาฬสินธุ์ได้วันละ 4.50 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้ลุ่มน้ำชีตอนกลางตั้งแต่ จ.มหาสารคาม ถึง จ.ร้อยเอ็ด ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง สถานีวัดน้ำ E.8A อ.เมือง จ.มหาสารคาม ระดับลดลง 0.08 ม. และลุ่มน้ำชีตอนล่าง ตั้งแต่ จ.มหาสารคาม ถึง จ.ยโสธร ระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำ E.66 A อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด ระดับน้ำเริ่มทรงตัวและมีแนวโน้มลดลง สถานีวัดน้ำ E.18 อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น 0.12 ม.จากเมื่อวาน ส่วนระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำ E.2A อ.เมือง จ.ยโสธร น้ำลดลง 0.19 ม. จากเมื่อวาน สถานีวัดน้ำ E.20A อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร ระดับเพิ่มขึ้น 0.07 ม. จากเมื่อวาน

จากการลดบานของเขื่อนทั้ง 2 แห่งดังกล่าว ส่งผลให้สามารถระบายน้ำในลำน้ำปาวได้ดียิ่งขึ้น และขณะเดียวกันก็ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ จำนวน 6 เครื่อง บริเวณเขื่อนระบายน้ำร้อยเอ็ด อ.เชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด และจะติดตั้งเพิ่มอีก 6 เครื่องในวันที่ 9 สิงหาคม 2560 รวมเป็น 12 เครื่อง เพื่อเร่งระบายน้ำในแม่น้ำชีตอนล่าง ลงแม่น้ำมูลให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 กล่าวต่อว่า ในส่วนการช่วยเหลือรายพื้นที่ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ กรมชลประทานได้ส่งเครื่องจักรกลเข้าไปช่วยเสริมพนังกั้นลำน้ำพาน ลำน้ำปาว และลำน้ำชี จำนวน 21 คัน และเข้าไปติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 8 นิ้วและ 12 นิ้ว จำนวน 3 เครื่อง บริเวณบ้านท่ากลาง ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ และอีก 1 เครื่องที่แก้มลิงหนองเลิงเปือยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.สามัคคี อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ พร้อมสำรองไว้อีก 30 เครื่อง เพื่อเร่งสูบระบายน้ำที่ล้นตลิ่งท่วมขังในพื้นที่ ให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ส่วนที่อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ กรมชลประทานได้ระดมเครื่องจักร เครื่องมือ และแรงงานเร่งบรรจุกระสอบทราย เพื่อเสริมพนังกั้นน้ำลำพาน บริเวณตำบลหลุบ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ และพนังกั้นน้ำลำชี เพื่อป้องกันน้ำกัดเซาะ พร้อมกันนี้ได้กระจายเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำลงไปติดตั้งตามพื้นที่น้ำท่วมต่างๆ เพื่อเร่งสูบระบายน้ำช่วยเหลือพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และกำชับให้เจ้าหน้าที่ติดตาม เฝ้าระวังจุดเสี่ยงบริเวณพนังลำน้ำพาน ในเขตตำบลลำพาน และตำบลหลุบ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัยในพื้นที่อีกด้วย

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #93 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:43:27 PM »
คาดวันแม่ปีนี้เงินสะพัด 1.3 หมื่นล้าน ชี้ยังไม่คึกคักเท่าที่ควร เหตุ ปชช.ยังระวังจับจ่ายใช้สอย

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากการสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมของประชาชนเกี่ยวกับวันแม่ พบว่า ปีนี้จะมีเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจถึง 13,054.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่มีเพียง 12,711.7 ล้านบาท เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดยาว จึงนิยมพาครอบครัวและแม่ไปท่องเที่ยว แต่ทั้งนี้ถือว่ายังไม่ได้คึกคักเท่าที่ควร เพราะประชาชนยังระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย

“การใช้ในเทศกาลวันแม่นั้น ส่วนใหญ่แล้วจะใช้จ่ายมาก เพราะเป็นวันพิเศษ แต่ปีนี้การใช้จ่ายขยายตัวต่ำกว่า 3% ถือว่าเป็นสัญญาณที่ไม่ปกติ สะท้อนได้จากในช่วงประเทศที่มีปัญหาทางการเงิน การใช้จ่ายดังกล่าวไม่เคยขยายตัวถึง 4% เลยตั้งปี 2555 ที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่ส่วนใหญ่จะยังระมัดระวังการใช้จ่าย เพราะมองว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในช่วงไตรมาสแรกปี 2561 หรือตั้งแต่ช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป”


ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเพราะนักเศรษฐศาสตร์มหภาคมองว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้น แต่ผู้บริโภคไม่รู้สึกว่าเศรษฐกิจฟื้น สะท้อนภาพปัจจุบันว่าไม่มีกำลังซื้อจริงๆ ในบางธุรกิจ และเศรษฐกิจฟื้นตัวกระจุกตัวแค่บางภาคเท่านั้น เช่น การส่งออก และการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลจะต้องตระหนัก

อย่างไรก็ดี ครอบครัวไทยยังเป็นครอบครัวที่อบอุ่ม แม้ว่าจะมีปัญหาทางสังคมเพิ่มขึ้นก็ตาม โดยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 67.7% ใช้จ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากเป็นวันพิเศษ อีกทั้งมีรายได้เพิ่มขึ้น และคาดว่าเศรษฐกิจน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่อีก 19.7% ใช้จ่ายลดลง เพราะต้องการประหยัด เนื่องจากมีรายได้ลดลง เห็นว่าเศรษฐกิจยังไม่ดี จึงยังไม่อยากใช้เงิน และอีก 12.6% ตอบว่าใช้เท่ากับปีที่ผ่านมา

สำหรับสิ่งที่ลูกจะทำในช่วงวันแม่มากที่สุด 33% ระบุว่าสวมกอดแม่และบอกรักแม่ รองลงมา 27.8% มอบดอกไม้และกราบที่เท้าแม่ ส่วนอีก 27.6% จะแสดงความกตัญอยู่, และ 10.6% คือจะทำตามสิ่งที่แม่เคยขอไว้

ส่วนกิจกรรมที่จะทำในช่วงวันแม่ส่วนใหญ่ 32% ตอบว่าพาแม่ไปทำบุญ รองลงมา 23.1% พาแม่ไปทานข้าว และ 10.7% พาไปเที่ยวต่างจังหวัดแบบไม่ค้างคืน ส่วนของขวัญยอดนิยมที่จะมอบให้ในช่วงวันแม่ อันดับแรกคือให้เงินสด หรือทอง รองลงมา เป็นการให้พวงมาลัยหรือดอกไม้ และเครื่องดื่มบำรุงร่างกาย ตามลำดับ

ขณะที่ลูกต้องการจากแม่คืออยากให้แม่กอดมากที่สุดเช่นกัน รองลงมาคือ อยากให้แม่รักมากๆ อยากให้แม่มีเวลาให้ อยากให้แม่ฟังเหตุผลตัวเอง อยากให้แม่ไม่ทำร้ายร่างกายและจิตใจ เป็นต้น โดยสิ่งที่ภูมิใจในตัวแม่คือ เป็นคนดี มีคุณธรรม ประหยัด ขยัน อดทน กตัญญู และพร้อมที่จะปรับปรุงตัวเพื่อแม่ ด้วยการเป็นคนดี ประหยัดอดออม รักครอบครัว งดดื่มสุรา มีจิตใจเมตตา โอบอ้อมอารี เป็นต้น

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #94 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:43:52 PM »
น้ำท่วมอีสาน-เหนือ ฉุดดัชนีเชื่อมั่นก.ค.ดิ่งอีก-หอการค้าเผยเสียหายแล้วเกือบหมื่นล้าน


นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนกรกฎาคม 2560 ปรับลดลงทุกตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ลดลงอยู่ที่ 73.9 จากเดือนมิถุนายน 2560 ซึ่งอยู่ที่74.9 ซึ่งลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และต่ำสุดในรอบ 7 เดือน นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบัน ลดลงอยู่ที่ 51.7 จาก 52.9 และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคต ลดลงอยู่ที่ 83.1 จาก 84.1 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ลดลงอยู่ที่ 62.2 จากเดือนมิถุนายน 2560 ซึ่งอยู่ที่ 63.3 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางาน ลดลงอยู่ที่ 69.1 จาก 70.0 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ลดลงอยู่ที่ 90.4 จาก 91.5

นายธนวรรธน์กล่าวว่า ดัชนีที่ลดลงเนื่องจากผู้บริโภคกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือที่ส่งผลเชิงลบต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ และราคาพืชผลทางการเกษตรยังอยู่ในระดับต่ำ และปรับลดลงในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และสับปะรดโรงงาน เป็นต้น ทำให้กำลังซื้อทั่วไปในต่างจังหวัดไม่คล่องและขยายตัวต่ำ ประกอบกับผู้บริโภคกังวลว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยอาจจะยังไม่ฟื้นตัวดีขึ้นมากอย่างที่คาดการณ์ไว้ และยังกังวลถึงปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง รายได้ไม่สอดคล้องค่าใช้จ่าย บวกกับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น


“การลดลงของดัชนี 3 เดือนติด เป็นการลดลงจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ แต่น้ำท่วมเกิดผลระยะสั้น เกิดในวงจำกัดไม่บานปลาย ไม่น่าจะมีผลต่อดัชนีฯในเดือนสิงหาคมนี้ แม้ภาพเศรษฐกิจมหภาคหลายฝ่ายปรับเพิ่มตัวเลข แต่มุมมองและความรู้สึกของผู้บริโภคโดยเฉพาะชนชั้นกลางและฐานรากยังไม่รับรู้ว่าเศรษฐกิจดีขึ้น ราคาสินค้าเกษตรยังอยู่ระดับต่ำส่งผลกำลังซื้อฐานรากซึมตัว ยอดขายธุรกิจหายไปซึ่งน่ากังวล ประกอบกับภาคธุรกิจมีความกังวลการจ้างแรงงานต่างด้าว ว่าจะส่งผลกับธุรกิจและการส่งออกอย่างไร อีกทั้งมียอดการว่างงานที่ 1.2% ซึ่งเกินค่าเฉลี่ย ส่งผลให้ผู้บริโภคมองเศรษฐกิจฟื้นตัวไม่โดดเด่นและไม่เร็ว เพราะไม่มีปัจจัยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจขยายตัว ภาครัฐควรเร่งกระตุ้นการใช้จ่ายและเร่งรัดการลงทุน และกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากเพื่อเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน” นายธนวรรธน์กล่าว

นายธนวรรธน์กล่าวถึงผลกระทบจากน้ำท่วมว่า ได้รวบรวมข้อมูลและประเมินผลกระทบความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ เบื้องต้นมีความเสียหายรวม 9,574 ล้านบาท ซึ่งมีผลกระทบต่อการขยายตัวจีดีพีเพียง 0.064% ทำให้ศูนย์ฯยังคาดการณ์จีดีพีปีนี้ขยายตัว 3.6% มูลค่าความเสียหายดังกล่าวแยกเป็นความเสียหายของภาคการเกษตร 4,774 ล้านบาท ความเสียหายของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม 3,434 ล้านบาท และความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐาน และทรัพย์สินต่างๆ เช่น บ้านเรือน ถนน สะพาน ยานพาหนะ รวม 1,366 ล้านบาท ขณะเดียวกันสถานการณ์น้ำท่วมได้คลี่คลายจึงมองว่ายังไม่มีผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่ววงครึ่งหลังปีนี้ อย่างไรก็ตามหากมีน้ำท่วมเพิ่มและบานปลาย คาดว่ามูลค่าความเสียหายคงไม่เกิน 15,000 ล้านบาท

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #95 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:44:14 PM »
ความเชื่อมั่นไตรมาส 2 แผ่วลง นักธุรกิจหวังแรงกระตุ้นจากภาครัฐ

ดัชนีธุรกิจกรุงไทยไตรมาส 2 วกกลับไปลดลงเล็กน้อย ส่วนหนึ่งเกิดจากการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว และเงินบาทที่แข็งค่า สะท้อนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังเปราะบางและกระจายไม่ทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตสูงกว่าดัชนีปัจจุบัน โดยนักธุรกิจคาดหวังแรงกระตุ้นจากภาครัฐ ที่จะช่วยฟื้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวต่อเนื่องในครึ่งปีหลัง ส่วนความเสียหายจากน้ำท่วมภาคเหนือและอีสาน ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไม่มาก


นายพูลพัฒน์ ศรีเปล่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารความเสี่ยง ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ดัชนีธุรกิจกรุงไทย (Krung Thai Business Index: KTBI) ในไตรมาสที่ 2/2560 จากการตอบกลับแบบสำรวจของลูกค้านักธุรกิจจำนวน 2,573 รายทั่วประเทศ พบว่าค่อนข้างอ่อนไหว และวกกลับไปลดต่ำกว่าระดับปกติ (50) ที่ระดับ 49.38 จากระดับ 50.56 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลด้านกำลังซื้อและความเปราะบางของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะระดับฐานราก หลังราคาสินค้าเกษตรสำคัญเริ่มชะลอลง อีกทั้งค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลต่อการส่งออกในระยะถัดไป นอกจากนี้ ยังกังวลต่อการบริหารจัดการแรงงานและต้นทุนการผลิต หลังรัฐบาลเตรียมบังคับใช้กฎหมายแรงงานต่างด้าว โดยกลุ่มธุรกิจที่พบว่ามีความกังวลมากขึ้น ได้แก่ ธุรกิจการเกษตร ธุรกิจพาณิชกรรม ธุรกิจบริการ ธุรกิจก่อสร้าง และ ธุรกิจการเงินและประกันภัย อย่างไรก็ดี มีกลุ่มธุรกิจที่ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น ได้แก่ ธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตร ธุรกิจอุตสาหกรรม และ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากต้นทุนการผลิตลดลงตามราคาสินค้าเกษตร ต้นทุนทางการเงินลดลงตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ และการส่งออกที่เติบโตสูงกว่าคาดการณ์

“หากพิจารณาความเชื่อมั่นจำแนกตามภูมิภาค พบว่าภาคกลางและตะวันตก เป็นภูมิภาคเดียวที่ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นแหล่งนิคมอุตสาหกรรมและแหล่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่มีแนวโน้มเติบโต เช่น อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ ซึ่งผู้ประกอบการได้รับผลบวกจากการส่งออกที่ขยายตัว และการฟื้นตัวของตลาดในประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล แม้ความเชื่อมั่นลดลง แต่เป็นภูมิภาคที่มีความเชื่อมั่นสูงสุด เนื่องจากจะมีการลงทุนด้านคมนาคมเกิดขึ้นอีกหลายโครงการ เช่น รถไฟฟ้าสายสีเหลือง สีชมพู สีส้ม และสีม่วงส่วนต่อขยาย ภาคตะวันออก ความเชื่อมั่นลดลงจากการท่องเที่ยวที่ยังได้รับผลกระทบจากการปราบปรามทัวร์ศูนย์เหรียญ แม้จะได้รับแรงหนุนจากการส่งออก และความคาดหวังต่อโครงการ EEC ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ความเชื่อมั่นได้รับผลกระทบจากการค้าชายแดน ในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. โดยเฉพาะการส่งออกไปเมียนมาและสปป.ลาว ที่หดตัว ภาคใต้ เป็นภูมิภาคที่ความเชื่อมั่นต่ำที่สุด เนื่องจากผลกระทบของราคายางพาราและปาล์มน้ำมัน”

นายพูลพัฒน์ ศรีเปล่ง กล่าวต่อไปว่า สำหรับในไตรมาสที่ 3/2560 หากรัฐบาลดึงการลงทุนเข้าสู่ EEC ได้มากขึ้น และขับเคลื่อนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ได้ตามเป้า รวมถึงผู้ประกอบการมีความพร้อมกับเรื่องการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวที่มีความชัดเจน จะช่วยหนุนความเชื่อมั่นให้ดีขึ้น สำหรับผลกระทบของอุทกภัยในภาคเหนือและภาคอีสาน ฝ่ายวิจัยความเสี่ยงธุรกิจ ได้ประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจเบื้องต้นที่ 5,000 – 8,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพียง 0.05% ของ GDP โดยส่วนใหญ่เกิดจากภาคการค้าและการท่องเที่ยว ขณะที่พื้นที่เกษตรเสียหายประมาณ 600 – 1,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ธนาคารจึงยังคงคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปีนี้ที่ 3.5% และ 3.6% ในปีหน้า

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #96 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:44:43 PM »
สสว.ชี้ SME พุ่ง 3 ล้านราย ดันจ้างงานเพิ่มอีก 9.3%

สสว.เผยผลสำรวจสถานการณ์ SME ไทยประจำปี 2560 เบื้องต้นจำนวน SME พุ่งเป็น 3 ล้านราย
และการจ้างงานขยับเป็น 11.74 ล้านราย ซึ่งจำนวน SME และการจ้างงานเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มธุรกิจ ขณะเดียวกันออกมาตรการเร่งด่วนฟื้นฟู SME ที่ประสบภัยน้ำท่วม ล่าสุดอนุมัติไปแล้ว 21 รายในพื้นที่ จ.สกลนคร

นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า จากผลการสำรวจสำมะโนธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม ปี 2560 ในเบื้องต้น และข้อมูลการจัดตั้งธุรกิจจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า จำนวนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ไทยขยับอยู่ที่ 3,004,679 ราย ณ วันที่ 11 ก.ค. 2560 เทียบกับปีก่อนที่มีจำนวน 2,765,966 ราย ทำให้เพิ่มขึ้น 238,713 ราย หรือเพิ่มขึ้น 8.63% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มธุรกิจ โดยภาคบริการเพิ่มขึ้นมากที่สุด 135,153 ราย ตามมาด้วยภาคการค้า 80,984 ราย ภาคผลิต 16,517 ราย และภาคธุรกิจการเกษตร 6,023 ราย ในจำนวน SME ที่เพิ่มขึ้น 238,713 ราย เป็นนิติบุคคล 26,562 ราย บุคคลธรรมดา 206,464 ราย และวิสาหกิจชุมชนอีก 5,687 ราย


นอกจากนี้ ปัจจุบันตัวเลขการจ้างงานของ SME มีทั้งสิ้น 11,747,093 ราย เทียบกับปีก่อน มีทั้งสิ้น 10,751,965 ราย เพิ่มขึ้น 995,128 ราย หรือเพิ่มขึ้น 9.30% เป็นการเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มธุรกิจเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นจากภาคบริการ 552,532 ราย ภาคการค้า 325,907 ราย ภาคการผลิต 113,722 ราย และภาคธุรกิจการเกษตร 2,967 ราย

ส่วนกรณีสถานการณ์ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จนทำให้เกิดภาวะน้ำป่าไหลหลาก อุทกภัยแบบฉับพลัน รวมถึงดินโคลนถล่มในหลายพื้นที่ ซึ่งขณะนี้ได้ส่งผลอย่างรุนแรงต่อการดำเนินชีวิตรวมถึงทรัพย์สินต่างๆ ที่มีความเสียหายและได้รับผลกระทบต่อผู้ประกอบการ SME

จากการสำรวจความเสียหายเบื้องต้น พบว่า ผู้ประกอบการ SME ที่อยู่ในพื้นที่ 12 จังหวัด (สกลนคร ร้อยเอ็ด นครราชสีมา กาฬสินธุ์ ยโสธร มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี หนองคาย เพชรบูรณ์ พิจิตร พระนครศรีอยุธยา) ได้รับความเสียหาย 230,897 ราย เป็นนิติบุคคล 10,398 ราย บุคคลธรรมดา 207,672 ราย และวิสาหกิจชุมชนอีก 12,827 ราย โดยกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ การขายส่ง การขายปลีก รองลงมาคือการผลิตและการก่อสร้าง

พื้นที่จังหวัดสกลนคร ซึ่งได้รับความเสียหายจำนวน 7 อำเภอนั้น ศูนย์บริการ SME ครบวจร (SME One-Stop Service Center หรือ OSS) ของ สสว. ได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เช่น จังหวัดสกลนคร พัฒนาชุมชน พาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด หอการค้า สภาอุตสาหกรรม สมาพันธ์ SME ประจำจังหวัด สำรวจผู้ประกอบการ SME ที่ได้รับความเสียหายทั้งต้องหยุดกิจการและความเสียหายบางส่วน เช่น โรงงาน เครื่องจักร เครื่องมือ-อุปกรณ์ ไม่สามารถดำเนินการได้ รวมทั้งสูญเสียรายได้หรือมียอดขายลดลง โดยมีจำนวนผู้ประกอบการ SME และวิสาหกิจชุมชุนได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 1,326 ราย จาก SME ที่มีทั้งสิ้น 18, 690 ราย ใน จ. สกลนคร ประมาณว่าผลกระทบต่อรายได้ของ SME ที่อยู่ในเขตน้ำท่วมน่าจะไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านบาท

สสว. มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ที่ประสบภัยน้ำท่วม ด้วยการให้กู้ยืมเพื่อฟื้นฟูกิจการ สำหรับ Micro SME และวิสาหกิจชุมชน วงเงินรายละไม่เกิน 2 แสนบาท โดยไม่คิดดอกเบี้ยและไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ส่วน SME ขนาดย่อมสามารถยื่นขอกู้ได้รายละไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยไม่เสียดอกเบี้ยเช่นกัน เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนและปรับปรุงสถานประกอบการ

เพื่อให้ความช่วยเหลือเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว สสว. จะจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่จังหวัดสกลนคร เพื่อรับคำขอกู้ ระหว่างวันที่ 15-18 สิงหาคม 2560 โดยจะพิจารณาให้อนุมัติสินเชื่อเป็นกรณีเร่งด่วน ปัจจุบันผู้ประกอบการในจังหวัดสกลนครได้รับอนุมัติเงินกู้แล้ว 21 ราย คิดเป็นวงเงิน 4 ล้านบาท หรือเฉลี่ยต่อราย 190,476 บาท ซึ่งที่ผ่านมามีผู้ประกอบการ SME ในเขตภาคเหนือและภาคอีสานที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ในช่วงเวลาต่างๆ กัน นับตั้งแต่ต้นปี 2560 ได้ยื่นขอกู้เงินแล้วเป็นจำนวนรวม 3,898 ราย

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ประสบภัยสามารถยื่นเรื่องขอรับความช่วยเหลือได้ที่ Call Center 1301 หรือศูนย์ OSS หรือศูนย์ Rescue Center ในพื้นที่ ตั้งแต่บัดนี้ – 30 กันยายน 2560

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #97 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:45:52 PM »
กสร.เตือนนายจ้างเก็บเงินประกันฯ จากลูกจ้างต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย

กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เตือนนายจ้างที่จะเรียกเก็บเงินประกันการทำงานจากลูกจ้างต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ กำหนดห้ามไม่ให้นายจ้างเรียกหลักประกันการทำงานและหลักประกันความเสียหายจากการทำงาน ไม่ว่าจะประกันด้วยเงิน ประกันด้วยบุคคล หรือประกันด้วยทรัพย์ เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้น ลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ นอกจากนี้กฎหมายยังได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานไว้ด้วย เช่น ลักษณะหรือสภาพของงานที่นายจ้างจะเรียกเก็บหรือรับหลักประกันการทำงานได้ อาทิ งานสมุห์บัญชี งานพนักงานเก็บหรือจ่ายเงิน เป็นต้น ประเภทของหลักประกันฯ จำนวนเงิน ตลอดจนวิธีการเก็บรักษา จึงขอให้นายจ้าง เจ้าของสถานประกอบกิจการศึกษาและปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า นายจ้างที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การเก็บเงินประกันการทำงาน หรือการปฏิบัติตามกฎหมาย สอบถามได้ที่ กองคุ้มครองแรงงาน โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔ ๕๗๑๗๐, ๐ ๒๒๔๖ ๖๓๘๙ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ ถึง ๑๐ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือหมายเลขโทรศัพท์สายด่วน ๑๕๔๖

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #98 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:46:13 PM »
กพร.หารือกฤษฎีกาตีความกม.แร่ฉบับใหม่กดดันเอกชนฟ้องขอคืนค่าภาคหลวงแร่ถ่านหิน 25%

นายวิษณุ ทับเที่ยง รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่(กพร) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ กพร.ได้นัดหารือกับตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อสอบถามถึงข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติแร่(พ.ร.บ.) พ.ศ.2560(ฉบับใหม่) ที่จะมีผลบังคับใช้วันที่ 29 สิงหาคมนี้ ซึ่งกฎหมายฉบับใหม่ได้ยกเลิกการกำหนดหลักเกณฑ์การคืนค่าภาคหลวง 25% ให้กับผู้ประกอบการ ที่มีใช้แร่ถ่านหินในการประกอบกิจการ จากเดิมที่พ.ร.บ.แร่ฉบับปัจจุบันกำหนดว่าหากผู้ประกอบการใช้แร่ถ่านหินที่ผลิตในประเทศเป็นวัตถุดิบหรือเชื้อเพลิงในการประกอบธุรกิจ จะได้รับคืนค่าภาคหลวง 25% เพราะกังวลว่าหากมีเอกชนตกค้างยังไม่ยื่นขอคืนภาคหลวง และมายื่นหลังวันที่ 29 สิงหาคม อาจถูกตัดสิทธิและอาจนำไปสู่การฟ้องร้องต่อกพร.ในภายหลัง โดยกพร.จะทำหนังสืออย่างเป็นทางการขอให้กฤษฎีกามีการตีความข้อกฎหมายเรื่องการคืนค่าภาคหลวงถ่านหินให้ชัดเจนว่า หากเอกชนยื่นขอคืนหลังวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ กพร.จะต้องทำดำเนินการ


“สาเหตุที่กฎหมายฉบับปัจจุบันที่ใช้มานานตั้งแต่ปี 2510 มีข้อกำหนดให้คืนภาคหลวง เพราะในอดีตรัฐบาลต้องการสนับสนุนให้ใช้แร่ถ่านหินเพื่อประกอบกิจการภายในประเทศ เป็นการกระตุ้นเอกชนทางหนึ่ง แต่ปัจจุบันแร่ดังกล่าวมีจำนวนไม่มาก ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในภาคเหนือ ในกฎหมายใหม่จึงไม่มีการกำหนดไว้ แต่เพื่อไม่ประมาท ทางกรมฯจึงขอหารือกับกฤษฎีกา เพราะกังวลว่าหากมีเอกชนตกค้างขอคืนค่าภาคหลวง 25%”นายวิษณุกล่าว

ทั้งนี้ปัจจุบันการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ถือเป็นผู้ใช้ถ่านหินในประเทศเป็นหลัก ได้รับคืนค่าภาคหลวงแล้ว 60 ล้านบาทต่อปี และมีผู้ประกอบการผลิตปูนซิเมนต์ ประกอบด้วย ปูนซิเมนต์ไทย ปูนนครหลวง และปูนเอเชีย ที่ใช้ถ่านหินในกระบวนการผลิตเช่นกัน ซึ่งกลุ่มนี้ยังไม่ได้ขอรับค่าภาคหลวงคืน มูลค่าประมาณ 10 ล้านบาท

ออฟไลน์ benzkung

  • PREVILEGE MEMBER
  • *
  • กระทู้: 5,160
  • Total likes: 117
  • คะแนนพิเศษ: +1/-0
Re: อัพเดด ข่าวเศรษฐกิจ
« ตอบกลับ #99 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2017, 09:46:58 PM »
ททท.กาญจน์ รุกทำตลาดลักเซอรี่ ดึงกลุ่มคุณภาพ ตั้งเป้า2หมื่นล้าน

ททท.เมืองกาญจน์ ปรับกลยุทธ์ หลัง คสช.ตรวจเข้มผู้ประกอบการรุกป่า-ปิดห้องพักอื้อ หันจับตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ มาน้อยจ่ายเยอะ มุ่งกลุ่มเกษียณกำลังทรัพย์หนา เตรียมสินค้าลักเซอรี่รองรับ แนะออกนโยบายกระจายวันหยุด ดึงนักท่องเที่ยวเที่ยววันธรรมดา ตั้งเป้าปีละ 10 ล้านคน เงินหมุนเวียน 2 หมื่นล้านบาท

นายวิศรุต อินแหยม ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานกาญจนบุรี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จังหวัดกาญจนบุรีเป็นแดนสวรรค์ตะวันตกสำหรับการท่องเที่ยว มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งที่เป็นธรรมชาติ เช่น น้ำตก ป่า เขา และการล่องแพ รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ได้แก่ สงครามโลกครั้งที่ 2 เส้นทางสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จกรีธาทัพผ่านปราสาทเมืองสิงห์ อีกทั้งขณะนี้มีการท่องเที่ยวด้านการเกษตรเพิ่มเข้ามาเป็นไฮไลต์ มีนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานมากขึ้น โดยช่วงปลายฝนต้นหนาว รวมถึงช่วงปีใหม่ จะเป็นช่วงพีกของการท่องเที่ยวกาญจนบุรี


จังหวัดกาญจนบุรีมีจุดเด่น คือ อยู่ใกล้กรุงเทพฯ และการเปิดชายแดนด้านบ้านพุน้ำร้อนเป็นพื้นที่พิเศษสำหรับการลงทุนและการท่องเที่ยว ทำให้สามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวไปยังชายแดนได้ ทั้งนี้ยังมีกิจกรรมด้านการเกษตร กีฬา การแสดงต่าง ๆ ที่ภาคเอกชนในพื้นที่จัดการ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการสร้างความรับรู้ และกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น จึงทำให้มีนักท่องเที่ยว ได้แก่ เมียนมา เดินเข้ามาท่องเที่ยวในตัวเมืองกาญจน์จำนวนมาก

โดยปี 2559 มีนักท่องเที่ยวเข้ามาจังหวัดกาญจนบุรี 8-9 ล้านคน เป็นคนไทย 90% และต่างชาติ 10% ได้แก่ ยุโรป มีห้องพักหลากหลายประเภท ได้แก่ โรงแรม รีสอร์ต และแพ รวมทั้งหมดประมาณ 20,000 ห้อง ราคาเริ่มตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่นบาท มีผู้ประกอบการกว่า 1,200 ราย ซึ่งอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ 1-2 วัน ค่าใช้จ่ายต่อคนของนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ 1,800-2,000 บาท ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2,500-2,600 บาท/คน ซึ่งถือว่ายังต่ำ โดยส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวจะนิยมเข้ามาท่องเที่ยวแบบกระแส ทำให้ห้องพักช่วงวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์จะเต็มทั้งหมด เกิดการกระจุกตัว


เติบโตต่อเนื่อง – จังหวัดกาญจนบุรีตั้งเป้าเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวปี 2560ให้ถึง 10 ล้านคนต่อปี เงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ
นายวิศรุตกล่าวว่า ปี 2560 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาจังหวัดกาญจนบุรีตามเป้าที่รัฐบาลต้องการ ซึ่งจังหวัดกาญจนบุรีตั้งเป้าจะเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้ถึง 10 ล้านคนต่อปี และมีเงินหมุนเวียนจากการท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท โดยตั้งเป้าจะเพิ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มของตลาดในประเทศ เน้นกิจกรรมไทยเที่ยวไทย และเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศที่มีคุณภาพ มีกำลังทรัพย์ในการจ่าย มาน้อยแต่จ่ายเยอะ พักนานวัน ได้แก่ กลุ่มผู้เกษียณ กลุ่มที่ต้องการท่องเที่ยวแบบลักเซอรี่ อีกทั้งจะนำเอาสินค้าลักเซอรี่ราคาสูงมาจำหน่ายให้นักท่องเที่ยว เช่น ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สปา เป็นต้น รวมถึงการทำให้วันธรรมดา จันทร์-ศุกร์ ให้เป็นวันน่าเที่ยว

สำหรับกรณีผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจไม่ถูกต้องตามใบอนุญาต ที่ขณะนี้ฝ่ายปกครอง อุทยานต่าง ๆ และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าไปดำเนินการในพื้นที่ ในการปรับและตรวจสอบในพื้นที่ ซึ่งส่งผลให้จำนวนห้องพักลดลงนั้น ถือว่าเป็นขั้นตอนที่อยู่ระหว่างการปรับตัว เนื่องจากจังหวัดกาญจนบุรีพื้นที่ทั้งหมดที่ถูกต้องตามกฎหมายมีอยู่เพียง 5% ที่เหลือเป็นพื้นที่ที่ยังคลุมเครืออยู่ และดำเนินกิจการในพื้นที่อุทยานป่าเขา อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว ดังนั้นกฎระเบียบที่ออกมาควรให้รัฐได้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ใช่การจับแล้วยึดพื้นที่คืนแล้วไม่ได้นำไปทำอะไร

นายวิศรุตกล่าวต่อว่า มองว่าการส่งเสริมการท่องเที่ยว รัฐควรมีนโยบายวันหยุดงานที่แตกต่างกัน เพราะปัจจุบันธุรกิจส่วนใหญ่จะหยุดเสาร์-อาทิตย์ ทำให้คนท่องเที่ยวเฉพาะวันหยุดสุดสัปดาห์ ส่งผลให้การท่องเที่ยวเกิดการกระจุกตัว แย่งกันกิน แย่งกันใช้ ขณะเดียวกันยังส่งผลให้เกิดปัญหาจราจรตามมาด้วย รวมถึงอยากจะสนับสนุนให้คนไทยมีการวางแผนท่องเที่ยว จองห้องพัก ร้านอาหาร หรือการเดินทางล่วงหน้า ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการได้ดีขึ้น

“ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา การท่องเที่ยวได้ฟื้นตัวกลับมาจากช่วงเดือนตุลาคมของปีที่ผ่านมา ที่ประชาชนยังอยู่ในช่วงโศกเศร้า โดยมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ ไตรกีฬาชาเลนจ์ เป็นต้น เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอย ประกอบกับฤดูกาล ฝน ฟ้า และไม่มีผลกระทบจากสถานการณ์ภัย จึงทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมาก ขณะที่ช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน จะเป็นช่วงไฮไลต์ของการท่องเที่ยวเช่นเดียวกัน เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐจะเข้ามาฝึกอบรม และศึกษาดูงานต่าง ๆ จำนวนมาก แต่ด้านการลงทุนนั้นยังคงจำกัด” นายวิศรุตกล่าว

 

* Calendar

กุมภาพันธ์ 2025
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
1
2 [3] 4 5 6 7 8
9 10 11 12 13 14 15
16 17 18 19 20 21 22
23 24 25 26 27 28